คู่มือ

คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น

คู่มือ

คุณสามารถปรับปรุงการตรวจวัดความหนาแน่นด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิทัลได้อย่างไร

คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น - วิธีเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการตรวจวัดความหนาแน่นในแต่ละวัน
คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น - วิธีเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการตรวจวัดความหนาแน่นในแต่ละวัน

คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่นฉบับนี้จะอธิบายถึงสิ่งที่ควรระวังเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในการตรวจวัดความหนาแน่น ความถ่วงจำเพาะ หรือความเข้มข้นของของเหลว การปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการตรวจวัดความหนาแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใช้ เครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิทัล โดยมีเนื้อหาจะพูดถึงหัวข้อต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การทดสอบและการปรับ: ระหว่างการทดสอบและปรับเป็นประจำ อย่างไรคือการดำเนินการที่ดีที่สุดควรทดสอบหรือปรับเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิทัลบ่อยแค่ไหน และใช้สารประเภทใด ควรใช้ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ระดับใด
  • ตัวอย่าง: ตัวอย่างประเภทใดที่นำไปตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิทัล ตัวอย่างใดที่ยากต่อการตรวจวัด และจะมีวิธีตรวจวัดอย่างไร สิ่งใดที่มีผลต่อการตรวจวัด
  • การเก็บตัวอย่าง: ความแตกต่างระหว่างการเก็บตัวอย่างด้วยกระบอกฉีดยากับระบบบรรจุอัตโนมัติ ควรหลีกเลี่ยงฟองอากาศอย่างไร
  • การทำความสะอาด: ควรทำความสะอาดเซลล์อย่างไร ขึ้นอยู่กับตัวอย่างหรือไม่ ควรใช้ตัวทำละลายประเภทใด การทำความสะอาดที่ไม่ถูกต้องส่งผลต่อความแม่นยำในการตรวจวัดอย่างไร
  • การตรวจสอบยืนยันผลลัพธ์และการจัดทำเอกสาร: สามารถตรวจสอบว่าการตรวจวัดไม่ได้รับผลกระทบจากฟองอากาศหรือตัวทำละลายที่เหลือได้อย่างไร วิธีการแปลงผลลัพธ์เป็นหน่วยอื่นๆ หรือความเข้มข้นอื่นๆ สามารถตรวจสอบโดยอัตโนมัติว่าผลลัพธ์เป็นไปตามข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์ (การควบคุมคุณภาพ) ได้อย่างไร

ดาวน์โหลดคู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น พร้อมรับเคล็ดลับและคำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเมื่อทำการตรวจวัดความหนาแน่นของของเหลว

1. การทดสอบและการปรับ

ความเชื่อโดยทั่วไปที่ว่าการปรับเครื่องมือบ่อยๆ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่เที่ยงตรงนั้นไม่เป็นความจริง การปฏิบัติงานการปรับย่อมทำให้การตั้งค่าเครื่องมือภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง
หากการปรับค่าไม่ถูกต้อง การตรวจวัดทั้งหมดที่ดำเนินการหลังจากนั้นจะผิดพลาด

แต่ควรตรวจสอบความแม่นยำของการตรวจวัดระบบอยู่เป็นประจำด้วยการตรวจวัดตัวอย่างที่มีความหนาแน่นที่ทราบแน่นอน (เช่น น้ำกลั่นหรือตัวอย่างมาตรฐาน) ซึ่งมีทั้งการทดสอบ การสอบเทียบ หรือการตรวจสอบ แทนการปรับเครื่องมือบ่อยๆ จากนั้นนำค่าความหนาแน่นที่ตรวจวัดได้มาเปรียบเทียบกับค่าที่ระบุของตัวอย่าง

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น

 

การทดสอบแบบ One Click ที่ได้มาตรฐาน - วิดีโอ

ดูวิธีเรียกใช้การทดสอบที่ได้มาตรฐานเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องวัดความหนาแน่นหรือเครื่องวัดการหักเหของแสงยังทำงานได้ดีหรือไม่

การทดสอบ (การสอบเทียบ)

[…]

การปรับ

[…]

2. ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่มีความหนืด

โปรดระมัดระวังเมื่อทำการตรวจวัดตัวอย่างที่มีความหนืด และตรวจสอบว่าตัวอย่างไม่มีฟองอากาศขณะใส่เข้าไปใน Measuring Cells โดย Measuring Cells จะทำให้ตัวอย่างในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทอุ่นขึ้น และควรปล่อยทิ้งไว้สักครู่ก่อนทำการตรวจวัด ความหนืดของตัวอย่างจะลดลงเมื่ออุ่นขึ้นและช่วยไล่ฟองอากาศให้ออกไปได้ง่ายขึ้น

แรงเฉือนที่เกิดขึ้นเมื่อวัดตัวอย่างที่มีความหนืดใน Measuring Cells อาจทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง ค่าความหนาแน่นที่แสดงบนมิเตอร์มักจะสูงเกินปกติ เครื่องวัดความหนาแน่น DM ของ METTLER TOLEDO ทุกเครื่องสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดจากการตรวจวัดความหนืดของตัวอย่างได้โดยอัตโนมัติ หากเครื่องวัดความหนาแน่นมีการแก้ไขความหนืดดังกล่าว คุณควรเปิดใช้งานทุกครั้งหากต้องการได้รับความแม่นยำที่ดีที่สุดของตัวอย่างที่มีความหนืดสูงกว่า 25 mPa·s

อุปกรณ์อัตโนมัติ SC1 และ SC30 ของ METTLER TOLEDO สามารถจัดการกับตัวอย่างที่มีความหนืดได้ถึง 30,000 mPa·s (โดยประมาณแล้วจะเทียบเท่ากับน้ำผึ้ง) สำหรับตัวอย่างที่มีความหนืดสูงหรือแข็งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง (เช่น พาราฟิน) ก็สามารถใช้รุ่น SC1H และ SC30H ล่าสุดนี้ได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น

ตัวอย่างที่มีสารเคมีร้ายแรง

[…]

ตัวอย่างที่ระเหยได้

[…]

ตัวอย่างที่มีก๊าซละลายปนอยู่

[…]

ตัวอย่างที่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน/สารแขวนลอย

[…]

3. การเก็บตัวอย่าง

ด้วยกระบอกฉีดยา

การเก็บตัวอย่างด้วยมือโดยใช้กระบอกฉีดยามักจะขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเสมอ ซึ่งหมายความว่าอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ทำซ้ำได้ยาก และใช้เวลานาน ตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของคุณผ่านการฝึกอบรมและสามารถฉีดตัวอย่างได้อย่างถูกต้อง  

ห้ามบรรจุตัวอย่างใกล้กับเซลล์! การปนเปื้อนที่เป็นไปได้จะยังคงอยู่ในเซลล์และให้ผลการตรวจวัดที่ผิดพลาด:  

ตรวจดูว่าตัวอย่างอยู่ห่างออกมาจากเซลล์อย่างน้อย 10 เซนติเมตรเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนออกมา และเก็บเฉพาะตัวอย่างใหม่ในเซลล์เท่านั้น 

บรรจุ Measuring Cells ด้วยความเร็วต่ำและมีการไหลแบบราบเรียบ (5-10 เซนติเมตรต่อวินาที) เพื่อให้ได้การเปียกของผนังเซลล์อย่างสมบูรณ์ (ไม่มีฟองอากาศติดกับผนัง) ตรวจดูว่าไม่มีอากาศอยู่ในกระบอกฉีดยา ต้องกดลูกสูบอย่างช้าๆ และต่อเนื่องโดยไม่หยุด

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น

การบรรจุอัตโนมัติ

[…]

หลีกเลี่ยงการเกิดฟองอากาศ

[…]

การกำหนดการตรวจวัดความหนาแน่นแบบอัตโนมัติ - วิดีโอ

เปลี่ยนจากกระบอกฉีดยาไปสู่ระบบอัตโนมัติ SC1 เพื่อปรับปรุงการตรวจวัดความหนาแน่นของคุณ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน

4. การทำความสะอาด

การสะสมของผลิตภัณฑ์ที่ตรวจวัดได้ก่อนหน้านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ ตัวอย่างเช่น หากวัดผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำมันหรือไขมัน Measuring Cells อาจมีฟิล์มน้ำมันบางๆ มาเคลือบไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ควรทำความสะอาดเซลล์ด้วยสารละลายสำหรับล้างที่เหมาะสม (ดังที่จะอธิบายต่อไป) และทำให้แห้ง โดยเฉพาะหลังจากการตรวจวัดแต่ละครั้ง
หากตัวอย่างที่ตรวจวัดทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกันและสามารถทำให้สารตกค้างใน Measuring Cells ละลายได้ (เช่น เมื่อใช้เครื่องวัดความหนาแน่นในการตรวจวัดน้ำผลไม้ต่างๆ) ก็สามารถทำการเก็บตัวอย่างขนาดใหญ่เพิ่มได้ด้วยตัวอย่างใหม่เพื่อให้มั่นใจว่ามีการกำจัดตัวอย่างเก่าอย่างสมบูรณ์ (“การล้างเชิงวิเคราะห์”)

ข้อจำกัด:

  • ใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง (เช่น METTLER TOLEDO FillPal™) เนื่องจากการใช้กระบอกฉีดยาจะทำให้เก็บตัวอย่างซ้ำได้ยาก
  • จุ่มท่อเก็บตัวอย่างลงในตัวอย่าง จากนั้นให้ดึงออกมาเพื่อดูดอากาศเข้าไปในท่อ (อากาศประมาณ 2-3 ซม. ในท่อ) แล้วจุ่มท่อเก็บตัวอย่างลงในตัวอย่างอีกครั้ง ทำขั้นตอนนี้ซ้ำประมาณ 5 ครั้งก่อนที่จะบรรจุเซลล์เพื่อทำการตรวจวัด โดยขั้นตอนนี้จะทำให้มั่นใจได้ว่าตัวอย่างเก่าถูกล้างออกจากเซลล์อย่างถูกต้อง
  • ตรวจสอบขั้นตอนเพื่อให้มีความสามารถในการทำซ้ำได้และขีดจำกัดความผิดพลาด วัดตัวอย่างที่สำคัญที่สุดก่อน (ตัวอย่างเช่น ตัวอย่างที่มีปริมาณน้ำตาลสูงสุด) แล้วตามด้วยนํ้าที่ปราศจากไอออน จากนั้นทำขั้นตอนนี้ซ้ำสองสามครั้ง
  • หากตรวจวัดผลิตภัณฑ์ที่น้ำตาล ควรตรวจดูว่าภายในเซลล์ยังคงมีตัวอย่างหรือน้ำระหว่างการตรวจวัดหรือไม่เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวอย่างแห้งและเกิดผลึกน้ำตาลบนผนังเซลล์
  • ทำความสะอาด Measuring Cells และทำให้แห้งสนิท (ตามที่อธิบายด้านล่าง) อย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อวันทำงาน

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น

ล้าง

[…]

การทำให้แห้ง

[…]

การทำความสะอาดแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ

[…]

การกำหนดการตรวจวัดความหนาแน่นแบบอัตโนมัติ - วิดีโอ

เปลี่ยนจากกระบอกฉีดยาไปสู่ระบบอัตโนมัติ SC1 เพื่อปรับปรุงการตรวจวัดความหนาแน่นของคุณ เพิ่มความถูกต้องแม่นยำและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน

5. การตรวจสอบยืนยันผลลัพธ์และการจัดทำเอกสาร

การแปลงผลลัพธ์อัตโนมัติ

บ่อยครั้งที่มีการใช้ตารางเพื่อแปลงผลลัพธ์ แต่การค้นหาหรือการประมาณค่าจากตารางนั้นกลับทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายและต้องใช้เวลานาน การแปลงอัตโนมัติด้วยตารางที่ติดตั้งในตัว (เช่น แอลกอฮอล์, Brix, การชดเชยอุณหภูมิตาม API) จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการอ่านหรือการคำนวณ รวมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาอีกด้วย เครื่องวัดความหนาแน่นแบบดิจิตอลรุ่นล่าสุดจะทำให้สามารถใช้ตารางเปรียบเทียบค่าที่ติดตั้งในตัวเพื่อแสดงผลลัพธ์ในหน่วยที่ต้องการได้โดยตรง เครื่องวัดความหนาแน่น DM ของ METTLER TOLEDO ต้องดำเนินการตามตารางเปรียบเทียบหน่วย/ความเข้มข้นของผลลัพธ์ที่ติดตั้งในตัวดังต่อไปนี้

  • ความถ่วงจำเพาะ, องศา Baumé, T waddell
  • น้ำตาล: Plato, Brix (Emmerich, NBS 113), HFCS 42/55, Invert Sugar, KMW, Oechsle, Babo
  • แอลกอฮอล์: OIML, AOAC, Proof Degree, HM C&E, Gay Lussac
  • ปิโตรเลียม: ค่าแรงโน้มถ่วงและระดับ API สำหรับน้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์กลั่น และน้ำมันหล่อลื่น
  • ตารางความเข้มข้นสูงสุดที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ได้ถึง 30 ราย (สามารถป้อนเป็นตารางหรือสูตรก็ได้)

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน คู่มือการตรวจวัดความหนาแน่น

การตรวจจับข้อผิดพลาด

[…]

ขีดจำกัดผลลัพธ์

[…]

การจัดทำเอกสารที่ถูกต้อง

[…]

พบกับทักษะความรู้ในห้องปฏิบัติการและกลเม็ดเคล็ดลับเพิ่มเติม
ภาพรวม UserCom เคมีวิเคราะห์