คอลเลคชั่น

ประจุไฟฟ้าสถิตและผลกระทบต่อการชั่งน้ำหนัก

คอลเลคชั่น

วิธีจัดการกับตัวอย่างที่มีไฟฟ้าสถิตเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและแม่นยำ

ประจุไฟฟ้าสถิตและผลกระทบต่อการชั่งน้ำหนัก
ไฟฟ้าสถิตกับการชั่งน้ำหนัก


การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประจุไฟฟ้าสถิตและผลกระทบที่มีต่อตัวอย่างและภาชนะบรรจุที่ใช้ในการชั่งน้ำหนักเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้ได้ผลการชั่งน้ำหนักที่มีคุณภาพดี หากเป็นไปได้ ควรดำเนินการป้องกันเพื่อลดและกำจัดการก่อตัวของประจุไฟฟ้าบนตัวอย่างหรือภาชนะบรรจุที่ใช้ในการชั่งน้ำหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงผลการชั่งน้ำหนักที่ผิดพลาด ไม่เสถียร หรือช้ามาก

ไฟฟ้าสถิตคืออะไร

ไฟฟ้าสถิตคือการสะสมของประจุไฟฟ้าบนพื้นผิวของวัตถุที่ไม่นำไฟฟ้า

การจัดการกับตัวอย่าง

เทคโนโลยีการชั่งน้ำหนักแบบใหม่ที่ทันสมัยช่วยให้เครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์รุ่นล่าสุดตรวจจับประจุไฟฟ้าสถิตที่มีอยู่ในระหว่างการชั่งน้ำหนักได้โดยอัตโนมัติ โดยจะตรวจวัดและบันทึกขนาดของแรงดังกล่าวได้ ซึ่งสามารถกำจัดประจุไฟฟ้าสถิตเหล่านี้ได้โดยใช้โมดูลรวมสร้างประจุไอออน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการชั่งน้ำหนัก เนื่องจากรอบการตรวจจับไฟฟ้าสถิตจะดำเนินการในขณะที่เครื่องชั่งมีน้ำหนักนิ่งและใช้เวลาไม่กี่วินาที จึงไม่ทำให้เกิดความล่าช้าในการชั่งน้ำหนัก

ประโยชน์สำหรับผู้ใช้เครื่องชั่ง

StaticDetect™ ช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการกับตัวอย่างหรือภาชนะบรรจุที่มีประจุไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำให้กระบวนการชั่งของผู้ใช้เครื่องชั่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรับรองผลการชั่งน้ำหนักที่มีความแม่นยำสูงสุดและเชื่อถือได้มากที่สุด 

Electrostatic Charges During Weighingเอกสารไวท์เปเปอร์: ไฟฟ้าสถิตกับการชั่งน้ำหนัก


การชั่งน้ำหนักตัวอย่างหรือภาชนะบรรจุที่มีประจุไฟฟ้าสถิตอาจเป็นเรื่องยาก และมักก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความเสถียรของเครื่องชั่งหรือคลาดเคลื่อนของการตรวจวัด เอกสารไวท์เปเปอร์นี้จะอธิบายวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การป้องกันการสะสมตัวของประจุไฟฟ้าสถิต
  • การกระจายประจุไฟฟ้าสถิตหลังจากเกิดไฟฟ้าสถิตแล้ว
  • การทราบผลกระทบของประจุไฟฟ้าสถิตที่รบกวนการชั่งน้ำหนัก
  • การเลือกวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดไอออนในตัวอย่าง/ภาชนะบรรจุ
  • ซึ่งเครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์ XPR จะช่วยลดความยุ่งยากในการจัดการกับตัวอย่างที่มีประจุไฟฟ้าโดยใช้การตรวจจับและการกำจัดผลกระทบจากไฟฟ้าสถิต เพื่อรับรองว่าผลการชั่งน้ำหนักมีความแม่นยำสูงสุดและเชื่อถือได้มากที่สุด

    การทำความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต

    อะไรที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต

    แรงเสียดทานเป็นวิธีการที่พบบ่อยที่สุดทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิต เช่น

    • การเช็ดแห้งแก้วบีกเกอร์ด้วยผ้า
    • การใช้ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งกับขวดแก้ววัดปริมาตร
    • การเปิดห่อพลาสติกภาชนะชั่งในห้องปฏิบัติการ
    • การใส่วัสดุ (เทกอง) ในภาชนะ

    ทำอย่างไรจึงจะทราบว่ามีไฟฟ้าสถิต

    โดยทั่วไป จะทราบว่ามีไฟฟ้าสถิตได้จาก

    • เครื่องชั่งไม่นิ่ง
    • ค่าที่อ่านได้จากการตรวจวัดคลาดเคลื่อน
    • ผลการตรวจวัดไม่สามารถวัดซ้ำได้
    • อย่างไรก็ตาม ยังมีกรณีที่ค่าที่อ่านได้คงที่แม้จะมีแรงกระทำจากไฟฟ้าประจุสุทธิก็ตาม ซึ่งทำให้หาประจุไฟฟ้าสถิตได้ยากหรือหาไม่ได้เลย 

    ดาวน์โหลดคู่มือ "การทดสอบไฟฟ้าสถิต" เพื่อหาประจุไฟฟ้าสถิต

    ไฟฟ้าสถิตมีผลกระทบอย่างไร

    • ค่าที่ได้อาจมากหรือน้อยกว่าค่าน้ำหนักจริง (เพราะประจุที่เกิดขึ้นอาจเป็นลบหรือเป็นบวก และดูดเข้าหากันหรือผลักออกจากกัน)
    • มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นระหว่าง 1 - 100 มก. (ซึ่งสูงมากในกรณีที่ชั่งน้ำหนักตัวอย่างขนาดเล็ก)
    • ผงแห้งมีความไวต่อการเกิดประจุไฟฟ้าสถิตมาก จึงชั่งน้ำหนักได้ยาก

    ประจุไฟฟ้าสถิตกระจายได้รวดเร็วเพียงใด

    • ประจุไฟฟ้าสถิตจะกระจายเมื่อเวลาผ่านไป อัตราการกระจายเป็นผลมาจากการนำไฟฟ้าของพื้นผิววัตถุที่ได้รับประจุ ซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศและการปนเปื้อนบนพื้นผิว
    • การกระจายของประจุไฟฟ้าอาจใช้เวลาไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที หรืออาจนานหลายชั่วโมงในบรรยากาศแห้ง (RH <40%)
    • ฉนวนที่ดี เช่น แก้วบอโรซิลิเกตหรือพลาสติกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการอาจทำให้การกระจายประจุช้าลง
    • ขวดแก้วจะไม่เกิดประจุเมื่อมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 80%
    • อย่างไรก็ตาม สำหรับภาชนะบรรจุ PTFE ยังคงตรวจพบข้อผิดพลาดที่ชัดเจนในการชั่งน้ำหนักซึ่งแสดงให้เห็นเป็นเวลานานหลายนาที แม้ในกรณีที่มีความชื้นในอากาศสูงก็ตาม
    การกระจายของประจุไฟฟ้าสถิต
    การกระจายของประจุไฟฟ้าสถิต

    วิธีการควบคุมประจุไฟฟ้าสถิต

    ข้อแนะนำในการแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงมีดังต่อไปนี้

    การตรวจจับไฟฟ้าสถิตแบบอัตโนมัติ (StaticDetect™) คืออะไร

    กระบวนการทำงานของ Static Detect™ ใช้เวลานานเท่าใด

    รอบการตรวจจับประจุไฟฟ้าสถิตจะเริ่มโดยอัตโนมัติทันทีที่วางตัวอย่างลงบนเครื่องชั่งและปิดฝาตู้ครอบ และเนื่องจากรอบการตรวจจับไฟฟ้าสถิตจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับขั้นตอนการชั่งน้ำหนักและใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีซึ่งมักจะเป็นช่วงระยะเวลาที่น้ำหนักนิ่ง จึงไม่ทำให้เกิดความล่าช้าในการชั่งน้ำหนัก

    StaticDetect™ ทำงานอย่างไร

    ที่ใต้จานชั่งน้ำหนักซึ่งต่อกราวด์ไว้ จะมีอิเล็กโทรดแบบรวมศูนย์ติดตั้งอยู่ และใช้สัญญาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ สัญญาณคลื่นสี่เหลี่ยมครึ่งบวกจะสร้างประจุบวกที่อิเล็กโทรด (ก) สัญญาณคลื่นสี่เหลี่ยมครึ่งลบจะสร้างพาหะประจุลบที่อิเล็กโทรดขั้วลบ (ข) ความแตกต่างของผลการตรวจวัดระหว่างสองสถานการณ์ (ก และ ข) ก่อให้เกิดแรงประจุไฟฟ้าสถิต (FE ) ซึ่งจะมีค่าเท่ากับศูนย์ หากตัวอย่างหรือภาชนะบรรจุไม่มีประจุไฟฟ้าสถิต การใช้วิธีการนี้ทำให้เซ็นเซอร์หาน้ำหนักที่แท้จริงของตัวอย่างได้

    แรงดูด - ประจุไฟฟ้าสถิต
    แรงผลัก - ประจุไฟฟ้าสถิต
    เนื้อหาที่เกี่ยวข้องซึ่งคัดเลือกมาเพื่อคุณโดยเฉพาะ