ReactIR | สเปกโตรมิเตอร์ FTIR

อุปกรณ์สเปกโตรสโคปี FTIR แบบ In situ เพื่อการพัฒนากระบวนการที่เสถียร ขยายปริมาณได้ และสม่ำเสมอ

สเปกโตรมิเตอร์ FTIR รุ่น ReactIR 701

ReactIR 701L

ไนโตรเจนเหลว MCT

เครื่องตรวจจับความไวสูงที่มีเวลาทำงานมากกว่า 24 ชั่วโมงสำหรับรูปแบบการใช้งานที่ทนทาน อ่านเพิ่มเติม

สเปกโตรมิเตอร์ FTIR รุ่น ReactIR 702

ReactIR 702L

MCT ที่ให้ความเย็นด้วยระบบ TE

การให้ความเย็นแก่เครื่องตรวจจับโดยใช้ของแข็งจะให้ประสิทธิภาพสูงโดยไม่ต้องใช้ไนโตรเจนเหลว อ่านเพิ่มเติม

สเปกโตรมิเตอร์กระบวนการ FTIR รุ่น ReactIR 45p

ReactIR 45P

กระบวนการ FTIR

ถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยาไปยังขอบเขตการทำงานต่างๆ จากห้องปฏิบัติการสู่พื้นที่โรงงานส่วนต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

สเปกโตรสโคปี FTIR อเนกประสงค์

FTIR สำหรับการขยายปริมาณจากห้องปฏิบัติการสู่โรงงานผลิต

โซลูชันจากห้องปฏิบัติการสู่โรงงาน

ขนาดกะทัดรัด ติดตั้งในฝาปิดกันควันได้ เป็นไปตามมาตรฐาน ATEX สำหรับติดตั้งในโรงงาน และมีเทคโนโลยีการเก็บตัวอย่างเพื่อเก็บตัวอย่างจากปฏิกิริยาหรือกระบวนการใดๆ คุณสามารถใช้ ReactIR เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงงานตรงกับสิ่งที่คุณสังเกตเห็นในห้องปฏิบัติการ

One Click Analytics

One Click Analytics™

ซอฟต์แวร์ iC IR ออกแบบมาเพื่อวิเคราะห์ปฏิกิริยา Time-Resolved โดยเฉพาะ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างอัลกอริทึมเก็บจุดสูงสุดของข้อมูลกับความสามารถในการเรียนรู้หมู่ฟังก์ชันเพื่อลดเวลาในการวิเคราะห์ลงอย่างมาก อ่านเพิ่มเติม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ปฏิกิริยา

ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ปฏิกิริยา

METTLER TOLEDO เป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ปฏิกิริยาโดยเฉพาะมากว่า 30 ปี และนี่คือสิ่งที่เรามุ่งมั่นและหลงใหล เราสร้างสเปกโตรมิเตอร์ FTIR ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ด้วยความเชี่ยวชาญที่เรามี

ระหว่าง FTIR กับรามาน อะไรเหมาะสำหรับการใช้งานของฉันมากกว่า?

สเปกโตรสโคปีรามานและ FTIR ให้ข้อมูลเชิงโมเลกุลเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของตัวอย่างทางเคมีและชีวภาพ เนื่องจากเทคโนโลยีทั้งสองมีหลักการพื้นฐานในการควบคุมเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ทั้งสองจึงสามารถให้ข้อมูลเสริมกันได้ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของรูปแบบการใช้งาน

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกโทรสโกปีรามานและ FTIR

สเปกโตรมิเตอร์ FTIR ใช้สำหรับอะไร?

สเปกโตรสโคปีแบบ Fourier Transform Infrared (FTIR) ใช้ในห้องปฏิบัติการทั้งทางอุตสาหกรรมและทางวิชาการ เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างโมเลกุลของวัสดุ ตลอดจนจลนศาสตร์ กลไก และวิถีในปฏิกิริยาทางเคมีและวงจรแคตตาไลติกได้ดียิ่งขึ้น สเปกโตรสโคปี FTIR ช่วยในการทำความเข้าใจโครงสร้างของแต่ละโมเลกุลและองค์ประกอบของสารผสมโมเลกุล สเปกโตรสโคปี FTIR มีการใช้งานและความสามารถในการนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการวิเคราะห์โมเลกุลที่สำคัญในอุตสาหกรรมยา เคมี และโพลิเมอร์

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกโทรสโคปี FTIR

สเปกโทรสโคปี FTIR คืออะไร?

Fourier Transform Infrared (FTIR) เป็นสเปกโตรสโคปีอินฟราเรด (IR) ชนิดหนึ่งที่มีมาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว โดยเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบตัวอย่างที่มีองค์ประกอบที่ไม่รู้จัก FTIR เป็นเทคนิคสเปกโตรสโคปีแบบออพติคัลที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยนักวิทยาศาสตร์ในสถาบันการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม สเปกโตรสโคปีอินฟราเรดใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริงที่ว่าพันธะระหว่างอะตอมกับอะตอมจะสั่นที่ความถี่เฉพาะ

เมื่อพลังงานที่ประกอบด้วยหลายความถี่ (เช่น พลังงานจากแหล่งกำเนิดอินฟราเรด) เข้าสู่การสั่นสะเทือนของโมเลกุลเหล่านี้ การดูดกลืนพลังงานอินฟราเรดจะเกิดขึ้นที่ความถี่การสั่นสะเทือนระดับโมเลกุลเดียวกัน เมื่อวาดกราฟความเข้มของการดูดกลืนแสงตามช่วงความถี่ต่างๆ ขึ้นมา ก็จะได้ผลลัพธ์ของสเปกตรัมอินฟราเรด นอกจากนี้ พันธะประเภทต่างๆ (เช่น พันธะคู่ พันธะสาม) และอะตอมที่ต่างกัน (เช่น C–O, C–H, C–N เป็นต้น) ต่างก็มีความถี่ในการสั่นสะเทือนจำเพาะ

ความจำเพาะของความถี่ในการสั่นสะเทือนเหล่านี้อาจเปรียบได้เป็นลายนิ้วมือของพันธะระหว่างอะตอมกับอะตอมที่ก่อให้เกิดเป็นโมเลกุลที่กำหนด ลายนิ้วมือนี้ทำให้สามารถระบุโมเลกุลหรือสารประกอบในส่วนผสมได้ และยังตรวจจับการสร้างและการแยกตัวของพันธะเคมีที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยาได้อีกด้วย

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกโทรสโคปี FTIR

IR และ FTIR แตกต่างกันอย่างไร?

FTIR (Fourier Transform Infrared) เป็นสเปกโตรสโคปี IR (อินฟราเรด) ชนิดหนึ่งที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบการสั่นสะเทือนของโมเลกุลได้ โดยปกติแล้ว สเปกโตรสโคปีอินฟราเรดเป็นเทคนิคการกระจาย โดยจะอาศัยเทคโนโลยีอย่างเช่น โมโนโครเมเตอร์ เพื่อสแกนข้ามความยาวคลื่นของสเปกตรัมอินฟราเรด FTIR ทำให้ความยาวคลื่นของแสงทั้งหมดได้รับการวัดค่าพร้อมกันโดยใช้อินเตอร์เฟียโรมิเตอร์ จากนั้นจะได้สเปกตรัมอินฟราเรดผ่านการแปลงทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า การแปลงฟูเรียร์ เนื่องจากความยาวคลื่นทั้งหมดได้รับการวัดค่าพร้อมกัน FTIR จึงสามารถรวบรวมสเปกตรัมได้เร็วกว่าเทคนิคการสแกนมาก

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปกโทรสโคปี FTIR