กรณีศึกษา

การชั่งน้ำหนักแบบหาผลต่างวัดการตอบสนองของผึ้งต่อยาปราบศัตรูพืช

ห้องปฏิบัติการทดสอบในยุโรปติดตามความไวของผึ้งต่อผลิตภัณฑ์อารักขาพืชชนิดใหม่ตามแนวทางของ OECD

ห้องปฏิบัติการทดสอบทางการเกษตรแห่งหนึ่งได้ทำการศึกษาภาคสนามและในห้องปฏิบัติการเพื่อกำหนดความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสารเคมีทางเกษตรชนิดใหม่ๆ กับพืชประเภทต่างๆ ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ขึ้นชื่อเรื่องความเชี่ยวชาญในการทดสอบพืชหลังเก็บเกี่ยว ซึ่งได้พัฒนาสายผลิตภัณฑ์ระบบทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GLP/GEP ซึ่งครอบคลุมทั้งห้องปฏิบัติการ การศึกษาภาคสนามและการศึกษาร่วมกับการออกภาคสนาม โดยเน้นการศึกษาด้านนิเวศพิษวิทยา (ความเป็นพิษต่อระบบนิเวศ) ตลอดจนการทดสอบประสิทธิภาพและการทดสอบการตกค้าง 

ด้วยการจัดหาทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินผลิตภัณฑ์อารักขาพืช (PPP) ตัวใหม่ที่พัฒนาโดยลูกค้า จะมุ่งเน้นที่ผลกระทบของ PPP ต่อการอยู่รอด การพัฒนา และพฤติกรรมของผึ้ง เพื่อรักษาประชากรผึ้งที่มีสุขภาพดีและช่วยให้มีการผสมเกสรอย่างต่อเนื่องทั้งในผึ้งป่าและผึ้งเลี้ยง

ห้องปฏิบัติการทดสอบจะตรวจสอบพารามิเตอร์ PPP ต่างๆ ตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) การตรวจสอบเหล่านี้จะรวมถึงความเป็นพิษเฉียบพลันผ่านปากและการสัมผัส (OECD 213/214) รวมถึงการติดตามพฤติกรรมการกินในช่วง 10 วันที่ได้รับสารทางปาก (OECD 245) สำหรับขั้นตอนทั้งหมดนี้จะเก็บผึ้งไว้ในห้องปฏิบัติการภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น โดยจะมีการบันทึกการตายและพฤติกรรมในแต่ละวันที่เวลาเดียวกัน

การบริโภคอาหารเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับการประเมินแต่ละครั้ง ไม่เพียงแต่เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้สามารถคำนวณระดับการสัมผัส PPP ที่ปลอดภัยได้อีกด้วย

แต่ด้วยการทดสอบสารหลายชนิดอย่างต่อเนื่องแบบคู่ขนานนั้น ในแต่ละครั้งมีการทำซ้ำหลายครั้งในความเข้มข้นที่แตกต่างกันและมากกว่าหนึ่งวัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการจึงต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการรวบรวมและการจัดการข้อมูลและทำการติดต่อมาที่ METTLER TOLEDO เพื่อขอความช่วยเหลือ อุปกรณ์การชั่งน้ำหนัก Excellence และซอฟต์แวร์ห้องปฏิบัติการ LabX® ของ METTLER TOLEDO สนับสนุนกิจกรรมของพวกเขา โดยเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับและประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์เชิงนิเวศพิษวิทยา

สอบภามราคา

บันทึกข้อมูลอย่างละเอียด
นักวิทยาศาสตร์ใช้การชั่งน้ำหนักแบบหาผลต่างทั้งก่อนและหลังการให้อาหารผึ้งเพื่อตรวจสอบการบริโภคอาหาร สังเกตจำนวนผึ้งที่มีชีวิตในช่วงเริ่มต้นของการให้อาหารในแต่ละช่วง รวมถึงค่าเฉลี่ยของการบริโภคต่อวันสำหรับการให้อาหารแต่ละครั้ง ข้อมูลเหล่านี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณค่าเฉลี่ยในการดูดซึม PPP ต่อตัวผึ้งต่อวันได้ รวมไปถึงการดูดซึมสะสมของสารในช่วงการทดสอบ

เครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์แบบอ่านละเอียดระดับไมโคร XSR
เครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์แบบอ่านละเอียดระดับไมโคร XSR

บันทึกผลลัพธ์แบบอัตโนมัติ

ผู้เชี่ยวชาญของ METTLER TOLEDO ไม่เพียงแต่ช่วยในการตรวจวัดเท่านั้น แต่ยังจัดทำเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลอย่างเป็นระบบ พร้อมแนะนำเครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์แบบอ่านละเอียดระดับไมโคร XSR อีกด้วย เครื่องชั่งที่มีค่าอ่านละเอียดต่ำสุด 0.01 มิลลิกรัม จะมีความถูกต้องสูงที่จำเป็นเพื่อให้ได้ผลการชั่งน้ำหนักแบบหาผลต่างอันเข้มงวดอย่างง่ายดาย การเพิ่ม ซอฟต์แวร์ห้องปฏิบัติการ LabX ช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลการทดลองได้อย่างราบรื่นตลอดเวลา และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการออกแบบ SOP ที่ครอบคลุมเพื่อให้การตรวจวัดนั้นได้มาตรฐาน

การใช้ระบบใหม่นี้ช่วยลดอิทธิพลจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน และไม่มีการป้อนข้อมูลด้วยตนเองที่แสนจะน่าเบื่ออีกต่อไป LabX จะคำนวณผลลัพธ์และสร้างรายงานโดยอัตโนมัติ นักวิทยาศาสตร์จึงมีเวลาว่างสำหรับการทำงานอื่นๆ และเสริมความมั่นใจว่ามีการกำหนดความปลอดภัย PPP ไว้อย่างเหมาะสม
 

การตอบสนองต่อยาปราบศัตรูพืชของผึ้ง
การตอบสนองต่อยาปราบศัตรูพืชของผึ้ง

วิธีการมาตรฐานเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของสาร PPP

ในห้องปฏิบัติการ นักวิทยาศาสตร์จะเลี้ยงผึ้งด้วยสาร PPP ทดสอบที่ละลายในสารละลายซูโครสเพื่อตรวจสอบความเป็นพิษทางปากเฉียบพลัน (OECD 213/214) อัตราการตายจะได้รับการบันทึกเป็นเวลา 48 ถึง 96 ชั่วโมงและจะนำค่า LD50 มาคำนวณในภายหลัง

ในระหว่างการสัมผัสทางปากเรื้อรัง (OECD 245) ผึ้งอายุน้อยมีการสัมผัสกับสารละลายซูโครสในน้ำ 50% (w/v) ที่มีการทดสอบ PPP โดยการให้อาหารอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 10 วัน โดยจะมีการสังเกตและบันทึกการตายและความผิดปกติของพฤติกรรมทุกวันในเวลาเดียวกัน จากนั้นก็จะนำผลกระทบของ PPP เมื่อเวลาผ่านไปประเมินเทียบกับกลุ่มควบคุมเพื่อกำหนดความเข้มข้นของสารเคมีที่ทำให้ตายได้ (LC50), ปริมาณที่ทำให้ตายได้ (LDD50), ความเข้มข้นสูงสุดของสารเคมีที่ไม่ส่งผลให้ตายได้ (NOEC) และปริมาณสารอาหารสูงสุดที่ไม่ส่งผลให้ตายได้ (NOEDD)
 

ผลิตภัณฑ์และระบบที่เกี่ยวข้อง
คลังรายการ