กรณีศึกษา

ปิเปตสำหรับการศึกษาวิจัยการตอบสนองต่อภาวะกดดันในเซลล์

กรณีศึกษา

ปิเปตอิเล็กทรอนิกส์แบบหลายช่องสำหรับการศึกษาการตอบสนองต่อภาวะกดดันที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

ในช่วงชีวิตหนึ่ง สิ่งมีชีวิตทุกประเภทจะต้องเผชิญกับภาวะกดดัน ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาว ผลคือจีโนม เอพิจีโนม และโปรตีโอมของเซลล์อาจได้รับความเสียหายที่ควรซ่อมแซมเพื่อให้ทำงานได้ตามปกติ แต่ยิ่งสิ่งมีชีวิตมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการตอบสนองต่อทั้งรอยถลอกหรือรอยฉีกธรรมดาไปจนถึงภาวะกดดันผิดปกติ เช่น อุณหภูมิสูงหรือภาวะเป็นพิษ จะลดน้อยถอยลง

งานวิจัยในห้องปฏิบัติการ Dillin ณ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ มุ่งเน้นไปที่การศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตมีปฏิกิริยาและบรรเทาผลกระทบของภาวะกดดันอย่างไรในระดับเซลล์ รวมถึงศึกษาว่าจะกระตุ้นการตอบสนองดังกล่าวอย่างไรในสิ่งมีชีวิตที่เริ่มแก่ตัวลง งานวิจัยดังกล่าวยังได้ตั้งคำถามว่าการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เชื่อมโยงโดยตรงกับภาวะการตอบสนองต่อความกดดันที่บกพร่อง เบาหวาน และมะเร็งในสิ่งมีชีวิตนั้นจะลดลงได้อย่างไรเพื่อให้สามารถรักษาสุขภาพให้ดีไว้ได้ยามแก่ตัวลง
 

Dr. Ryo Higuchi-Sanabria ในห้องปฏิบัติการ Dillin มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
Dr. Ryo Higuchi-Sanabria ในห้องปฏิบัติการ Dillin มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

เมื่อยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะกดดันที่นำมาทดลองได้รับการระบุโดยการคัดเลือกแล้ว Dr. Higuchi-Sanabria และผู้ร่วมวิจัยก็ได้ใช้ PCR เชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบยืนยันว่าการทำงานของยีนส์นั้นได้ถูก “ยับยั้ง” อย่างแท้จริงแล้วในพยาธิตัวกลมที่เลือกมาทดลอง หากกล่าวถึงหนอนนีมาโทดาที่โปร่งใส (C. Elegans) ที่มียีนหลายพันยีนแล้ว การดำเนินการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บตัวอย่างทดลอง การตั้งค่าหน้าจอ และการตรวจสอบประสิทธิภาพของยีนทดลองล้วนแล้วแต่อาศัยการปิเปตที่หนักหน่วง โดยห้องปฏิบัติการ Dillin ได้พึ่งพาปิเปต Rainin แบบหลายช่องจาก METTLER TOLEDO เป็นหลัก

ในปี 2018 METTLER TOLEDO เปิดตัวโครงการสนับสนุนวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดยมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเป็นปิเปตชนิดใดก็ได้ตามที่ต้องการ ก่อนหน้านั้น Dr. Higuchi-Sanabria เคยคุยกับ Larry Joe ผู้จัดการของห้องปฏิบัติการ Dillin เกี่ยวกับการซื้อปิเปตหลายช่องของ Rainin มาเพิ่มอยู่แล้ว เขาให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่ปิเปตหลายช่องที่ปรับความกว้างได้ที่สามารถใช้ในการถ่ายโอนสารตัวอย่างระหว่างหลอดไมโครเซ็นตริฟิวจ์ในแร็คและจานขนาด 96 หรือ 384 หลุม หรือปิเปตหลายช่องขนาด 2-20 ไมโครลิตรที่สามารถถ่ายโอนสารตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย (3-12 ไมโครลิตร) ระหว่างแผ่น PCR และจานหลุมได้อย่างถูกต้องแม่นยำและเที่ยงตรง
 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง