คู่มือ

5 วิธีเพื่อปรับปรุงการตรวจวัดกระบวนการทางชีวภาพ

คู่มือ

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการทางชีวภาพด้วยเซ็นเซอร์ดิจิทัล

ปรับปรุงการตรวจวัดกระบวนการทางชีวภาพ
ปรับปรุงการตรวจวัดกระบวนการทางชีวภาพ

ในอุตสาหกรรมยา มีแรงกดดันสูงให้ผู้ผลิตต้องปรับปรุงการตรวจวัดกระบวนการทางชีวภาพของพารามิเตอร์ เช่น pH, DO และ CO2 การบรรลุวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพพร้อมกับการเพิ่มกระบวนการทางชีวภาพนับเป็นความท้าทายที่หลายๆ บริษัทกำลังเผชิญ

การจัดการเซ็นเซอร์แบบอัจฉริยะ (Intelligent Sensor Management หรือ ISM®) คือเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการวิเคราะห์น้ำและก๊าซในสายการผลิตที่ผสมอัลกอรึทึมอัจฉริยะเข้ากับเซ็นเซอร์และปรับปรุงการตรวจวัดทางชีวภาพ ISM จะมอบข้อมูลการวินิจฉัยเซ็นเซอร์แบบเรียลไทม์ ปรับปรุงการวัดทางเภสัชกรรมและการควบคุมกระบวนการ รวมถึงเพิ่มความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ในกระบวนการให้สูงที่สุด ISM จะทำให้การจัดการและบริหารการซ่อมบำรุงเซ็นเซอร์เป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สอบภามราคา


คู่มือ "5 วิธีเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางชีวภาพด้วยเซ็นเซอร์ดิจิทัล" ประกอบด้วยกรณีศึกษา 5 กรณีดังนี้

เสริมประสิทธิภาพของถังปฏิกรณ์ชีวภาพโดยการผสานรวมเซ็นเซอร์วัดค่า pH และ DO แบบดิจิทัล

วิศวกรรมเนื้อเยื่อต้องการความถูกต้องและความสามารถในการทำซ้ำจากการตรวจวัดของเซ็นเซอร์ที่สูงที่สุด ผู้ผลิตถังปฏิกรณ์ชีวภาพที่ทันสมัยที่สุดสำหรับการใช้งานกับเนื้อเยื่อได้เลือกหัววัด ISM ของ METTLER TOLEDO เพื่อรักษาชื่อเสียงและการผสานรวมที่ปราศจากปัญหา

เร่งความเร็วให้การพัฒนากระบวนการตั้งแต่โต๊ะออกแบบถึงขั้นตอนการผลิต:

เซ็นเซอร์ InPro® 5000i จาก METTLER TOLEDO ช่วยทำให้คุณตรวจวัด CO2 ที่ละลายน้ำในสายการผลิตได้อย่างเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ตลอดระยะเวลาการเตรียมการทั้งหมดที่การถ่ายโอนก๊าซแปรผันจากของเหลวเป็นก๊าซ

ประเมินประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนระหว่างก๊าซด้วยการตรวจสอบ CO2 แบบต่อเนื่อง

การตรวจวัดจุดกำเนิดของ CO2 ที่ละลายน้ำคือพารามิเตอร์ที่สำคัญในการประเมินประสิทธิภาพของการแลกเปลี่ยนระหว่างก๊าซของจุลินทรีย์ในการเพาะเลี้ยงเซลล์ สถาบันชีวสารสนเทศศาสตร์แห่งเวอร์จิเนีย (Virginia Bioinformatics Institute) เลือกใช้ METTLER TOLEDO กับระบบตรวจวัด CO2 ที่จุดกำเนิดเพื่อศึกษาเซลล์แซกคาโรมัยซีส เซอริวิสเซีย (ยีสต์) ในการเพาะเลี้ยงแบบจำนวนมาก เพื่อหาระยะการเจริญเติบโตของการเพาะเลี้ยงที่แม่นยำและทำซ้ำได้ อันเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของ CO2

กำจัดสัญญาณรบกวนแม่เหล็กไฟฟ้าโดยการเปลี่ยนจากเซ็นเซอร์แอนะล็อก

เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ดิจิทัลไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการตรวจวัดและการสอบเทียบเซ็นเซอร์ที่เกิดจากการแยกไฟฟ้าไม่เพียงพอบนอุปกรณ์แอนะล็อก โซลูชันดิจิทัลสำหรับค่า pH และ DO จาก METTLER TOLEDO ได้ฟื้นฟูความมั่นใจในการตรวจวัดของบริษัทผู้ผลิตยารายใหญ่แห่งหนึ่ง

ลดการซ่อมบำรุงโดยใช้การตรวจวัด DO ด้วยแสง:

เซ็นเซอร์วัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ (DO) แบบแอมเปอโรเมตริกมีใช้ทั่วไปในกระบวนการผลิตยาและเวชภัณฑ์ แต่ข้อกำหนดในการบำรุงรักษาก็ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูง เซ็นเซอร์วัดค่า DO ด้วยแสงคือทางเลือกระดับสูง ที่มีค่าซ่อมบำรุงต่ำ

เอกสารไวท์เปเปอร์และคู่มือที่เกี่ยวข้อง
สินค้าที่เกี่ยวข้อง