เอกสารไวท์เปเปอร์

การเตรียมตัวอย่างแบบกราวิเมตริก

เอกสารไวท์เปเปอร์

การลดขนาดตัวอย่างและข้อผิดพลาด OOS

การเตรียมตัวอย่างแบบกราวิเมตริก
การเตรียมตัวอย่างแบบกราวิเมตริก

การเตรียมตัวอย่างเป็นส่วนสำคัญของการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวอย่างนั้นมักเต็มไปด้วยการปฏิบัติงานด้วยมือที่น่าเบื่อหน่ายและใช้เวลานาน แต่น่าเสียดายที่การประมวลผลด้วยมือที่ใช้แรงงานมากเกินไปนั้นก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดข้อผิดพลาดหรือความแปรปรวน ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดผลที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (OOS) หรือไม่เป็นไปตามความคาดเคลื่อน (OOT) (ผลการทดสอบที่อยู่นอกข้อกำหนดหรือเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้) ความแปรปรวนในการเตรียมตัวอย่างจะส่งผลต่อความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องระบุและขจัดสาเหตุของข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะมีผลกระทบต่อผลลัพธ์ในขั้นสุดท้าย

บทความที่ตีพิมพ์เมื่อหลายปีก่อนในนิตยสาร LC/GC ได้ทำการสำรวจขั้นตอนการทำงานเชิงวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการไว้สองแง่มุม โดยประการแรกนั้นเป็นเรื่องอัตราส่วนเวลาที่นักวิเคราะห์ใช้ในขั้นตอนต่างๆ ในขั้นตอนการทำงานเชิงวิเคราะห์ และประการที่สองเป็นเรื่องของสิ่งที่เป็นสาเหตุหลักของข้อผิดพลาด OOS ผลจากการสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าเวลาที่นักวิเคราะห์ใช้ในการประมวลผลตัวอย่างเกินครึ่งหนึ่ง (61%) และเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) นั้นเป็นข้อผิดพลาด OOS ที่อาจเกิดจากการประมวลผลตัวอย่างหรือข้อผิดพลาดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน  

สอบภามราคา
สอบภามราคา