เอกสารไวท์เปเปอร์

การฟื้นตัวจาก COVID-19 ในการวิจัยและพัฒนาทางเคมี

เอกสารไวท์เปเปอร์

ธุรกิจยุคใหม่ย่อมต้องมีห้องปฏิบัติการที่ต่างไปจากเดิม

การฟื้นตัวจาก COVID-19 ในการวิจัยและพัฒนาทางเคมี
การฟื้นตัวจาก COVID-19 ในการวิจัยและพัฒนาทางเคมี

ห้องปฏิบัติการต้องเผชิญกับข้อจำกัดใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องปรับกำหนดเวลาและแนวทางปฏิบัติเพื่อคงประสิทธิภาพในการทำงานไว้แม้จะมีเวลาอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงานน้อยลง บริษัทหลายแห่งกำลังใช้เตาปฏิกรณ์อัตโนมัติและเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการ (PAT) แบบอินไลน์เพื่อดำเนินการทดลองที่มีข้อมูลจำนวนมากโดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล 

เอกสารไวท์เปเปอร์เรื่องการฟื้นตัวจาก COVID-19 ในการวิจัยและพัฒนาทางเคมี – เส้นทางสู่วิถีใหม่จะกล่าวถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดทั่วโลกครั้งนี้ รวมถึงวิธีที่การลงทุนไปกับโซลูชันระบบอัตโนมัติเพื่อทำความเข้าใจและควบคุมกระบวนการต่างๆ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ยังคงทำงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพแม้พื้นที่ปฏิบัติงานจะมีข้อจำกัดและปิดไม่ให้เข้าก็ตาม
 

เนื้อหาบางส่วนที่คัดมาจากเอกสารไวท์เปเปอร์ฉบับนี้
“ผลการวิจัยจาก Linus Group ได้ระบุว่า บริษัทหลายแห่งต่างก็ประสบกับผลลัพธ์คล้ายๆ กัน เราได้ปรับเปลี่ยนกราฟด้านล่างนี้เพื่ออธิบายข้อสังเกตต่างๆ ของผู้วิจัย เมื่อมีการล็อกดาวน์ บริษัทแทบทุกแห่งต่างมีความสามารถในการผลิตลดลงในช่วงแรกเพราะได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว พนักงานเองก็ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านในช่วงแรก บริษัทจึงไม่สามารถดำเนินการทดลองที่จะสนับสนุนงานของโครงการได้ องค์กรต่างๆ จึงต้องเริ่มขั้นตอนการวางแผนเพื่อกำหนดว่าตนจะปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติในการทำงานของตนอย่างไร ในอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์และอุตสาหกรรมเคมี เป็นที่ชัดเจนว่าห้องปฏิบัติการด้านการวิจัยและพัฒนาจะต้องได้รับการปรับใหม่เพื่อรักษาความสามารถในการผลิต และต้องรองรับข้อกำหนดในการเว้นระยะห่างทางสังคมไปพร้อมๆ กัน พนักงานหลายคนต้องทำงานทั้งจากที่บ้านและจากสำนักงาน/ห้องปฏิบัติการ ความสามารถในการเปลี่ยนสู่วิถีใหม่อย่างรวดเร็วเป็นที่ชัดเจนแล้วว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ในช่วงเวลาที่มีความยากลำบากและการฟื้นฟูระดับความสามารถในการผลิตให้ดีขึ้นอีกครั้ง เราได้เฝ้าสังเกตสถานการณ์ของบริษัททั้งสามรูปแบบดังนี้

สถานการณ์ที่ 1 บริษัทที่ไม่ได้ลงทุน
บางบริษัทวางแผนที่จะปรับการทำงานของตนให้เข้ากับวิถีใหม่โดยการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและใช้การทำงานแบบเป็นกะ แนวทางนี้จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อประสิทธิภาพการทำงานทั่วทุกภาคส่วนขององค์กร นักวิทยาศาสตร์จะเข้าใช้ห้องปฏิบัติการได้น้อยลง ทำให้จำนวนการทดลองลดลง ทั้งยังไม่สามารถติดตามและสุ่มตัวอย่างการทดลองได้อีกด้วย (รวมถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหรือระบบล้มเหลว) เหตุนี้เองทำให้การพัฒนาต้องใช้เวลานานขึ้นอีก การสื่อสารภายในทีมและการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพก็ลดลงอย่างมาก ทำให้กำหนดเวลาในการทำงานล่วงเลยออกไปอีก

สถานการณ์ที่ 2 บริษัทที่ลงทุนในระหว่างดำเนินการฟื้นฟู
บริษัทหลายแห่งทราบดีว่าต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ บริษัทเหล่านี้จึงนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ ซึ่งช่วยให้บริษัทฟื้นตัวได้หลังเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดไปแล้ว แนวทางนี้ช่วยให้บริษัทมีระดับความสามารถในการผลิตที่สูงกว่าก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเลยทีเดียว การปรับการทำงานให้ทันสมัยจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตและประสิทธิภาพในการทำงานโดยจะมอบสภาพแวดล้อมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและพัฒนาความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ แนวทางนี้ยังช่วยปรับ CDMO ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในการทำงานและการสร้างข้อมูลของบริษัทยาขนาดใหญ่ต่างๆ อีกด้วย จึงช่วยให้มีโอกาสที่จะได้รับงานมากขึ้นและพัฒนาธุรกิจให้เติบโต

สถานการณ์ที่ 3 บริษัทที่ใช้ระบบอัตโนมัติ
ก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
บริษัทเหล่านี้มีระบบอัตโนมัติที่เป็นที่ยอมรับและกลยุทธ์การปรับใช้ระบบดิจิทัลของห้องปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นในทุกการทดลอง เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดแนวทางการทดลองอัจฉริยะนี้ยังช่วยให้สามารถทำงานและสุ่มตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาได้โดยไม่ต้องคอยดูแล รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องได้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและทำงานร่วมกันจากระยะไกลได้ด้วย ในกรณีนี้ ผลกระทบจากการปิดเมืองจะส่งผลเพียงระยะสั้นและไม่สร้างความเสียหายมากนัก แม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะประสบกับผลกระทบหลังจากการปิดเมืองในช่วงแรกไม่ต่างจากบริษัทอื่นๆ แต่บริษัทเหล่านี้ก็ฟื้นตัวกลับมาทำงานต่อได้รวดเร็วอย่างมาก (ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์) โดยสามารถปฏิบัติงานตามปกติต่อได้ในทันที เนื่องจากห้องปฏิบัติการของพวกเขาได้ใช้แนวทางแห่งอนาคต”
 

“ห้องปฏิบัติการด้านการวิจัยและพัฒนาจำเป็นต้องปรับให้ทันสมัยโดยใช้แนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นี่หมายความว่าเราได้มาถึงยุคของห้องปฏิบัติการแห่งอนาคตแล้วใช่หรือไม่

แน่นอนอยู่แล้วว่าคำตอบคือใช่

สิ่งนี้ได้กลายเป็นความจำเป็น ไม่ใช่แค่ความโก้หรูหรือมีไว้ก็ดีอีกต่อไป”

ผลิตภัณฑ์และระบบที่เกี่ยวข้อง