เครื่องวัดความหนาแน่นดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะและแบบพกพา | METTLER TOLEDO

เครื่องวัดความหนาแน่น

มิเตอร์วัดความหนาแน่นดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะและแบบพกพา

เครื่องวัดความหนาแน่น หรือที่เรียกว่ามิเตอร์วัดความหนาแน่น่ หรือเครื่องวัดความถ่วงจำเพาะเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ใช้การสั่นของหลอดแก้วกลวงรูปตัวยู เพื่อวัดความหนาแน่นของตัวอย่างของเหลวอย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ จากนั้น สามารถแปลงค่าความหนาแน่นที่ตรวจวัดได้เป็นหน่วยอื่นๆ และความเข้มข้นอื่นๆ โดยอัตโนมัติสำหรับการใช้งานเฉพาะได้ เช่น ค่าความถ่วงจำเพาะ, API, เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์, ค่าบริกซ์ และอื่นๆ อีกมากมาย เลือกเครื่องวัดความหนาแน่นของคุณจากตัวเลือกแบบพกพาที่เบาที่สุดไปจนถึงรุ่นตั้งโต๊ะที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด

สอบภามราคา
View Results ()
Filter ()

เพิ่มผลิตภัณฑ์อื่นหรือสองรายการในการเปรียบเทียบ

Advantages of METTLER TOLEDO’s Density Meters / Specific Gravity Meters

เครื่องวัดความหนาแน่น

พร้อมตรวจวัดทุกตัวอย่าง

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ตั้งแต่ยาและเวชภัณฑ์ ปิโตรเคมี อาหาร และอื่นๆ เครื่องวัดความหนาแน่นของเราสามารถตรวจวัดตัวอย่างได้ทุกประเภท สามารถตรวจวัดสารระเหย สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สารที่มีความหนืด และสารเหลวข้นได้อย่างน่าเชื่อถือ

เครื่องวัดความหนาแน่น

ประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับความเรียบง่าย

ยืนยันโดยลูกค้าของเรา “เครื่องวัดความหนาแน่นตัวนี้ใช้งานง่ายมาก แค่ใส่ตัวอย่างเข้าไปและแตะปุ่มทางลัด One Click งานทั้งหมดก็เสร็จสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว หลังจากใช้งานเครื่องวัดความหนาแน่นและเครื่องฉีดตัวอย่างอัตโนมัติมาตั้งแต่ปี 2017 เราได้ซื้อระบบที่สองในปี 2019 เพื่อเพิ่มรอบการทำงานของเรา” ผู้จัดการฝ่าย QA บริษัท Solvay (Zhenjiang) Chemicals ประเทศจีน

เครื่องวัดความหนาแน่น

เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูล

โซลูชันซอฟต์แวร์ที่ไม่เหมือนใครช่วยให้จัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้การเชื่อมต่อกับหลายเครื่องมือและการควบคุมทรัพยากรจากส่วนกลาง รักษาความสมบูรณ์ของข้อมูล และอื่นๆ อีกมากมาย

เครื่องวัดความหนาแน่น

ประสบการณ์ที่ได้รับการยอมรับมาหลายทศวรรษ

ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้นับพันรายทั่วโลก ตั้งแต่บริษัทในครัวเรือนไปจนถึงบริษัทข้ามชาติ เครื่องมือของเราผลิตเพื่อให้ใช้งานได้จริง รวมถึงมอบการควบคุมคุณภาพที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพแก่ลูกค้าทุกราย

เครื่องวัดความหนาแน่น

ใช้พื้นที่น้อย ออกแบบมาอย่างชาญฉลาด

ตั้งแต่เครื่องวัดความหนาแน่นแบบพกพาที่เบาที่สุดซึ่งมีน้ำหนักเพียง 355 กรัม (12.5 ออนซ์) ไปจนถึงเครื่องวัดแบบตั้งโต๊ะที่มีขนาดกะทัดรัดที่สุด เครื่องมือของเราออกแบบมาเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้โดยลดอาการปวดมือและประหยัดพื้นที่ตั้งโต๊ะ

เครื่องวัดความหนาแน่น

ตรวจวัดความหนาแน่นได้ทุกที่

เครื่องวัดความหนาแน่นของเราออกแบบทางวิศวกรรมด้วยส่วนประกอบคุณภาพสูงเพื่อรับประกันอายุการใช้งานที่ยาวนาน จึงทนต่อสภาพแวดล้อมที่สมบุกสมบัน ในห้องปฏิบัติการ ในพื้นที่โรงงาน หรือขณะเดินทาง!

เครื่องวัดความหนาแน่น

การให้ความช่วยเหลือระดับห้าดาวไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใดก็ตาม

คุณสามารถไว้วางใจให้ช่างเทคนิคบริการและผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานของเราช่วยเหลือในส่วนที่คุณต้องการมากที่สุด ตั้งแต่การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อรับรองเวลาการทำงานสูงสุด ไปจนถึงการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษาแก่ผู้ใช้

รวดเร็วทันท่วงที
การช่วยเหลือและการซ่อมแซม
ประสิทธิภาพที่วางใจได้
การบำรุงรักษาและเพิ่มศักยภาพ
เป็นไปตามข้อกำหนด
การสอบเทียบและคุณภาพที่ดี
เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง
การฝึกอบรมและให้คำปรึกษา

FAQs

เครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอลทำงานอย่างไร?

เครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล (เครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะ) ใช้หลอดแก้วกลวงรูปตัวยูที่สั่น ความถี่ในการสั่นของหลอดที่บรรจุตัวอย่างไว้จะได้รับการตรวจวัด ความถี่นี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเติมตัวอย่างลงในหลอด ยิ่งมวลตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น ความถี่ก็จะยิ่งต่ำลง โดยจะตรวจวัดความถี่นี้และแปลงเป็นค่าความหนาแน่น นอกจากนี้ เครื่องวัดความหนาแน่นดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะยังใช้เทอร์โมสตัต Peltier ที่ติดตั้งในตัวเพื่อควบคุมอุณหภูมิตัวอย่าง

ดูที่นี่เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจวัดความหนาแน่น คำจำกัดความ สมการ ผลกระทบ และอื่นๆ

เครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะและเครื่องวัดความหนาแน่นต่างกันอย่างไร?

เครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะ เครื่องวัดความหนาแน่น หรือมิเตอร์วัดความหนาแน่นใช้เรียกเครื่องมือเดียวกัน โดยคำที่ใช้เรียกจะแตกต่างกันไปตามประเทศหรือภูมิภาค เครื่องมือนี้ใช้เทคโนโลยีหลอดรูปตัวยูแบบสั่นเพื่อวัดค่าความถ่วงจำเพาะ ความหนาแน่น หรือค่าที่เกี่ยวข้องในตัวอย่างของเหลว การตรวจวัดดังกล่าวจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและปรับปรุงความสามารถในการทำซ้ำ

เครื่องมือใดที่ใช้ในการตรวจวัดความหนาแน่นในของเหลว?

ความหนาแน่นของสารละลายหนึ่งๆ สามารถตรวจวัดได้ทั้งแบบแมนนวลและแบบดิจิตอล สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีตรวจวัดความหนาแน่นด้วยพิคโนมิเตอร์ ไฮโดรมิเตอร์ และเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล โปรดดูคู่มือ 3 วิธีในการตรวจวัดความหนาแน่น ของเรา

วิธีแบบแมนนวลอย่างพิคโนมิเตอร์และไฮโดรมิเตอร์มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายสำหรับการระบุความหนาแน่นและค่าที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ค่าความถ่วงจำเพาะ, เปอร์เซ็นต์แอลกอฮอล์, ค่าบริกซ์, ระดับ API, Baumé, Plato เป็นต้น ถึงแม้ว่าวิธีเหล่านี้จะทำได้ง่ายและในต้นทุนไม่สูง แต่ก็ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในทุกขั้นตอนของวิธีการดำเนินการแบบแมนนวล ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของผลลัพธ์

พิคโนมิเตอร์คือบีกเกอร์แก้วในปริมาตรที่กำหนด ซึ่งนำไปชั่งน้ำหนักโดยไม่มีตัวอย่าง (M1) ก่อนใส่ตัวอย่างลงไปและชั่งน้ำหนักอีกครั้ง (M2) ค่าต่างระหว่าง M1 และ M2 หารด้วยปริมาตรของบีกเกอร์เท่ากับความหนาแน่นของตัวอย่าง

ไฮโดรมิเตอร์ คือหลอดแก้วที่จุ่มลงในตัวอย่าง หลังการปรับสมดุลในระยะเวลาสั้นๆ หลอดแก้วจะลอยในระดับหนึ่ง ยิ่งตัวอย่างมีความหนาแน่นมาก ไฮโดรมิเตอร์ยิ่งลอยต่ำ ระดับการปรับสมดุลช่วยระบุค่าความหนาแน่นได้

ชุดเครื่องมือวัดความหนาแน่นจะนำไปใช้กับเครื่องชั่ง หลอดแก้วในปริมาตรที่กำหนดจะนำไปชั่งน้ำหนักในอากาศ (M1) แล้วจุ่มลงในตัวอย่าง และชั่งน้ำหนักในตัวอย่างอีกครั้ง (M2) ค่าต่างระหว่าง M1 และ M2 (การลอยตัว) หารด้วยปริมาตรของหลอดแก้วเท่ากับความหนาแน่นของตัวอย่าง นอกจากนั้นยังสามารถใช้ที่ใส่พิเศษเพื่อตรวจวัดค่าความหนาแน่นของของแข็ง โดยใช้ของเหลวอ้างอิง (น้ำ เอทานอล หรือสิ่งที่ผู้ใช้กำหนด)

เครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล หรือที่เรียกว่าเครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะ หรือมิเตอร์วัดความหนาแน่นมีทั้งเป็นเครื่องมือแบบตั้งโต๊ะและแบบพกพา เครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิทัลใช้เทคโนโลยีหลอดสั่นในการตรวจวัดความหนาแน่นของตัวอย่างอย่างถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว หลอดแก้วกลวงจะสั่นที่ความถี่ระดับหนึ่ง ความถี่นี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเติมตัวอย่างลงในหลอด ยิ่งมวลตัวอย่างเพิ่มมากขึ้น ความถี่ก็จะยิ่งต่ำลง โดยจะตรวจวัดความถี่นี้และแปลงเป็นค่าความหนาแน่น นอกจากนี้ เครื่องวัดความหนาแน่นดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะยังใช้เทอร์โมสตัต Peltier ที่ติดตั้งในตัวเพื่อควบคุมอุณหภูมิตัวอย่าง

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล และความแตกต่างระหว่างเครื่องมือนี้และวิธีแบบแมนนวล โปรดดูการเปรียบเทียบเทคนิคในการตรวจวัดแบบต่างๆ ของเรา

คุณต้องใช้ตัวอย่างสำหรับเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอลปริมาณเท่าใด?

ปริมาตรทั่วไปของหลอดแก้วกลวงรูปตัวยูที่ใช้เป็นเซลล์ตรวจวัดในเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอลจะอยู่ที่ประมาณ 1 มิลลิลิตร แนะนำให้บรรจุในปริมาณที่มากกว่าเพื่อให้ไม่มีข้อผิดพลาด โดยทั่วไปมักใช้ปริมาณ 3 มิลลิลิตร ถึง 5 มิลลิลิตร กับกระบอกฉีดยาเพื่อให้หลอดระบายบางส่วนยังเต็มไปด้วยตัวอย่างอยู่

คุณต้องใช้เวลาเท่าใดในการตรวจวัดตัวอย่างด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล?

ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างตัวอย่างกับเซลล์ตรวจวัด ตลอดจนประเภทตัวอย่าง นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการตรวจวัดที่จำเป็นอีกด้วย โดยทั่วไปเวลาในการตรวจวัดอาจอยู่ในช่วงตั้งแต่ไม่กี่วินาทีด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นดิจิตอลแบบพกพาที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ จนถึง 2 - 5 นาทีด้วยเครื่องมือแบบตั้งโต๊ะที่มีการควบคุมอุณหภูมิ

คุณจะปรับเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล/เครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะได้อย่างไร?

โดยปกติแล้วจะปรับเครื่องวัดความหนาแน่น หรือที่เรียกว่ามิเตอร์วัดความหนาแน่น หรือเครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะตามอากาศและน้ำ ณ อุณหภูมิตรวจวัดเฉพาะ ซึ่งจะควบคุมอุณหภูมินี้ด้วยองค์ประกอบ Peltier ที่สามารถทำความเย็นหรือทำความร้อนในเซลล์ตรวจวัดตามอุณหภูมิที่กำหนดเฉพาะได้ (เช่น 20 องศาเซลเซียส) อันดับแรกจะตรวจวัดความถี่ของเซลล์ตรวจวัดที่เต็มไปด้วยอากาศ โดยจะกำหนดความถี่สำหรับค่าความหนาแน่นในอากาศ จากนั้นจะบรรจุน้ำลงในเซลล์ตรวจวัดและตรวจวัดความถี่ของเซลล์ตรวจวัดที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยจะกำหนดความถี่ที่สองสำหรับค่าความหนาแน่นในน้ำ นอกจากนั้น ยังสามารถปรับทั้งสองจุดได้โดยใช้อากาศและสารมาตรฐานหนึ่งตัวหรือใช้สารมาตรฐานสองตัวที่ครอบคลุมขอบเขตความหนาแน่นที่ต่างกัน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีปรับเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอลของคุณ

ตัวอย่างใดบ้างที่สามารถตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอล/เครื่องวัดค่าความถ่วงจำเพาะ?

เครื่องวัดความหนาแน่นเดิมออกแบบและมีไว้สำหรับการตรวจวัดของเหลวที่เป็นเนื้อเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติสามารถตรวจวัดตัวอย่างได้มากมายหลายแบบ หากความหนืดของตัวอย่างลดลงต่ำกว่า 36,000 mPa*s โดยการให้ความร้อนที่อุณหภูมิการปั๊ม (เช่น พาราฟิน) สามารถตรวจวัดความหนาแน่นได้โดยอัตโนมัติด้วยหน่วยทำความร้อนอัตโนมัติ เช่น SC1H หรือ SC30H หากสามารถบรรจุตัวอย่างลงในกระบอกฉีดยาโดยไม่มีฟองอากาศเหลืออยู่ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสามารถกดตัวอย่างออกมาจากหลอดขนาดเล็กที่ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ตามความเร็วที่กำหนดได้ ก็จะสามารถตรวจวัดตัวอย่างที่มีความหนืดสูงแบบแมนนวลได้ ไม่ควรตรวจวัดตัวอย่างที่เป็นอันตรายต่อหลอดแก้วรูปตัวยูของเซลล์ตรวจวัด (เช่น กรดไฮโดรฟลูโอริก ของเหลว หรือของเหลวข้นที่ใช้สำหรับการกัดกร่อนแก้ว) ในเครื่องวัดความหนาแน่นดังกล่าว