คู่มือ

คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง

คู่มือ

ควรปรับปรุงการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสงด้วยเครื่องวัดการหักเหของแสงแบบดิจิทัลอย่างไร

คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง - วิธีเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสงในแต่ละวัน
คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง - วิธีเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสงในแต่ละวัน

ดาวน์โหลดคู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสงฟรี เพื่อศึกษาวิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเมื่อตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง, BRIX, HFCS หรือความเข้มข้นของของเหลว รวมถึงวิธีเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้ เครื่องวัดการหักเหของแสงแบบดิจิทัล

คู่มือฉบับนี้จะอธิบายถึงสิ่งที่ควรระวังเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง, BRIX, HFCS หรือความเข้มข้นของของเหลว การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง โดยเนื้อหาจะพูดถึงหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การทดสอบและการปรับ: ระหว่างการทดสอบและปรับเป็นประจำ อย่างไรคือการดำเนินการที่ดีที่สุดควรทดสอบหรือปรับเครื่องวัดการหักเหของแสงบ่อยแค่ไหน และใช้สารประเภทใด ควรใช้ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ระดับใด
  • ตัวอย่าง: ตัวอย่างประเภทใดที่นำไปตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดการหักเหของแสงได้ ตัวอย่างใดที่ยากต่อการตรวจวัด และจะมีวิธีตรวจวัดอย่างไร สิ่งใดที่มีผลต่อการตรวจวัด
  • การสุ่มตัวอย่าง: ควรใช้กระบอกฉีดยาประเภทใด ควรหลีกเลี่ยงฟองอากาศอย่างไร ควรใช้ตัวอย่างมากน้อยแค่ไหน
  • การทำความสะอาด: ควรทำความสะอาดเซลล์อย่างไร ขึ้นอยู่กับตัวอย่างหรือไม่ ควรใช้ตัวทำละลายประเภทใด
  • การตรวจสอบยืนยันผลลัพธ์และการจัดทำเอกสาร: คุณสามารถตรวจจับข้อผิดพลาดสำหรับตัวอย่างสำคัญ/ที่มีปัญหาได้อย่างไร วิธีการแปลงผลลัพธ์เป็นหน่วยอื่นๆ หรือความเข้มข้นอื่นๆ สามารถตรวจสอบโดยอัตโนมัติว่าผลลัพธ์เป็นไปตามข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ (การควบคุมคุณภาพ) ได้อย่างไร

ดาวน์โหลดคู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง พร้อมรับเคล็ดลับและคำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเมื่อทำการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสงในของเหลว

1. การทดสอบและการปรับ

ความเชื่อโดยทั่วไปที่ว่าการปรับเครื่องมือบ่อยๆ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรงนั้นไม่เป็นความจริง การปฏิบัติงานการปรับย่อมทำให้การตั้งค่าเครื่องมือภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง
หากการปรับค่าไม่ถูกต้อง การตรวจวัดทั้งหมดที่ดำเนินการหลังจากนั้นจะผิดพลาด

แต่ควรตรวจสอบความแม่นยำของการตรวจวัดระบบอยู่เป็นประจำด้วยการตรวจวัดตัวอย่างที่มีความหนาแน่นที่ทราบแน่นอน (เช่น น้ำกลั่นหรือตัวอย่างมาตรฐาน) ซึ่งมีทั้งการทดสอบ การสอบเทียบ หรือการตรวจสอบ แทนการปรับเครื่องมือบ่อยๆ จากนั้นนำดัชนีการหักเหของแสงที่ตรวจวัดได้มาเปรียบเทียบกับค่าที่ระบุของตัวอย่าง

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง

 

การทดสอบแบบ One Click ที่ได้มาตรฐาน - วิดีโอ

ดูวิธีเรียกใช้การทดสอบที่ได้มาตรฐานเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องวัดความหนาแน่นหรือเครื่องวัดการหักเหของแสงยังทำงานได้ดีหรือไม่

การทดสอบ (การสอบเทียบ)

[…]

การปรับ

[…]

2. ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่มีเนื้อเหลวข้น

ตัวอย่างที่มีเนื้อเหลวข้น เช่น ซอสมะเขือเทศ มีความเสี่ยงที่จะเกิดฟองอากาศระหว่างปริซึมกับตัวอย่าง ตรวจสอบว่าตัวอย่างมีการสัมผัสกับปริซึมอย่างสมบูรณ์ด้วยการ “กด” ตัวอย่างลงไป
เครื่องวัดการหักเหของแสง RM ของ METTLER TOLEDO สามารถติดตั้งเข้ากับฝากดแบบติดตั้งได้อย่างง่ายดาย เมื่อปิดฝาแล้ว ตัวอย่างจะถูกกดเข้ากับปริซึมโดยอัตโนมัติ

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง

ตัวอย่างที่มีความเหนียว/หนืด

[…]

ตัวอย่างที่มีสารเคมีร้ายแรง

[…]

ตัวอย่างที่ระเหยได้

[…]

ตัวอย่างที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน/สารแขวนลอย

[…]

3. การเก็บตัวอย่าง

ด้วยกระบอกฉีดยา

ใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกกับทิป Luer หรือควรใช้กระบอกฉีดยาแบบ 3 ส่วนประกอบ (มีวงแหวนยางรูปตัว O) เนื่องจากสามารถควบคุมความเร็วได้ดีกว่ากระบอกฉีดยาแบบ 2 ส่วนประกอบที่มีราคาถูก

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง

หลีกเลี่ยงการเกิดฟองอากาศ

[…]

เพิ่มตัวอย่างในปริมาณที่เพียงพอ

[…]

การบรรจุอัตโนมัติ

[…]

4. การทำความสะอาด

ขั้นตอนการใช้เครื่องวัดการหักเหของแสงแบบแมนนวล

กำจัดตัวอย่างเก่าออกไป

หากต้องกำจัดตัวอย่าง (และตัวทำละลาย) ในเซลล์เครื่องวัดการหักเหของแสง แนะนำให้ใช้กระบอกฉีดยา “กระบอกฉีดยากำจัดของเสีย” สามารถใช้งานซ้ำได้ (เคล็ดลับ: ทำเครื่องหมายกระบอกฉีดยานี้ เช่น ติดด้วยเทปสีดำ) การใช้กระบอกฉีดยาจะช่วยประหยัดผ้าเช็ดทำความสะอาดแบบเนื้อนุ่มได้ และลดขยะได้อีกด้วย

ล้าง

ทำความสะอาดโดยใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมสองถึงสามครั้ง ตัวทำละลายจะต้องละลายตัวอย่างได้อย่างรวดเร็ว

  • เพิ่มตัวทำละลาย
  • คนให้เข้ากันด้วย “กระบอกฉีดยา”
  • กำจัดสารทั้งหมดด้วย “กระบอกฉีดยา”
  • ตัวทำละลายตัวที่สองซึ่งช่วยทำให้แห้งเร็ว (เช่น อะซิโตน) มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนอย่างมาก!

การทำให้แห้ง

เช็ดปริซึม/เซลล์ให้แห้งด้วยกระดาษทิชชูเนื้อนุ่ม รอ 10 วินาทีก่อนใส่ตัวอย่างถัดไป

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง

การทำความสะอาดด้วยอุปกรณ์อัตโนมัติ

[…]

5. การตรวจสอบยืนยันผลลัพธ์และการจัดทำเอกสาร

การแปลงผลลัพธ์อัตโนมัติ

บ่อยครั้งที่มีการใช้ตารางเพื่อแปลงผลลัพธ์ แต่การค้นหาหรือการประมาณค่าจากตารางนั้นกลับทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายและต้องใช้เวลานาน การแปลงอัตโนมัติด้วยตารางที่ติดตั้งในตัว (เช่น แอลกอฮอล์, Brix, การชดเชยอุณหภูมิตาม API) จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการอ่านหรือการคำนวณ รวมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย เครื่องวัดการหักเหของแสงแบบดิจิตอลรุ่นล่าสุดจะทำให้สามารถใช้ตารางเปรียบเทียบค่าที่ติดตั้งในตัวเพื่อแสดงผลลัพธ์ในหน่วยที่ต้องการได้โดยตรง เครื่องวัดการหักเหของแสง RM ของ METTLER TOLEDO ต้องดำเนินการตามตารางเปรียบเทียบหน่วย/ความเข้มข้นของผลลัพธ์ที่ติดตั้งในตัวดังต่อไปนี้

  • nD, Zeiss (14.45), Zeiss (15.00)
  • Brix, HFCS 42/55, น้ำตาลอินเวิร์ต, Oechsle
  • ตารางความเข้มข้นสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ได้ถึง 30 ตาราง (สามารถป้อนเป็นตารางหรือสูตรก็ได้)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดดัชนีการหักเหของแสง

การตรวจจับข้อผิดพลาด

[…]

ขีดจำกัดผลลัพธ์

[…]

การจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง

[…]

สินค้าที่เกี่ยวข้อง