วิธีการใช้งาน

การตรวจวัดค่า pH ของครีม

วิธีการใช้งาน

เลือกเซ็นเซอร์ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการตรวจวัดค่า pH ของครีม

ค่า pH ของครีม
ค่า pH ของครีม

การตรวจวัดค่า pH ของครีมโดยใช้เซ็นเซอร์แบบทั่วไปมักเกี่ยวเนื่องกับความท้าทายหลายประการ เช่น ระยะเวลาตอบสนองที่นานหรือค่าที่อ่านได้มีความผันผวน ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการผสมเข้ากันที่จำกัดระหว่างอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นน้ำกับตัวอย่างที่มีไขมันสูง หรือการอุดตันของหัวต่อเนื่องจากตะกอนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างอิเล็กโทรไลต์กับตัวอย่างที่อุดมด้วยโปรตีน ซึ่งส่งผลให้อิเล็กโทรไลต์ไหลออกได้ไม่มากพอ การอุดตันอาจเกิดจากอนุภาคกึ่งของแข็งจากตัวอย่างที่อุดตันบริเวณหัวต่อได้เช่นกัน นอกจากนี้ ในกรณีที่ไม่ได้ทำความสะอาดให้ทั่วถึง ค่าที่อ่านได้อาจเกิดความผันผวนจากการสะสมของตัวอย่างตกค้างก่อนหน้านี้ได้ ในกรณีรุนแรง อาจนำไปสู่การสะสมคราบสกปรกบริเวณเซ็นเซอร์และทำให้อายุการใช้งานสั้นลง ด้วยเหตุนี้การตรวจวัดค่า pH ของตัวอย่างครีมด้วยเซ็นเซอร์แบบทั่วไปจึงทำได้ยาก และมักทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่คงเส้นคงวาด้วย

InLab Solids Pro-ISM ของ METTLER TOLEDO เป็นเซ็นเซอร์ชนิดพิเศษสำหรับการบันทึกค่า pH ของตัวอย่างครีมได้อย่างเที่ยงตรงแม่นยำ เมมเบรนตรวจจับทรงแหลมจะทำให้เสียบเข้าไปในตัวอย่างที่เป็นของแข็งและกึ่งของแข็งได้ง่าย ระบบอ้างอิงพอลิเมอร์ XEROLYT®EXTRA ที่เสถียรมีหัวต่อแบบเปิดที่ต้องการการบำรุงรักษาน้อยและไร้การอุดตัน ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด ARGENTHAL™ ซึ่งเป็นระบบอ้างอิงที่ได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น จะช่วยป้องกันการชะละลายของซิลเวอร์ไอออนลงไปในอิเล็กโทรไลต์ จึงป้องกันไม่ให้มีการอุดตันของหัวต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างซิลเวอร์ไอออนที่ชะละลายกับซัลไฟด์หรือโปรตีน

หากต้องการทราบข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซ็นเซอร์นี้ รวมถึงข้อดีของเซ็นเซอร์เมื่อใช้ในการตรวจวัดค่า pH ในครีม โปรดดาวน์โหลดเอกสารการใช้งานดังต่อไปนี้

ส่วนต่อจากนี้จะเน้นถึงความสำคัญของครีมที่เป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตครีม และความสำคัญของการตรวจวัดค่า pH ของครีม

ครีมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมมีความสำคัญอย่างไร?

มีการนำครีมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมากมายหลายแขนงด้วยกัน ครีมจะให้รสสัมผัสที่นุ่มและเพิ่มรสชาติให้กับผลิตภัณฑ์นมสดอย่างไอศกรีมและชีสสเปรด อุตสาหกรรมผลิตช็อกโกแลตและบิสกิตก็มีการใช้ครีมอย่างแพร่หลาย ส่วนอุตสาหกรรมขนมปังและขนมอบต่างก็ต้องพึ่งพารสชาติและความสามารถในการทำให้เกิดอิมัลชันของครีม

ครีมผลิตขึ้นอย่างไร?

กระบวนการผลิตครีมประกอบด้วย 5 ขั้นตอนพื้นฐาน โดยเริ่มจากการแยกไขมันนมในเครื่องแยกครีมด้วยแรงหนีศูนย์ ขั้นตอนถัดไปคือการเทียบมาตรฐานไขมันเพื่อให้ได้ปริมาณไขมันตามที่ต้องการ ตามด้วยการทำให้เป็นเนื้อเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะได้รับการนำไปผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ก่อโรคโดยไม่ทำให้คุณภาพสำคัญของครีมเสียหาย สุดท้ายก็จะนำครีมไปผ่านกระบวนการบ่ม ซึ่งจะช่วยเพิ่มรสชาติให้ถึงขีดสุดและป้องกันการผลิตกรดแล็กติก

เหตุใดการตรวจวัดค่า pH ของครีมจึงสำคัญ?

มีการใช้ครีมประเภทต่างๆ ในผลิตภัณฑ์จากนมหลายชนิดอย่างไอศกรีม ช็อกโกแลต ชีสสเปรด เป็นต้น การตรวจสอบค่า pH ของครีมเป็นพารามิเตอร์สำคัญที่มีบทบาทในการรักษาคุณภาพและความสม่ำเสมอของครีม การควบคุมค่า pH ของครีมช่วยสร้างรสชาติและความข้นเหลวเฉพาะตัวให้กับผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่างเช่น การทำเนยหวานจากครีมพาสเจอไรซ์จำเป็นต้องควบคุมค่า pH ให้อยู่ระหว่าง 6.70 ถึง 6.85 ขณะที่การทำเนยเปรี้ยวจะต้องปรับครีมให้มีความเป็นกรดโดยมีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.6 ถึง 5.0 ด้วยเหตุนี้การตรวจวัดค่า pH ของครีมจึงสำคัญ

Know How