วิธีการใช้งาน

การตรวจวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์

วิธีการใช้งาน

ทราบผลลัพธ์ที่เชื่อถือได้และสม่ำเสมอโดยเลือกเซ็นเซอร์ที่เหมาะกับการตรวจวัดค่า pH ของเนื้อ

ค่า pH ของเนื้อสัตว์
ค่า pH ของเนื้อสัตว์

กระบวนการตรวจวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์โดยทั่วไปต้องบดและผสมเนื้อจนเหลวข้นก่อนจึงจะตรวจวัดค่า pH ได้ อย่างไรก็ตามกระบวนการนี้ทำให้เกิดข้อผิดพลาดสูงดังนั้นจึงต้องใช้ทางเลือกอื่นการตรวจวัดวัดโดยตรงใช้วิธีเสียบเซ็นเซอร์วัดค่า pH ลงในตัวอย่างเนื้อ เซ็นเซอร์แบบดั้งเดิมนี้มีเมมเบรนแก้ววัดค่าทรงกลมที่ไม่สามารถเจาะเข้าเนื้อได้ หากพยายามใช้แรงกดให้เยื่อแก้วทะลุเข้าไปในตัวอย่าง เมมเบรนวัดค่านี้อาจเสียหายได้ การเสียบเข้าไปในตัวอย่างอาจทำให้เซ็นเซอร์อุดตันเนื่องจากจุดรวมสัญญาณเซรามิกถูกปิดกั้นโดยอนุภาคในตัวอย่าง เราจึงจำเป็นต้องใช้เซ็นเซอร์พิเศษสำหรับวัดค่า pH ของตัวอย่างเนื้อ

InLab Solids Pro-ISM ของ METTLER TOLEDO เป็นเซ็นเซอร์พิเศษสำหรับการตรวจวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์ที่มีความถูกต้องและเที่ยงตรง โดยเซ็นเซอร์นี้มีมีปลายแหลมที่ทำจากกระจกอบแข็ง ซึ่งช่วยให้เสียบเข้าในตัวอย่างเนื้อได้โดยตรงและทนทานต่อการแตกหัก ระบบอ้างอิงโพลิเมอร์ XEROLYT®EXTRA ที่ทนทานและไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อยมีจุดเปิดรวมสัญญาณแบบป้องกันการอุดตัน ซึ่งช่วยลดการเกาะของโปรตีน การออกแบบมาเป็นพิเศษและเทคโนโลยีเซ็นเซอร์โดยรวมของ InLab Solids Pro-ISM สร้างความมั่นใจให้การตรวจวัดตัวอย่างเนื้อที่มีความแข็ง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรับรองความน่าเชื่อถือและความสม่ำเสมอในการรักษาคุณภาพของเนื้อสัตว์

ดาวน์โหลดเอกสารการใช้งานของเราได้ฟรีเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีในการใช้เซ็นเซอร์ของ METTLER TOLEDO วัดค่า pH ของเนื้อสัตว์เพื่อปรับปรุงคุณภาพ

หัวข้อต่อไปนี้ประกอบด้วยคำถามและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ พร้อมทั้งความสำคัญของการตรวจวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์

 

การตรวจวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์ทำอย่างไร?

โปรดดูวิดีโอด้านล่างนี้เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจวัดคุณภาพของเนื้อสัตว์

 

ปัจจัยที่บ่งบอกคุณภาพของเนื้อสัตว์มีอะไรบ้าง?

ค่า pH ของเนื้อสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้บ่งบอกความสด รสชาติ และคุณภาพโดยรวมของเนื้อสัตว์ ในตัวอย่างเนื้อสัตว์ ตัวแปรภายใน เช่น ค่า pH, ความสามารถในการจับกับน้ำ, ปริมาณเกลือ และอุณหภูมิ จะเป็นตัวกำหนดความน่ารับประทาน ความสด และโอกาสที่จุลินทรีย์จะเติบโต

ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ต่างๆ มีค่า pH เท่าใดบ้าง?

ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ค่า pH ของผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
ไส้กรอกหมักดิบ4.8 ถึง 6.0
เนื้อวัว5.4 ถึง 6.0
เนื้อหมู5.5 ถึง 6.2
เนื้อกระป๋อง5.8 ถึง 6.2
เนื้อหมักน้ำเกลือ
6.2 ถึง 6.4
เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ7.0 ถึง 7.2

ทำไมการตรวจว่าค่า pH ของเนื้อสัตว์จึงสำคัญ?

เนื้อสดมีค่า pH อยู่ในช่วง 5.5-6.2 ซึ่งจะลดลงเมื่อมีการเก็บถนอมที่ไม่ดีและการจัดเก็บที่ไม่เหมาะสม ส่วนการลดลงของค่า pH จะสัมพันธ์กับสีและพื้นผิวของเนื้อสัตว์ ลักษณะไม่พึงประสงค์ 2 ประการที่เกิดขึ้นในเนื้อสัตว์คือ มีสีซีด เนื้อเหี่ยว มีของเหลวเยิ้ม (PSE) และมีสีเข้ม เนื้อแน่น แห้ง (DFD) ลักษณะทั้งสองนี้ทำให้เนื้อสัตว์ไม่น่ารับประทาน ดังนั้นการวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาคุณภาพของเนื้อ

ดาวน์โหลดเอกสารการใช้งานของเราได้ฟรี เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อดีของการใช้เซ็นเซอร์ของ METTLER TOLEDO ในการตรวจวัดค่า pH ของเนื้อสัตว์

 

Library Literature
ภาพรวม UserCom เคมีวิเคราะห์