การตรวจวัดปริมาณเกลือในอาหาร

วิธีการวัดปริมาณเกลือ โซเดียม คลอไรด์ และแร่ธาตุ

สอบภามราคา
การตรวจวัดปริมาณเกลือในอาหาร
การตรวจวัดปริมาณเกลือในอาหาร

    

คู่มือการวัดปริมาณเกลือ
วิธีการตรวจวัดปริมาณโซเดียมและเกลือ

การไทเทรตคลอไรด์ไอออนด้วยวิธีอาร์เจนโตเมทริก

  • วิธี: การไทเทรต Cl- ด้วยวิธีอาร์เจนโตเมทริก
  • ประเภทสารที่วิเคราะห์: Cl- ไอออน
  • ช่วงความเข้มข้นของสารที่วิเคราะห์: ppm ถึง 100%

วิธีการไทเทรตที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดสำหรับวัดปริมาณเกลือจะกระทำโดยอิงการตรวจวัดปริมาณคลอไรด์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "การไทเทรตแบบอาร์เจนโตเมทริก" เนื่องจากเป็นวิธีที่จะนำซิลเวอร์ไนเตรท (AgNO3) มาใช้เป็นเป็นไทแทรนท์ โดยเป็นวิธีที่ใช้ทั่วไปในห้องปฏิบัติการอาหาร

ซิลเวอร์ไอออน (Ag+) จะตกตะกอนโดยแยกตัวออกจากสารละลายเมื่อทำปฏิกิริยากับ Cl- ไอออน และเมื่อคลอไรด์ที่มีทั้งหมดถูกทำลายไปเมื่อทำปฏิกิริยากับ Ag+ ค่าศักย์ไฟฟ้าในภาชนะไทเทรตก็จะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการสะสมของ Ag+ ไอออนที่ละลายอยู่ในตัวอย่างสารละลาย ปฏิกิริยานี้จะเป็นตัวบ่งชี้ให้สิ้นสุดการไทเทรต และกระตุ้นการคำนวณปริมาณเกลือ (ตามเงื่อนไขที่ว่าคลอไรด์ทั้งหมดในตัวอย่างสารได้มาจาก NaCl)

แม้ว่าการวัดปริมาณคลอไรด์จะทำได้รวดเร็วและไม่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะทางใดๆ แต่วิธีนี้ก็จะใช้ไม่ได้กับโซเดียมไอออนที่ได้มาจากธาตุทางเคมีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ NaCl ตามที่ระบุไว้ข้างต้น นั่นหมายความว่า วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับการวิเคราะห์เกลือในทุกประเภท แม้ว่าจะได้ผลในหลายๆ กรณีก็ตาม

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือที่กล่าวถึงเป็นการใช้เครื่องไทเทรตจาก METTLER TOLEDO

การวัดปริมาณโซเดียมผ่านการเติมสารมาตรฐานหลายครั้ง (MSA)

  • วิธี: การวิเคราะห์โซเดียมในอาหารโดยใช้การเติมสารมาตรฐานหลายครั้ง
  • ประเภทสารที่วิเคราะห์: Na+ ไอออน
  • ช่วงความเข้มข้นของสารที่วิเคราะห์: ppm ถึง 100%

การเติมสารมาตรฐานหลายครั้งจะช่วยตรวจจับโซเดียมภายในเมทริกซ์ของตัวอย่างได้แม้ในปริมาณที่น้อยถึง 0.1 มิลลิกรัม/ลิตร (4.7•10−6 M) สารละลายมาตรฐานโซเดียมเพียงปริมาณเล็กน้อยจะถูกจ่ายลงในสารตัวอย่างต่อเนื่องหลายครั้งเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของโซเดียม ความต่างศักย์ที่ได้จากสารมาตรฐานที่เพิ่มเข้าไปในปริมาณที่กำหนดไว้ชัดเจนจะใช้เพื่อระบุความเข้มข้นของโซเดียมในตัวอย่างสารผ่านอัลกอริทึมการประเมินซ้ำตามสมการ Nernst

ข้อสำคัญคือการตรวจวัดโดยใช้ MSA จะสามารถกระทำได้ใกล้ขีดจำกัดการตรวจจับโดยเครื่องมือจะให้ความถูกต้องแม่นยำที่สูงแต่จะส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิด้วย ผู้ปฏิบัติงานจะต้องทราบความหนาแน่นของตัวอย่างสารโดยประมาณก่อนดำเนินการวิเคราะห์ทางเคมีเพื่อจะได้เตรียมตัวอย่างสารให้เหมาะสมและเพื่อใช้ปริมาณตัวอย่างสารอย่างคุ้มค่าที่สุด

ตัวอย่างการใช้งานเครื่องมือที่กล่าวถึงเป็นการใช้งานเครื่องวิเคราะห์โซเดียม Easy Na หรือเครื่องไทเทรตรุ่น Excellence (รวมถึงระบบอัตโนมัติ) จาก METTLER TOLEDO

การไทเทรตโซเดียมไอออนเชิงความร้อน

  • วิธี: การไทเทรต Na+ เชิงความร้อน
  • ประเภทสารที่วิเคราะห์: Na+ ไอออน
  • ช่วงความเข้มข้นของสารที่วิเคราะห์: 100 ppm ถึง 100%

การไทเทรตเชิงความร้อนเพื่อหาปริมาณโซเดียมไอออนเป็นวิธีทางเลือกในการระบุปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างแม่นยำ การไทเทรตเชิงความร้อนต้องอาศัยสูตรทางเคมีของ Elpasolite หรือ NaK2AlF6 ซึ่งมีคุณสมบัติคายความร้อนได้สูง ความร้อนที่เพิ่มขึ้นสามารถวัดได้จากโพรบวัดอุณหภูมิที่คืนสภาพได้สูงและจะสามารถใช้เพื่อระบุปริมาณ Na+ ไอออนที่อยู่ในตัวอย่างสารแรกเริ่มได้ด้วย

ปฏิกิริยาจะดำเนินต่อไปโดยมีแอมโมเนียมฟลูออไรด์หรือแอมโมเนียมไฮโดรเจนไดฟลูออไรด์ (NH4F, NH4HF2) ก่อตัวอยู่ โดยผู้ปฏิบัติการควรปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมเนื่องจากแอมโมเนียมฟลูออไรด์มีฤทธิ์กัดกร่อนที่เป็นพิษ

เครื่องมือที่เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ประเภทนี้ ได้แก่ เครื่องไทเทรต Excellence และอิเล็กโทรดวัดอุณหภูมิจาก METTLER TOLEDO

การตรวจวัดปริมาณโซเดียมโดยตรง

  • วิธี: การตรวจวัดปริมาณ Na+ โดยตรงด้วย ISE
  • ประเภทสารที่วิเคราะห์: Na+ ไอออน
  • ช่วงความเข้มข้นของสารที่วิเคราะห์: ppm ถึง 100%

ระดับโซเดียมในอาหารซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะอยู่ในสารละลายชนิดน้ำจะสามารถวัดได้โดยตรงโดยการใช้ ISE ร่วมกับเครื่องไทเทรตหรือไอออนมิเตอร์ ความแม่นยำจะขึ้นอยู่กับการใช้กราฟมาตรฐานเพื่อระบุความเข้มข้นของตัวอย่างสารภายใต้เงื่อนไขที่ว่าการตอบสนองของอิเล็กโทรดของตัวอย่างสารและสารละลายมาตรฐานนั้นเท่ากัน ชุดสารเจือจางมาตรฐานโซเดียมจะใช้เพื่อจุดประสงค์นี้

เมื่อใช้วิธี MSA ค่าศักย์ที่ตรวจจับได้จะมีสัดส่วนสอดคล้องกับค่ากัมมันตภาพของไอออนในสารละลาย รวมถึงสอดคล้องกับความเข้มข้นของสารละลายด้วย ภายหลังจากการตรวจวัดปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ร่วมด้วยจะสามารถคำนวณความเข้มข้นของไอออนของตัวอย่างสารและแสดงผลได้โดยอัตโนมัติ

เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์นี้คือไอออนมิเตอร์ที่ใช้คู่กับอิเล็กโทรดแบบเจาะจงไอออนจาก METTLER TOLEDO

วิธีอื่นๆ ในการวัดปริมาณเกลือ

ปริมาณเกลือ โซเดียม ไอออน และแร่ธาตุยังสามารถวัดได้ด้วยเทคนิคอื่นๆ โดยมีความเฉพาะที่แตกต่างกันไป สำหรับการใช้งานจำพวกการระบุ NaCl หรือแร่ธาตุทั้งหมดของเกลือ ผู้ปฏิบัติก็ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะใดๆ  

ทั้งนี้ วิธีอื่นๆ เพิ่มเติมที่สามารถนำมาใช้วัดปริมาณคลอไรด์ โซเดียม หรือแร่ธาตุ ได้แก่

หลักการตรวจวัด

LOQ

RSD

การไทเทรตคลอไรด์ไอออนด้วยวิธีอาร์เจนโตเมทริก

35 ppm

1%

การเติมสารละลายมาตรฐานหลายครั้ง (MSA)

< 1 ppm

1%

การไทเทรตโซเดียมไอออนเชิงความร้อน

100 ppm

2%

การตรวจวัดปริมาณโซเดียมโดยตรง

< 1 ppm

4%

 

การใช้งานในห้องปฏิบัติการเฉพาะทางสำหรับการผลิตอาหาร
การใช้งานในห้องปฏิบัติการเฉพาะทางสำหรับการผลิตอาหาร

การประยุกต์ใช้งาน

ผลิตภัณฑ์และระบบที่เกี่ยวข้อง

คำถามที่พบบ่อย