เครื่องสเปกโตรโฟโต้ - ยูวี วิส | สำหรับการตรวจวัดด้วยคิวเวทท์และตัวอย่างที่มีปริมาตรน้อย

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ ยูวี วิส

เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการทำงานของสเปกโตรสโคปี ยูวี วิส

การสแกนสเปกตรัมแบบแสงครบใช้เวลาเพียงหนึ่งวินาทีเนื่องจากมีขนาดที่เล็กและไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่อง เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของเราใช้การผสานรวมกันระหว่างเทคโนโลยีอาร์เรย์และหลอดไฟซีนอนที่ใช้งานได้ยาวนาน จึงช่วยลดต้นทุนในการบำรุงรักษาลงได้อย่างมาก ให้คุณเพลิดเพลินไปกับการทำงานที่ยืดหยุ่นของเครื่องมือแบบสแตนด์อะโลน หรือเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์แบบตั้งโต๊ะด้วยซอฟต์แวร์ LabX® สำหรับคอมพิวเตอร์เพื่อรับประกันความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูล (21 CFR Part 11 ของ FDA) นอกจากนี้ คุณยังสามารถสร้างให้ระบบแบบหลายพารามิเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องมืออื่นๆ ของ METTLER TOLEDO ได้อีกด้วย

สอบภามราคา
View Results ()
Filter ()

เพิ่มผลิตภัณฑ์อื่นหรือสองรายการในการเปรียบเทียบ

Advantages

เล็ก รวดเร็ว เรียบง่าย และเชื่อถือได้

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ ยูวี วิส Excellence ของ METTLER TOLEDO มาพร้อมประโยชน์มากมายในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดความซับซ้อนของขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงสเปกโตรโฟโตเมตริกของคุณ รับชมวิดีโอและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ ยูวี วิส อันโดดเด่นของเรา

DNA, RNA and Protein Analysis

การวิเคราะห์ DNA, RNA และโปรตีน

วัดฐานและคิวเวทท์ได้ในเครื่องมือเดียว ใช้ปริมาตรตัวอย่างลดลงเหลือ 1–2 ไมโครลิตร หาค่าความเข้มข้นหรือตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ DNA, RNA และโปรตีนได้ในไม่กี่วินาที วิธีที่มีการตั้งโปรแกรมล่วงหน้าสำหรับอัตราส่วน A280, A260, 260/280 ฯลฯ อ่านเพิ่มเติม

Simple One Click™ Operation

การทำงานง่ายๆ ด้วย One Click™

ทำงานต่างๆ ได้จากตัวเครื่องโดยตรงอย่างสะดวกง่ายดาย · คู่มือที่รัดกุมซึ่งให้คำแนะนำแบบทีละขั้นตอน · ทางลัดที่ปรับแต่งได้บนหน้าจอหลัก

Open Sampling Area

พื้นที่จัดการตัวอย่างเปิดโล่ง

การจัดการตัวอย่างทำได้ง่ายและรวดเร็ว · มีแนวโน้มน้อยลงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากการที่ผู้ใช้ปิดฝาครอบตัวอย่างไม่สนิท · ติดตั้งและถอนการติดตั้งอุปกรณ์เสริมได้อย่างไม่ยุ่งยาก อ่านเพิ่มเติม

Compact Modularity

ความสามารถในการถอดแยกชิ้นคล่องตัวกะทัดรัด

ใช้พื้นที่ติดตั้งเพียงเล็กน้อย พอๆ กับขนาดกระดาษหนึ่งแผ่น · ส่วนประกอบในการนำแสงมีรูปแบบกะทัดรัดโดยไม่ลดทอนประสิทธิภาพ · ปรับแต่งเครื่องมือได้ตามความต้องการของคุณโดยใช้อุปกรณ์เสริมอัจฉริยะและอุปกรณ์อัตโนมัติ อ่านเพิ่มเติม

รวดเร็วทันท่วงที
การช่วยเหลือและการซ่อมแซม
ประสิทธิภาพที่วางใจได้
การบำรุงรักษาและเพิ่มศักยภาพ
เป็นไปตามข้อกำหนด
การสอบเทียบและคุณภาพที่ดี
เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง
การฝึกอบรมและให้คำปรึกษา

คำถามที่พบบ่อย

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ Excellence ของ METTLER TOLEDO ทำงานอย่างไร?

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของเราจะวัดความเข้มของแสงก่อนและหลังส่องผ่านสารละลายตัวอย่างในคิวเวทท์โดยอาศัยเทคโนโลยีอาร์เรย์ ส่วนประกอบหลักต่างๆ ได้แก่ แหล่งกำเนิดแสง (เช่น หลอดไฟซีนอน) ที่จับตัวอย่าง อุปกรณ์กระจายแสงเพื่อแยกความยาวคลื่นที่แตกต่างกันของแสง และเครื่องตรวจจับที่เหมาะสม เช่น เครื่องตรวจจับโฟโตไดโอด รับชมวิดีโอของเราด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

หลักการทำงานของเครื่องสเปกโตรโฟโต้ของเราเป็นไปตามขั้นตอนต่อไปนี้

การวัดสารละลายเปล่า ซึ่งจะวัดความเข้มของแสงที่ส่องผ่านตัวทำละลาย ดังนี้

  1. เติมตัวทำละลาย (เช่น น้ำหรือแอลกอฮอล์) ลงในภาชนะที่มีความโปร่งแสงและไม่ดูดซับแสงที่มีความเหมาะสม เช่น คิวเวทท์
  2. ลำแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงจะผ่านคิวเวทท์ที่บรรจุตัวทำละลายเอาไว้
  3. จากนั้นเครื่องตรวจจับที่อยู่ด้านหลังคิวเวทท์จะตรวจวัดความเข้มของแสงที่ส่องผ่านที่เปลี่ยนไปตามความยาวคลื่นต่างๆ และบันทึกไว้

 

หลังจากการวัดสารละลายเปล่าเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการวัดสารละลายตัวอย่างต่อ ดังนี้

  1. สารละลายตัวอย่างถูกละลายลงในตัวทำละลายและบรรจุลงในคิวเวทท์
  2. ลำแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงจะผ่านคิวเวทท์ที่บรรจุสารละลายตัวอย่างเอาไว้
  3. เมื่อส่องผ่านคิวเวทท์แล้ว โมเลกุลของตัวอย่างที่อยู่ในสารละลายดังกล่าวจะดูดกลืนแสงไปบางส่วน
  4. จากนั้นเครื่องตรวจจับจะตรวจวัดแสงที่ส่องผ่าน
  5. ความเข้มของแสงจะเปลี่ยนไปตามความยาวคลื่นที่ต่างกันไป ซึ่งคำนวณได้จากการนำความเข้มของแสงที่ส่องผ่านสารละลายตัวอย่างไปหารด้วยค่าที่สอดคล้องกันของสารละลายเปล่า โดยเครื่องบันทึกจะจัดเก็บอัตราส่วนที่คำนวณได้เอาไว้

การใช้งานเครื่องสเปกโตรโฟโต้ ยูวี วิส มีอะไรบ้าง?

อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์

อุปกรณ์ ยูวี วิส มีส่วนช่วยอย่างมากในกระบวนการวิเคราะห์ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณและจำเป็นในการควบคุมความบริสุทธิ์และปริมาณของสารออกฤทธิ์ทางยา (API) ในผลิตภัณฑ์ยา ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์ API ของยาไอบูโพรเฟนสามารถทำได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เครื่องสเปกโตรโฟโต้ ยูวี วิส เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนแสงที่ 264 และ 273 นาโนเมตร สำหรับทั้งสารละลายมาตรฐานและตัวอย่าง โดยความแตกต่างระหว่างสารละลายมาตรฐานและตัวอย่างที่สัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์ของค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนแสงจะทำหน้าที่เป็นเกณฑ์การควบคุมคุณภาพ ซึ่งโมโนกราฟจากเภสัชตำรับของสหรัฐอเมริกา (USP) ได้ระบุไว้ว่าค่าต้องน้อยกว่า 3.0%

อุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

เทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรี ยูวี วิส เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในงานพื้นฐานประจำวันในห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องนี้สามารถใช้ตรวจสอบความเข้มข้นของกรดนิวคลีอิกและโปรตีน (เช่น ใช้การดูดซับ A260 และ A280) หรือตรวจสอบความบริสุทธิ์ของ DNA (เช่น ใช้อัตราส่วนการดูดซับ 260/280) ได้ คุณสามารถใช้ความยาวคลื่นอื่นๆ ในสเปกตรัมที่มองเห็นได้เพื่อช่วยในการวัดปริมาณของโปรตีนในตัวอย่างทางชีววิทยาได้ เช่น ใช้ 595 นาโนเมตรสำหรับการทดสอบด้วยวิธีการ Bradford และใช้ 750 นาโนเมตรสำหรับการทดสอบด้วยวิธีการ Lowry

นอกจากนั้น ความหนาแน่นเชิงแสงของตัวอย่างเพาะเลี้ยงเซลล์ที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร (ซึ่งก็คือ OD600) จะถูกวัดโดยสเปกโตรสโคปียูวีเพื่อประมาณจำนวนแบคทีเรียหรือเซลล์อื่นๆ (เช่น Escherichia coli)

เรียนรู้เพิ่มเติมในโบรชัวร์เกี่ยวกับการใช้งานด้านชีววิทยาศาสตร์

อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

สเปกโตรสโคปี ยูวี วิส ใช้เพื่อตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น คุณภาพของน้ำมันมะกอกจะได้รับการตรวจสอบโดยการสังเกตจากพฤติกรรมการดูดกลืนของสารละลาย 1% ในไอโซโพรพานอลระหว่าง 200 ถึง 400 นาโนเมตร เนื่องจากระดับการดูดซับที่สูงขึ้นในช่วงนี้บ่งบอกว่าน้ำมันเกิดการออกซิไดซ์ ซึ่งหมายถึงมีคุณภาพที่ลดลง

การปนเปื้อนต่างๆ เช่น การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในไวน์ อาจส่งผลให้สีของไวน์เปลี่ยนไปซึ่งสามารถประเมินได้โดยใช้สเปกโตรสโคปี ยูวี วิส

การตรวจวัดด้วยเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรียังเป็นวิธีที่บริษัทผู้ผลิตเบียร์นิยมใช้เพื่อตรวจสอบการควบคุมคุณภาพอีกด้วย โดยมักจะตรวจวัดสี ความขม กรดไอโซอัลฟาและอัลฟา คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด และอะมิโนไนโตรเจนอิสระ (FAN)

เรียนรู้เพิ่มเติมในโบรชัวร์เกี่ยวกับการใช้งานด้านการวิเคราะห์เบียร์

อุตสาหกรรมเคมี

สเปกโตรสโคปีการดูดกลืนยูวีเป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของสารละลายอินทรีย์ ตัวอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมเคมีคือการควบคุมความบริสุทธิ์ของแอลกอฮอล์ซึ่งอาจมีเบนซีนมาปนเปื้อนได้ เบนซีนดูดกลืนแสงที่ 280 นาโนเมตร ในขณะที่แอลกอฮอล์ดูดกลืนแสงที่ 210 นาโนเมตร หากการดูดกลืนมีค่าสูงสุดที่ 280 นาโนเมตรบนสเปกตรัม จะแสดงว่ามีการปนเปื้อนของเบนซีน

อุตสาหกรรมเคมีนั้นมีการใช้เครื่องสเปกโตรโฟโต้ในการตรวจวัดสีอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น การตรวจวัดมาตราส่วนของเหลวสีใสเป็นหน่วยแพลตินัมโคบอลต์ (Pt/Co) ซึ่งอธิบายไว้ในวิธี ASTM D1209 นั้นสามารถใช้ได้กับการตรวจวัดลักษณะภายนอกของสีสำหรับสารเคมีและปิโตรเคมีต่างๆ เช่น กลีเซอรีน พลาสติไซเซอร์ ตัวทำละลาย คาร์บอนเตตระคลอไรด์ และปิโตเลียมสปิริต

สาธารณูปโภค

เครื่องสเปกโตรโฟโต้เป็นเครื่องมือที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการวิเคราะห์โฟโตเมตริกของน้ำและน้ำเสียในบริษัทและสถาบันด้านสาธารณูปโภค เครื่องนี้สามารถใช้ตรวจวัดพารามิเตอร์ได้หลายร้อยพารามิเตอร์ด้วยความถูกต้องแม่นยำสูง (เช่น COD, แอมโมเนียม, ความแข็ง, คลอรีน ฯลฯ) และให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วเพื่อช่วยให้ควบคุมคุณภาพได้อย่างทันท่วงที

นอกเหนือจากนั้น โรงไฟฟ้าหลายแห่งจำเป็นต้องตรวจสอบระดับ ppb ของไอออน (เช่น เหล็ก ซิลิเกต) ซึ่งสามารถดำเนินการโดยใช้เครื่องสเปกโตรมิเตอร์โดยไม่จำเป็นต้องซ่อมแซมหม้อไอน้ำ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบน้ำแบบยูวี วิส

ความแตกต่างระหว่างเครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบสแกนกับแบบอาร์เรย์คืออะไร?

เราจำแนกเครื่องสเปกโตรโฟโต้ ยูวี วิส ตามรูปทรงเรขาคณิตของส่วนประกอบที่สร้างระบบแสงสำหรับการบันทึกสเปกตรัม โดยจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • เครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบสแกน
  • เครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบอาร์เรย์

อุปกรณ์ ยูวี วิส แบบสแกนสามารถหาสเปกตรัมได้จากการเปลี่ยนความยาวคลื่นของแสงอย่างต่อเนื่อง (เช่น การสแกน) ซึ่งแยกกันส่องผ่านสารละลายตัวอย่างโดยการหมุนเกรตติงแบบสะท้อนดังที่แสดงในรูปด้านล่าง ในเครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบอาร์เรย์ แสงตลอดความยาวคลื่นที่ส่องผ่านสารละลายตัวอย่างจะเกิดการหักเหจากเกรตติงแบบสะท้อนที่อยู่ด้านหลังคิวเวทท์ จากนั้นเครื่องตรวจจับแบบอาร์เรย์จะตรวจจับแสงดังกล่าว (เช่น เซ็นเซอร์ CCD) วิธีนี้ช่วยให้สามารถตรวจวัดความยาวคลื่นทั้งหมดของแสงในช่วงเวลาสั้นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้เครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบอาร์เรย์สามารถส่งสเปกตรัมของการสแกนแบบแสงครบ (เช่น 200 - 800 นาโนเมตร) ภายในไม่กี่วินาทีได้ ในขณะที่เครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบสแกนต้องใช้เวลาอย่างน้อยหลายนาทีในการทำงานแบบเดียวกันนี้

องค์ประกอบที่มีการหมุนแบบเป็นกลไกของเครื่องมือสเปกโตรสโคปีแบบสแกนอาจส่งผลต่อความถูกต้องแม่นยำและความสามารถในการทำซ้ำของความยาวคลื่นได้ เครื่องสเปกโตรสโคปีแบบสแกนจึงจำเป็นต้องมีการสอบเทียบซ้ำเป็นประจำและผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว เครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบอาร์เรย์จะไม่มีชิ้นส่วนในการนำแสงแบบเคลื่อนที่ได้รวมอยู่ด้วย ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีความคลาดเคลื่อนของความยาวคลื่นซึ่งเกิดจากความผิดพลาดทางกลไก

ข้อดีเพิ่มเติมของเครื่องมือสเปกโตรสโคปีแบบอาร์เรย์คือมีการออกแบบด้านการนำแสง ทำให้สามารถป้องกันแสงโดยรอบได้ คุณจึงไม่จำเป็นต้องใช้ช่องเก็บตัวอย่างแบบปิด ซึ่งส่งผลให้การเปลี่ยนตัวอย่างทำได้ง่ายขึ้น

หลอดทังสเตนฮาโลเจน หลอดดิวเทอเรียม และหลอดไฟซีนอนมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

หลอดทังสเตนฮาโลเจนเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่พบบ่อยที่สุดในเครื่องสเปกโตรโฟโต้ ซึ่งประกอบด้วยไส้หลอดทังสเตนที่อยู่ในหลอดแก้วและมีส่วนฮาโลเจนบรรจุอยู่เพื่อฟื้นฟูทังสเตนที่มีการระเหยไป หลอดชนิดนี้จะให้ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ได้ตั้งแต่ 330 ถึง 1,100 นาโนเมตร ในย่านที่มองเห็นได้ไปถึงย่านใกล้อินฟราเรด และมีอายุการใช้งานประมาณ 3,000 ชั่วโมง

หลอดดิวเทอเรียมเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ปล่อยดิวทีเรียมแบบก๊าซซึ่งปิดผนึกไว้ในหลอดไฟ หลอดดิวเทอเรียมครอบคลุมย่านอัลตราไวโอเลตตั้งแต่ 190 ถึง 450 นาโนเมตร โดยมีการกระจายความเข้มแสงที่สม่ำเสมอและมีอายุการใช้งานประมาณ 1,000 ชั่วโมง

หลอดไฟ 2 ชนิดข้างต้นมักจะใช้ร่วมกันเพื่อครอบคลุมช่วงแสง UV และ Visible ทั้งหมด

หลอดไฟซีนอนเป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ปล่อยก๊าซซีนอนปิดผนึกไว้ในหลอดแก้วควอตซ์ หลอดไฟชนิดนี้จะสร้างสเปกตรัมต่อเนื่องตั้งแต่ย่านอัลตราไวโอเลตไปจนถึงย่านใกล้อินฟราเรด โดยครอบคลุมตั้งแต่ 190 ถึง 1,100 นาโนเมตร หลอดไฟแฟลชซีนอนจะสร้างแสงโดยใช้การจุดประจุแบบพัลส์ (pulsed ignition) ซึ่งจะมีการผสานการทำงานตลอดช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อให้ได้การสแกนสเปกตรัมแบบแสงครบโดยไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่อง การสร้างแสงแบบพัลส์เช่นนี้จะทำให้เกิดความร้อนเพียงเล็กน้อยและอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 5,500 ชั่วโมง ซึ่งสอดคล้องกับไฟแฟลช 50 Hz ที่การทำงานคงที่ การใช้หลอดไฟซีนอนจึงช่วยให้คุณต้องทำการบำรุงรักษาน้อยลง ทั้งยังให้อายุการใช้งานของหลอดไฟที่ยาวนานยิ่งขึ้น

เทคโนโลยี FastTrack™ จาก METTLER TOLEDO ประกอบด้วยหลอดไฟแฟลชซีนอน ใยแก้วควอตซ์ และการตั้งค่าอาร์เรย์

เครื่องรุ่น UV5 และ UV7 ของ METTLER TOLEDO แตกต่างกันอย่างไรบ้าง และเครื่องรุ่นใดที่เหมาะกับห้องปฏิบัติการของฉัน?

เครื่องสเปกโตรโฟโต้รุ่น UV5 ใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งช่วยส่งมอบการสแกนสเปกตรัมได้ภายใน 1 วินาที คุณจะมีการตรวจวัดอยู่ 2 รูปแบบให้เลือกใช้ นั่นคือ การตรวจวัดโดยตรงและวิธีการ ซึ่งจะดำเนินงานผ่านหน้าจอระบบสัมผัส One Click™ ที่ใช้งานง่าย เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของเราทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งช่วยให้คุณประหยัดเวลาในขั้นตอนการวิเคราะห์ ยูวี วิส สำหรับการควบคุมคุณภาพ การทดสอบน้ำ และการตรวจวัดสี

เครื่องรุ่น UV7 มีคุณสมบัติเหมือนกับรุ่น UV5 แต่ต่างกันตรงที่ได้รับการทดสอบตามข้อกำหนดในเภสัชตำรับของยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทั้งยังมีวิธีที่มีการตั้งโปรแกรมล่วงหน้าอยู่หลายวิธี เครื่องนี้สามารถใช้งานในรูปแบบระบบอัตโนมัติขั้นสูงได้สำหรับการรับรองคุณสมบัติการทำงานตามวิธีการที่ METTLER TOLEDO ได้กำหนดไว้ ซึ่งเหมาะกับอุตสาหกรรมที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด เช่น อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ ทั้งยังสนับสนุนให้มีการปฏิบัติตาม 21 CFR Part 11 และความสอดคล้องตามกฎข้อกำหนดด้านความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลโดยใช้ซอฟต์แวร์ LabX

รับชมวิดีโอด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวเลือกการตรวจวัด 2 โหมด ได้แก่ การตรวจวัดโดยตรงและวิธีการ

เครื่องรุ่น UV5Bio กับ UV5Nano ของ METTLER TOLEDO มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? เครื่องสเปกโตรโฟโต้สำหรับตัวอย่างที่มีปริมาตรน้อยคืออะไร?

เครื่องรุ่น UV5Bio เป็นเครื่องสเปกโตรโฟโต้แบบคิวเวทท์ที่ใช้สำหรับงานด้านชีววิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ เครื่องนี้มีคลังข้อมูลวิธีการที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าพร้อมกับการใช้งานทางชีวภาพที่กำหนดไว้ล่วงหน้า 22 วิธีการ เช่น วิธีการ Bradford, วิธีการ Lowry, OD600 และจลนศาสตร์ของเอนไซม์ เครื่องรุ่น UV5Bio สามารถใช้กับอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้ เช่น ชุดควบคุมอุณหภูมิซึ่งช่วยให้ทำการวิเคราะห์แบบใช้อุณหภูมิได้ (เช่น การสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน, การศึกษาจลนศาสตร์ของเอนไซม์, อุณหภูมิการหลอมละลายของ DNA, กิจกรรมของไลเปส ฯลฯ)

นอกจากนี้ เครื่องรุ่น U5Nano ยังมีการใช้งานด้านชีววิทยาศาสตร์ที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าและเป็นเครื่องสเปกโตรโฟโต้สำหรับตัวอย่างที่มีปริมาตรน้อย (ใช้เพียง 1 ไมโครลิตร) อีกด้วย การตรวจวัด ยูวี วิส สามารถทำได้ในแพลตฟอร์มสำหรับตัวอย่างที่มีปริมาตรน้อยหรือในคิวเวทท์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดตัวอย่างที่มีความเข้มข้นสูง อาทิ dsDNA ที่มีความเข้มข้นถึง 15,000 ng/µL ได้โดยไม่ต้องเจือจางเพิ่มเติมโดยอาศัยเทคโนโลยี LockPath ที่มีอยู่ในเครื่องรุ่น UV5Nano ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถกำหนดระยะทางที่แสงส่องผ่านไว้ที่ 0.1 หรือ 1 มิลลิเมตรก็ได้

รับชมวิดีโอด้านล่างเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกโตรสโคปี ยูวี วิส สำหรับตัวอย่างที่มีปริมาตรน้อย — เทคโนโลยี LockPath

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของ METTLER TOLEDO มีวิธีการด้านชีววิทยาศาสตร์อะไรให้นำไปใช้บ้าง?

  • เครื่องสเปกโตรโฟโต้รุ่น UV5Nano และ UV5Bio ของ METTLER TOLEDO มีวิธีการด้านชีววิทยาศาสตร์มากมายให้เลือกนำไปใช้ ดังนี้
    • การวิเคราะห์ DNA, RNA และโปรตีนในเชิงคุณภาพ
    • การวิเคราะห์ DNA, RNA และโปรตีนในเชิงปริมาณ
    • การทดสอบปริมาณโปรตีนด้วยวิธีการ BCA, Bradford, Lowry และวิธีการเทียบสีอื่นๆ
    • สีย้อมแบบกำหนดค่าล่วงหน้าและมีตัวเลือกเพื่อเพิ่มสีย้อมแบบกำหนดค่าเอง
    • เครื่องคำนวณ Oligo สำหรับการหาค่าความเข้มข้นของ DNA oligo และ RNA oligo
    • OD600 สำหรับเซลล์ที่มีชีวิต 
  • นอกจากนี้ เครื่องสเปกโตรโฟโต้รุ่น UV5Bio และ UV7 ยังมีวิธีการทางจลนศาสตร์สำหรับดำเนินการด้านจลนศาสตร์ของเอนไซม์อีกด้วย
  • หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องสเปกโตรโฟโต้ของ METTLER TOLEDO ในด้านชีววิทยาศาสตร์ โปรดดาวน์โหลดกล่องเครื่องมือด้านชีววิทยาศาสตร์

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของ METTLER TOLEDO มีสเกลสีและหมายเลขสีแบบใดบ้าง?

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของ METTLER TOLEDO มาพร้อมสเกลสีที่ติดตั้งไว้ล่วงหน้าหลากหลายรูปแบบ เช่น APHA, Gardner, Saybolt, CIELAB, EBC และ ASBC ส่งผลให้เครื่องมือนี้เหมาะอย่างยิ่งกับการตรวจวัดสีของของเหลวแบบโปร่งแสง

ปริภูมิสี APHA (หรือเรียกอีกอย่างว่า Pt-Co และ Hazen) รวมถึงสเกลสีของ Gardner จะวัดปริมาณความเหลืองของสารที่สีเกือบใส ดังนั้นจึงใช้สเกลสีเหล่านี้วัดความบริสุทธิ์และคุณภาพหรือระดับการย่อยสลายของสารได้

CIELAB แสดงสีเป็น 3 ค่า ได้แก่ L* สำหรับ ความสว่าง, a* สำหรับสีเขียวถึงสีแดง และ b* สำหรับสีน้ำเงินถึงสีเหลือง สเกลสีนี้ใช้เพื่อตรวจดูให้แน่ใจว่าของเหลวมีสีคงที่ เช่น สีย้อม รสชาติ ฯลฯ

สเกลสี Saybolt ใช้สำหรับการจัดระดับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีสีอ่อน โดยสี Saybolt เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพหรือระดับการปนเปื้อนของผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่องบิน ฯลฯ
สเกลสี EBC และ ASBC ใช้เพื่อกำหนดสีของเบียร์ ซึ่งจะช่วยแยกประเภทของเบียร์ได้

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจวัดสีได้ที่นี่

การวิเคราะห์ตัวอย่างที่ไวต่ออุณหภูมิโดยใช้เครื่องสเปกโตรโฟโต้สามารถทำได้อย่างไร?

เครื่องควบคุมอุณหภูมิของ METTLER TOLEDO จะช่วยขยายขีดความสามารถของเครื่องสเปกโตรโฟโต้สำหรับการใช้งานที่ต้องมีความถูกต้องแม่นยำและความสามารถในการทำซ้ำในอุณหภูมิระดับสูง เช่น การวิเคราะห์โปรตีน กิจกรรมของเอนไซม์ หรือจุดหลอมเหลวของ DNA อุปกรณ์เสริมนี้ช่วยให้คุณสามารถควบคุมสภาวะอุณหภูมิของตัวอย่างให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 4 - 95 องศาเซลเซียสก่อน ระหว่าง หรือหลังการตรวจวัดด้วยเทคนิคสเปกโตรสโคปีได้

เรียนรู้เพิ่มเติมในคู่มือเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิสำหรับเทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรี ยูวี วิส

เทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรี ยูวี วิส จะสามารถสนับสนุนการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ได้อย่างไร?

เทคนิคสเปกโตรโฟโตเมตรี ยูวี วิส ช่วยให้คุณสามารถกำหนดลักษณะเฉพาะและหาปริมาณของส่วนประกอบต่างๆ ในวัคซีน เช่น กรดนิวคลีอิก (เช่น DNA/RNA) โปรตีน สารเติมแต่ง/สารกันบูด ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว ง่ายดาย และถูกต้องแม่นยำ เนื่องจากส่วนประกอบจะมีการดูดกลืนบนสเปกตรัมในช่วง UV และ Visible แบบเฉพาะตัว ดังนั้น เครื่องนี้จึงอาจส่งผลต่อเวลาที่แสดงผลลัพธ์สำหรับทั้งกระบวนการในตอนท้ายและในตอนต้น ตลอดจนการควบคุมคุณภาพได้ นอกจากนี้ เครื่องมือนี้ยังมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบความบริสุทธิ์ของส่วนประกอบวัคซีนในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาอีกด้วย

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน ยูวี วิส ในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ได้ที่นี่

การสอบเทียบเครื่องสเปกโตรโฟโต้สามารถทำได้อย่างไร?

METTLER TOLEDO มาพร้อมโซลูชันสำหรับการสอบเทียบเครื่องสเปกโตรโฟโต้ในรูปแบบของเครื่อง CertiRef™ และ LinSet™ ซึ่งช่วยให้ดำเนินการทดสอบได้โดยอัตโนมัติเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องสเปกโตรโฟโต้ของคุณเป็นไปตามข้อกำหนดในเภสัชตำรับของยุโรปและสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่อง CertiRef™ ซึ่งมีวัสดุอ้างอิงที่ผ่านการรับรอง (CRM) เพื่อทำการทดสอบแบบอัตโนมัติเพื่อหาความถูกต้องแม่นยำและความสามารถในการทำซ้ำของความยาวคลื่น ความถูกต้องแม่นยำและความสามารถในการทำซ้ำทางโฟโตเมตริก ความละเอียด คลื่นแสงรบกวน สัญญาณรบกวนและการเบี่ยงเบนทางโฟโตเมตริก รวมถึงค่าความเรียบของเส้นฐาน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่อง CertiRef™ และ LinSet™ ได้ที่นี่

เครื่องสเปกโตรโฟโต้ของฉันจะได้รับประโยชน์จากซอฟต์แวร์ LabX® ยูวี วิส อย่างไรบ้าง?

ซอฟต์แวร์ LabX® ของ METTLER TOLEDO ช่วยให้ผู้ใช้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นด้วยการสร้างขั้นตอนการทำงานที่กำหนดได้ตามความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการคำนวณและการจดบันทึกได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังรับประกันความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อมูลด้วยการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างปลอดภัยในฐานข้อมูลที่ปลอดภัย รวมทั้งการตรวจสอบยืนยันประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการทั้งหมด ซอฟต์แวร์นี้มาพร้อมคุณสมบัติด้านความปลอดภัยต่างๆ เช่น ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์และการจัดการผู้ใช้ จึงช่วยให้มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ 21 CFR Part 11 จาก FDA