วิธีการใช้งาน

วิทยากระแสของฟองดูชีสสวิส

วิธีการใช้งาน

Formulation ที่ถูกต้องแม่นยำช่วยให้มั่นใจถึงผลลัพธ์ที่ทำซ้ำได้

ฟองดูชีสเป็นอาหารสวิสแบบดั้งเดิมที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก มีความรู้คู่ครัวชาวสวิสมากมายที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง ซึ่งจะบอกวิธีการเตรียมฟองดูที่สมบูรณ์แบบจากชีส ไวน์ แป้ง และเครื่องปรุงรสต่างๆ โดยไม่ให้มีเนื้อสัมผัสที่ข้นหรือเหลวจนเกิน และจะต้องเกาะกับขนมปังเพื่อให้รับประทานได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อระบุว่าส่วนผสมใดและในปริมาณเท่าใดจะมีผลอย่างไรต่อวิทยากระแสของฟองดู แล้วส่งผลต่อ “รสสัมผัสในปาก” ด้วย

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันอาหาร โภชนาการ และสุขภาพที่ ETH ในซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต้องการทราบข้อมูลดังกล่าวให้แน่ชัด จึงได้ทำการตรวจสอบระบบแบบหลายเฟสอันซับซ้อนของฟองดู โดยพิจารณาจากแง่มุมด้านวัสดุศาสตร์ ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับลักษณะของส่วนผสมดังกล่าวที่ประกอบด้วยไขมัน น้ำ และโปรตีน มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิศวกรรมการแปรรูปอาหาร การชั่งน้ำหนักส่วนผสมอย่างถูกต้องและการควบคุม Formulation ของสูตรที่สามารถทำซ้ำได้ เป็นพื้นฐานของการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น

อ่านเอกสารการใช้งานของเราเพื่อดูว่า Formulation ที่ถูกต้องแม่นยำจากการใช้เครื่องชั่ง XSR ช่วยสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถทำซ้ำได้เกี่ยวกับวิทยากระแสของฟองดูชีสสวิสอย่างไร

สอบภามราคา

เครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์และเครื่องชั่งความแม่นยำสูง XSR ของ METTLER TOLEDO มีทั้งคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้และด้านการปฏิบัติงานที่ถูกหลักสรีรศาสตร์อย่างแท้จริงรวมไว้ด้วยกัน เพื่อให้กระบวนการ Formulation ถูกต้องแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และทำซ้ำได้สูง

เครื่องชั่งของคุณเหมาะกับการใช้งานหรือไม่? ตรวจสอบว่าเครื่องชั่งรุ่นที่คุณเลือกตอบสนองความต้องการในกระบวนการของคุณได้หรือไม่โดยดำเนินการประเมินต่อไปนี้

  1. กำหนดขนาดตัวอย่างสุทธิที่น้อยที่สุดที่คุณต้องการชั่ง ซึ่งก็คือ “น้ำหนักต่ำสุด” ที่จะทำการชั่งบนเครื่องชั่งที่เลือก หากคุณชั่งน้ำหนักสารประกอบหลายอย่างลงในภาชนะบรรจุทดน้ำหนักเดียวกัน น้ำหนักสุทธิที่น้อยที่สุดจะหมายถึงสารประกอบที่น้อยที่สุดที่คุณนำมาชั่ง ไม่ใช่ปริมาณรวมที่น้อยที่สุดของสารประกอบทั้งหมด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวอย่างสุทธิที่น้อยที่สุดของคุณสูงกว่าค่าที่กำหนดตามน้ำหนักขั้นต่ำ โดยนำค่าความปลอดภัยมาใช้ด้วย (ดูข้อ 3 ด้านล่าง)
  2. กำหนดระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ (คุณต้องการชั่งน้ำหนักตัวอย่างที่น้อยที่สุดให้มีความถูกต้องแม่นยำเพียงใด และค่าความแปรผันที่ยอมรับได้อยู่ที่เท่าใด) ระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ของคุณจะเป็นตัวกำหนดว่าอุปกรณ์สามารถตรวจวัดได้ “ดีพอ” สำหรับความต้องการในกระบวนการหรือไม่ ถ้ามีการใช้เครื่องชั่งกับกระบวนการมากกว่าหนึ่งกระบวนการ ให้เลือกระดับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ที่เข้มงวดที่สุดตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) ของคุณ
  3. กำหนดน้ำหนักขั้นต่ำของเครื่องชั่ง และนำค่าความปลอดภัยมาใช้ น้ำหนักขั้นต่ำ หมายถึงค่าที่กำหนดว่าค่าที่ต่ำกว่านี้จะแสดงว่าผลการชั่งน้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์สูงเกินไป ค่าความปลอดภัย เป็นค่าที่นำไปคูณกับน้ำหนักขั้นต่ำเพื่อยอมให้เกิดความผันผวนได้ตามอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมและความแตกต่างในส่วนของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและตัวอย่าง หลักการง่ายๆ ก็คือ ให้เริ่มต้นจากค่าความปลอดภัยที่ระดับ “2” สำหรับสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการทั่วไป และระดับ “3” ขึ้นไปสำหรับสภาพแวดล้อมในการผลิตทั่วไป
  4. ตรวจสอบพิกัดน้ำหนักสูงสุดของเครื่องชั่ง และเปรียบเทียบกับน้ำหนักโหลดสูงสุดที่คุณต้องการจะชั่ง โดยนำภาชนะบรรจุทดน้ำหนักของคุณมารวมด้วย

ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์และการใช้งานของเราช่วยคุณตัดสินใจเลือก โดยบริการ GWP® Recommendation ฟรีของเราจะเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเลือกอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักและตรวจสอบยืนยันว่าอุปกรณ์เหมาะสำหรับกระบวนการหรือไม่ GWP® มีเอกสารคำแนะนำให้ เพื่อรับประกันว่าผลการชั่งน้ำหนักสามารถทำซ้ำได้

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง