กรณีศึกษา

เทคโนโลยี MCE ที่โรงไฟฟ้าของสหรัฐฯ

กรณีศึกษา

การตรวจสอบคลอไรด์และซัลเฟตที่โรงไฟฟ้า Nearman Creek

การตรวจสอบคลอไรด์และซัลเฟตอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยี microfluidic capillary electrophoresis (MCE) ให้วิธีการที่ได้ผลในการควบคุมผลกระทบสารปนเปื้อนบางชนิดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนมากที่สุดในน้ำในโรงไฟฟ้า กรณีศึกษานี้อธิบายข้อได้เปรียบของการวัดค่าคลอไรด์และซัลเฟตด้วยเทคโนโลยี MCE ทางออนไลน์เทียบกับเทคโนโลยีอื่น พร้อมทั้งยกตัวอย่างของประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตั้งเครื่องวิเคราะห์คลอไรด์และซัลเฟต METTLER TOLEDO Thornton 3000CS ที่โรงไฟฟ้า Nearman Creek ในแคนซัส สหรัฐอเมริกา
 

สอบภามราคา

เนื่องจากคลอไรด์และซัลเฟตเป็นสารปนเปื้อนที่กัดกร่อนสำคัญในโรงไฟฟ้า ความต้องการวัดค่าปริมาณของสารนี้จึงเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเพิ่มในรอบการทำงานของโรงไฟฟ้า รวมทั้งการเพิ่มในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีสินทรัพย์ลงทุนราคาแพง การตรวจสอบคลอไรด์และซัลเฟตในระดับ ppb ทางออนไลน์กระทำได้โดยใช้เทคโนโลยี MCE ซึ่งช่วยให้ตอบสนองการปนเปื้อนในรอบการผลิตน้ำได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยี MCE ทำงานโดยอาศัยหลักการแคปิลลารีอิเล็กโทรโฟรีซิส ซึ่งใช้สนามไฟฟ้าเพื่อแยกอิออนในอิเล็กโทรไลต์โดยอิงจากความสามารถเคลื่อนย้าย ตามรายละเอียดในกรณีศึกษานี้ การวิจัยเริ่มแรกเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อวัดค่าสารเคมีในรอบการผลิตของโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัย Colorado State ในสหรัฐอเมริกา

ที่โรงไฟฟ้า Nearman Creek การติดตั้งเครื่องวิเคราะห์ 3000CS ซึ่งใช้เทคโนโลยี MCE ช่วยให้โรงงานทราบค่าอิออนอะซีเตตจากการสลายตัวของสารเติมเอมีนซึ่งเพิ่มการวัดค่าการนำไฟฟ้าอิออนบวก และปิดบังปริมาณที่แท้จริงของคลอไรด์และซัลเฟตภายในไอน้ำ

แม้ว่าพวกเขาได้รับการแจ้งเตือนจากระบบการนำไฟฟ้าอิออนบวกว่ามีความเสี่ยงของการปนเปื้อนคลอไรด์และซัลเฟตสูง การติดตั้งระบบที่ทำงานด้วย MCE ช่วยให้พวกเขามั่นใจว่านี่ไม่ใช่ปัญหา และพวกเขายังคงทำงานภายใต้ค่าจำกัดที่แนะนำ เครื่องมือนี้ช่วยประหยัดเวลาและการทำงานในการตรวจสอบและการตอบสนองสัญญาณเตือน

เทคโนโลยี MCE ให้ประโยชน์อย่างยิ่งแก่โรงไฟฟ้า รวมถึงการตรวจสอบระดับอิออนปนเปื้อนได้อย่างชัดเจน และช่วยให้โรงไฟฟ้ายังอยู่ภายใต้ข้อกำหนดการรับประกันของกังหัน เครื่องวิเคราะห์ที่มีเทคโนโลยี MCE มีบทบาทสำคัญในระบบจัดการรอบการผลิตน้ำในโรงไฟฟ้า