คอลเลคชั่น

แมลงสำหรับมื้อเย็น

คอลเลคชั่น

Daniel Ambühl นักกีฏวิทยาชาวสวิสศึกษาเกี่ยวกับการทำฟาร์มแมลงและประโยชน์จากแมลงที่กินได้ ในโครงการที่ทำร่วมกับศาสตราจารย์ Jürg Grunder จาก Zurich University of Applied Sciences (ZHAW) เขาพยายามกำหนดสภาวะที่ดีที่สุดในการเพาะพันธุ์แมลงปีกแข็งที่ต่างกัน 4 ชนิด ในการดำเนินการ เขาได้เลือกใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดย METTLER TOLEDO

 

อาหารในอนาคตจะเป็นเช่นไร การเพิ่มขึ้นของประชากรและการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศทำให้เกิดความท้าทายในการผลิตอาหารระดับโลก Daniel Ambühl นักกีฏวิทยาชาวสวิสเชื่อว่าอาหารของคนในอนาคตจะมีแมลงรวมอยู่ด้วยเช่นกัน โดยการร่วมงานกับศาสตราจารย์ Jürg Grunder จาก Zurich University of Applied Sciences (ZHAW) เขาได้ริเริ่มโครงการที่เรียกว่า “อาหารจากไม้” เป้าหมายของการเริ่มต้นนี้คือการเพาะพันธุ์แมลงที่กินได้ซึ่งกินไม้เป็นอาหาร

“ความคิดของเราไม่ใช่การใช้อาหารหลัก เช่น ถั่วเหลืองหรือธัญพืชเพื่อผลิตโปรตีนคุณภาพสูงจากสัตว์ แต่เราจะใช้เศษไม้แทนเพื่อไม่เป็นการแย่งอาหารของมนุษย์” Daniel Ambühl อธิบาย Ambühl และ Grunder เริ่มศึกษาแนวคิดนี้แบบลงลึกในปี 2013 ในห้องปฏิบัติการ พวกเขาเลือกใช้เศษไม้เป็นอาหารให้กับตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งที่ต่างกัน 4 ชนิด ตอนแรกพวกเขาหมักไม้กับชิ้นส่วนของพืชในสารตั้งต้นที่เอาไว้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนของแมลงปีกแข็ง ตัวอ่อนจะเติบโตขึ้นจนได้ขนาดที่ต้องการในกล่องขนาดใหญ่ที่ใส่สารตั้งต้นไว้ “ช่วงที่นำตัวอ่อนมากินได้คือช่วงก่อนที่มันจะกลายเป็นดักแด้* ไม่นานนัก” Daniel Ambühl อธิบาย ในระยะนี้ ระบบทางเดินอาหารของแมลงจะว่างเปล่า ซึ่งจะปราศจากไม้ที่มนุษย์ไม่สามารถย่อยได้


 


 

Daniel Ambühl ใช้เครื่องวิเคราะห์ความชื้นของ METTLER TOLEDO เพื่อให้แน่ใจว่าสารอาหารตั้งต้นมีปริมาณความชื้นที่เหมาะสม

“สำหรับการทดลองของเรา การรู้ปริมาณความชื้นที่แน่นอนมีความสำคัญอย่างยิ่ง” Ambühl กล่าว “แม้ว่าตัวอ่อนจะชอบสภาพแวดล้อมที่ชื้น แต่สำหรับช่วงการเติบโตของแมลง สารตั้งต้นก็ไม่ควรมีความชื้นมากเกินไป”

เครื่องวิเคราะห์ความชื้นช่วยให้นักวิทยาศาสตร์กำหนดปริมาณความชื้นของสารตั้งต้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งทำให้มั่นใจถึงระดับที่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ พวกเขายังใช้เครื่องชั่งของ METTLER TOLEDO ในการชั่งน้ำหนักตัวอ่อนที่อยู่ในระยะของพัฒนาการต่างๆ อุปกรณ์ทั้งสองชิ้นช่วยให้พวกเขาดำเนินโครงการได้อย่างประสบความสำเร็จ


 

คาร์บอนฟุตพรินต์ที่ดีขึ้น

นอกจากการศึกษาสภาวะในการเพาะเลี้ยงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองคนยังพยายามทำให้ตัวอ่อนนี้ได้รับการอนุมัติให้เป็นแหล่งอาหารอีกด้วย แม้การกินแมลงจะเป็นเรื่องปกติในบางภูมิภาคของโลก แต่ Ambühl พบว่าบางภูมิภาคในโลกตะวันตกยังคงต่อต้านกับแนวคิดนี้ อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อมั่นว่าเมื่อเวลาผ่านไป พฤติกรรมการกินแมลงก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ ทั้งนี้ เขาได้รับการสนับสนุนจากรายงานที่ตีพิมพ์โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) FAO เน้นย้ำถึงความสำคัญของการทำให้แมลงเป็นแหล่งโปรตีนที่ยั่งยืนในขณะที่จำนวนประชากรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับการทำฟาร์มโคกระบือ หมู และแกะ การเพาะเลี้ยงแมลงไม่เพียงแต่ใช้พื้นที่น้อยกว่า แต่การทำฟาร์มแมลงยังมีฟุตพรินต์ทางระบบนิเวศน้อยกว่าอีกด้วย เนื่องจากแมลงสามารถให้ปริมาณโปรตีนได้เทียบเท่ากับปศุสัตว์แบบดั้งเดิมโดยใช้อาหารน้อยกว่า นอกจากนี้ แมลงยังสร้างก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายในปริมาณที่น้อยกว่าด้วย

“ถึงจะมีข้อมูลทั้งหมดนั้น แต่เราก็รู้ดีว่าเรายังมีเรื่องที่ต้องจัดการเพื่อให้ตัวอ่อนได้รับการอนุมัติเป็นแหล่งอาหารต่อไป” Daniel Ambühl กล่าว เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้ประโยชน์ ทีมวิจัยได้ลองนึกถึงการเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์จากแมลงด้วยการทำเป็นอาหารให้ไก่หรือปลาแทน อย่างไรก็ตาม Ambühl ยังคงมีวัตถุประสงค์หลักที่จะให้งานวิจัยของเขาเป็นประโยชน์กับการผลิตอาหารให้กับประชากรในโลกที่กำลังมีจำนวนเพิ่มขึ้น

* การเป็นดักแด้คือการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแมลงบางชนิดจากระยะที่ยังไม่โตเต็มวัยสู่ตัวเต็มวัย