เอกสารไวท์เปเปอร์

เภสัชตํารับของยุโรป บทที่ 2.1.7

เอกสารไวท์เปเปอร์

รับประกันว่าเป็น “เครื่องชั่งเพื่อการวิเคราะห์”

บททั่วไปที่ 2.1.7 “เครื่องชั่งเพื่อการวิเคราะห์” เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2021 และมีผลผูกพันตามกฎหมายตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2022 โดยบทดังกล่าวเป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้เพื่อควบคุมคุณภาพยาภายในรัฐสมาชิกของยุโรป หรือเพื่อควบคุมบริษัทยาและเวชภัณฑ์ที่ส่งออกผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดยุโรป ซึ่งเป็นเอกสารที่มีสถานะทางกฎหมายคล้ายคลึงกับประมวลเภสัชตำรับ (USP) ของสหรัฐอเมริกา

บททั่วไปที่ 2.1.7

  • ระบุว่าต้องบันทึกผลการสอบเทียบไว้ในใบรับรองการสอบเทียบและต้องรวมความไม่แน่นอนของการตรวจวัดเอาไว้ด้วย
  • เน้นย้ำความสำคัญของการสอบเทียบแบบ As Found และแบบ As Left

 

Ph. Eur. 2.1.7 อธิบายเรื่องการทดสอบและเกณฑ์เช่นเดียวกันกับ USP บททั่วไปที่ 41

สอบภามราคา

เอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับนี้จะอธิบายถึงองค์ประกอบทั้งหมดของบทที่ 2.1.7 “เครื่องชั่งเพื่อการวิเคราะห์” รวมถึงขอบเขต หลักการสำคัญ บทบาทของการสอบเทียบในระบบการจัดการคุณภาพ และข้อกำหนดในการตรวจสอบประสิทธิภาพที่กำหนด (หรือที่เรียกว่าการทดสอบเป็นประจำ) เพื่อประเมินความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องมือชั่งน้ำหนัก

METTLER TOLEDO ช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง?

Compliant with European Pharmacopoeia Chapter 2.1.7. on Balances

Compliant with European Pharmacopoeia Chapter 2.1.7. on Balances
Learn more about the scope of the chapter, the regulatory requirements and how METTLER TOLEDO can help you, find out more.

 

 

คำถามที่พบบ่อย

เภสัชตํารับของยุโรป บททั่วไปที่ 2.1.7 “เครื่องชั่งเพื่อการวิเคราะห์” มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องใดบ้าง?

ขอบเขตของบททั่วไปที่ 2.1.7 จะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องชั่งเพื่อการวิเคราะห์ ดังนั้น การชั่งน้ำหนักประเภทใดก็ตามที่อธิบายไว้ในรายละเอียดของข้อกำหนดในเภสัชตํารับของยุโรปจึงต้องเป็นไปตามหลักการที่ระบุไว้ในบทดังกล่าว

หมายเหตุ: เภสัชตํารับของยุโรป (Ph. Eur.) เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับการควบคุมคุณภาพยา ซึ่งบทดังกล่าวไม่ได้บังคับใช้กับการผลิตยาและเวชภัณฑ์

ฉันจะมั่นใจได้อย่างไรว่าปฏิบัติตามบทที่ 2.7.1 ฉบับใหม่?

บททั่วไปจะกล่าวถึงประสิทธิภาพของอุปกรณ์และนำเสนอมาตรการ 3 ข้อที่จะต้องดำเนินการเป็นระยะเพื่อควบคุมและปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องชั่ง โดยทั้ง 3 มาตรการมีรายละเอียดดังนี้

  • การสอบเทียบ ซึ่งรวมถึงความไม่แน่นอนของการตรวจวัดเอาไว้ด้วย (จำเป็นต้องปฏิบัติ)
  • การตรวจสอบประสิทธิภาพที่ดำเนินการก่อนที่จะมีการสอบเทียบแต่ละครั้ง (จำเป็นต้องปฏิบัติ)
  • การปรับตั้งเครื่องชั่งโดยใช้ตุ้มน้ำหนักในตัว (มาตรการนี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ)

 

มาตรการหลัก 3 ข้อนี้จะช่วยให้การจัดการคุณภาพโดยพิจารณาตามความเสี่ยงและการประเมินเครื่องชั่งเทียบกับเกณฑ์การยอมรับที่กำหนด (0.10%) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล ทั้งยังสอดคล้องกับ GWP® – Good Weighing Practice ของ METTLER TOLEDO ซึ่งเป็นมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการจัดการเครื่องมือชั่งน้ำหนักแบบครบวงจรได้เป็นอย่างดีอีกด้วย GWP จะช่วยสนับสนุนคุณในการนำระเบียบข้อบังคับของเภสัชตํารับของยุโรป (Ph. Eur.) ไปใช้กับการชั่งน้ำหนัก และยังรวมการติดตั้งและการรับรองคุณสมบัติ การสอบเทียบ และการทดสอบเป็นประจำระดับมืออาชีพเอาไว้อีกด้วย

Accuracy Calibration Certificates ของเรา รวมทั้งใบรับรอง “เภสัชตํารับของยุโรป บททั่วไปที่ 2.1.7 เครื่องชั่งเพื่อการวิเคราะห์” จะบันทึกข้อมูลการประเมินเครื่องชั่งโดยเทียบกับข้อกำหนดที่ระบุไว้เพื่อให้มีความแม่นยำและเที่ยงตรงสูง ส่วน GWP® Verification จะสร้างกรอบการดำเนินงานด้านคุณภาพให้กับการทดสอบและการประเมินที่ดำเนินการและได้รับการบันทึกไว้ในแต่ละครั้ง ใบรับรองนี้กำหนดกลยุทธ์การทดสอบที่อ้างอิงตามความเสี่ยงเอาไว้อย่างชัดเจน โดยแนะนำความถี่ในการสอบเทียบและการทดสอบประจำวันแยกแต่ละรายการ ดังนั้น GWP® Verification จึงสร้างกรอบการดำเนินงานด้านคุณภาพให้กับการทดสอบและการประเมินแต่ละครั้งที่ดำเนินการและได้รับการบันทึกไว้

ฉันปฏิบัติตาม USP 41 แล้ว ฉันจำเป็นต้องมีใบรับรอง Ph. Eur. ด้วยหรือไม่?

จำเป็น ใบรับรองแต่ละฉบับมีข้อความที่กำหนดไว้สำหรับใช้จัดทำเอกสารแสดงการปฏิบัติตามเภสัชตำรับฉบับใดฉบับหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลในเอกสารประกอบของลูกค้า ข้อมูลที่อ้างอิงดังกล่าวอาจเกี่ยวข้องกับ Ph. Eur บททั่วไปที่ 2.1.7 หรือ USP บททั่วไปที่ 41 โดยเฉพาะก็ได้

Ph.Eur. 2.1.7 กำหนดว่าต้องมีทั้งข้อมูลแบบ “As Found” และ “As Left” ในใบรับรองการสอบเทียบหรือไม่?

ไม่ใช่ข้อกำหนดที่บังคับว่าต้องปฏิบัติตาม แต่ขอแนะนำอย่างยิ่งว่าควรมีทั้งสองแบบเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ หากทำการสอบเทียบโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนใดๆ ภายหลัง แสดงว่าการสอบเทียบแบบ As Found เป็นไปตามข้อกำหนดของเภสัชตำรับยุโรปอยู่แล้ว ในกรณีเฉพาะเช่นนี้ จะไม่นำการสอบเทียบแบบ As Left มาใช้ และจะถือว่าข้อมูลการสอบเทียบแบบ As Found เป็นข้อมูลการสอบเทียบแบบ As Left ด้วยเช่นกัน

 

 

เอกสาร
วิดีโอ
Compliant with European Pharmacopoeia Chapter 2.1.7. on Balances
Why Do I Need a Balance or Scale Calibration With a Certificate?
Why Do I Need a Balance or Scale Calibration With a Certificate?