การรวมตะกอน

ควบคุมการกระจายขนาดอนุภาคเพื่อการพัฒนากระบวนการอย่างมั่นใจ

สอบภามราคา

การรวมตะกอนและการตกตะกอนแตกต่างกันอย่างไร?

การรวมตะกอนและการตกตะกอนเป็นกระบวนการสองอย่างที่มักใช้ร่วมกันเพื่อขจัดสิ่งเจือปนและสิ่งปลอมปน

การตกตะกอนเป็นการเติมสารเคมีที่เรียกว่าสารเร่งการตกตะกอน (Coagulant) ลงในน้ำ สารบัฟเฟอร์ หรือตัวทำละลาย โดยจะทำให้อนุภาคไม่เสถียรจนเกาะตัวกัน กระบวนการนี้มักสร้างอนุภาคที่เรียกว่า “ตะกอน” แต่หากระบุลักษณะให้เฉพาะเจาะจง จะเรียกว่าสารมวลรวม ซึ่งสารมวลรวมนี้จะแยกออกจากส่วนประกอบที่ละลายได้ (มักเป็นน้ำ) ง่ายกว่า โดยใช้วิธีตกตะกอนหรือการกรอง

การรวมตะกอนนำเอาสารมวลรวมขนาดเล็กดังกล่าวที่ก่อตัวขึ้นระหว่างการตกตะกอนมารวมเข้าด้วยกันเป็นสารมวลรวมขนาดใหญ่ขึ้นที่เรียกว่า “ตะกอน” กระบวนการนี้มักทำได้โดยการเติมสารเร่งการรวมตะกอน ซึ่งเป็นสารเคมีพิเศษที่เร่งการเกาะกลุ่มของอนุภาค

โดยพื้นฐานแล้ว การตกตะกอนเป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการรวมกลุ่มอนุภาค ในขณะที่การรวมตะกอนเป็นขั้นตอนถัดมาที่สร้างตะกอนเกาะกลุ่มขนาดใหญ่ขึ้นและกำจัดได้ง่ายกว่า กระบวนการทั้งสองมีความสำคัญอย่างยิ่งในการกำจัดสิ่งเจือปนและสิ่งปลอมปนออกจากน้ำหรือสารที่ละลายได้อื่นๆ

ขั้นตอนที่ 1: การตกตะกอน

สารเร่งการตกตะกอนเป็นสารที่ใช้เร่งการรวมตัวหรือการเกาะตัวของอนุภาคละเอียดที่แขวนอยู่ในของเหลว การตกตะกอนเป็นกระบวนการทางเคมีที่มีการเติมสารเร่งการตกตะกอนเพื่อปรับประจุของอนุภาคที่กระจายตัวให้เป็นกลาง โมเลกุลชีวภาพและเคมีที่มีขนาดเล็กกว่าระดับไมครอนมักมีประจุลบบนพื้นผิว ซึ่งขัดขวางการรวมตัวและการตกตะกอน (1a)

สารเคมีเร่งการตกตะกอนสามารถดูดซับอนุภาคและปรับให้ประจุลบเป็นกลางได้ การทำให้เป็นกลางหรือการไทเทรตให้ได้ค่า pH ที่เป็นกรดในบางครั้งนั้น จะทำให้อนุภาคเกาะติดกันได้ ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของอนุภาคสารเร่งการตกตะกอนขนาดเล็กกว่าระดับไมครอนที่มีความเสถียรและแขวนตะกอนได้ดี ซึ่งเรียกกันว่าตะกอนขนาดเล็ก (1b)

กระบวนการนี้อาศัยการผสมอย่างรวดเร็วเพื่อให้สารเคมีเร่งการตกตะกอนกระจายตัวอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเร่งให้อนุภาคชนกันและเกาะตัวกัน (1c) อนุภาคที่เชื่อมติดกันยังคงมีขนาดค่อนข้างเล็กและไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ขั้นตอนที่ 2: การรวมตะกอน

การรวมตะกอนจะเพิ่มขนาดของกลุ่มก้อนสารเร่งการตกตะกอนที่ยังคงมีขนาดเล็กกว่าระดับไมครอน ทำให้แยกออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปต้องมีการผสมอย่างนุ่มนวลและการใช้สารเร่งการรวมตะกอนพอลิเมอร์หรือไอออนิกที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง สารเร่งการรวมตะกอนจะดูดซับอนุภาคสารเร่งการตกตะกอน ปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของพื้นผิว และเชื่อมต่อช่องว่างเพื่อช่วยในการก่อตะกอน (2a) เมื่อเชื่อมอนุภาคเข้าไปใกล้กัน แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลช่วงที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้น จึงช่วยลดอุปสรรคด้านพลังงานในการรวมตะกอน ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มตะกอนที่อัดกันอย่างหลวมๆ ก่อตัวขึ้น

การรวมตัว การจับตัว และการเสริมความแข็งแรงของตะกอนจะดำเนินต่อไปจนกว่าตะกอนแขวนลอยขนาดใหญ่ที่มองเห็นได้จะก่อตัวขึ้น (2b) การตกตะกอนจะเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำหนัก ขนาด และความแข็งแรงเชิงอันตรกิริยาของอนุภาคที่เหมาะสม ตะกอนขนาดใหญ่มีความไวต่อการผสมมาก และเมื่อแตกตัวจากแรงเฉือนที่รุนแรงแล้ว ก็จะกลายสภาพได้ยากหรือกลายสภาพไม่ได้เลย

การรวมตะกอนเกิดขึ้นตามธรรมชาติในการก่อตัวของเกล็ดหิมะและตะกอนใต้ทะเล แต่นอกจากนั้นยังมีการนำไปใช้ตามความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ปิโตรเลียม เยื่อกระดาษและกระดาษ น้ำเสีย และเหมืองแร่อีกด้วย  

ทำไมการรวมตะกอนจึงสำคัญ?

การใช้งานในอุตสาหกรรม

ชีวเภสัชภัณฑ์
เซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดที่มีอัตราการรอดชีวิตสูงมักกรองออกได้ง่ายเนื่องจากขนาดและการกระจายตัวของเซลล์ อย่างไรก็ตาม เซลล์จุลินทรีย์จากระบบแบคทีเรียและยีสต์มีหน่วยเซลล์โมโนเมอร์ที่เล็กกว่ามาก ภาระชีวมวลของเซลล์จุลินทรีย์หรือเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอัตราการรอดชีวิตต่ำและค่ามัธยฐานของอนุภาคขนาดเล็กนั้น อาจก่อให้เกิดเศษชิ้นส่วนเซลล์ขนาดเล็กจำนวนมากซึ่งอุดตันตัวกรองและทำให้อัตราการกรองช้าลง การรวมตะกอนถูกนำไปใช้เพื่อลดจำนวนอนุภาคโดยรวม พร้อมเพิ่มการกระจายขนาดอนุภาค จึงช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการกรอง และช่วยให้แยกองค์ประกอบเซลล์ออกจากส่วนเหนือตะกอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า นอกจากนี้ การรวมตะกอนยังอาจนำมาใช้ได้ในกรณีที่การเพาะเลี้ยงเซลล์สร้างผลิตภัณฑ์และ/หรือผลิตภัณฑ์พลอยได้จำนวนมาก ซึ่งปรากฏภายในโครงสร้างเซลล์ต่างๆ หรือในสภาพแวดล้อมระดับจุลภาคที่เกิดการหมัก ตัวอย่างเช่น เซลล์ที่มีเยื่อหุ้ม ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้ม หรือส่วนเหนือตะกอนที่ปรากฏ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ดูดซับพอลิเมอร์ หรือแม้แต่ในการจับตัวแบบหลายเฟส เช่น อิมัลชัน 

การบำบัดน้ำและน้ำเสีย
น้ำเสียอาจมีอนุภาคสารแขวนลอยอยู่จำนวนมาก ซึ่งมักใช้เวลานานในการตกตะกอน การบำบัดน้ำด้วยการรวมตะกอนจะช่วยเร่งการตกตะกอน และช่วยให้แยกของแข็ง/ของเหลวได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำที่ใช้แล้วปริมาณมากจะผ่านกระบวนการได้อย่างรวดเร็ว จึงลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการลดระยะเวลาและพื้นที่ที่ต้องใช้ในการเก็บน้ำใช้แล้ว 

เยื่อกระดาษและกระดาษ
เส้นใยเซลลูโลสเป็นส่วนผสมหลักอย่างหนึ่งที่ใช้ผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ แต่ก็ต้องใช้กาว สารเคลือบ และสารเติมเต็มด้วย เพื่อให้ได้คุณสมบัติของกระดาษตามที่ต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์กระดาษที่มีคุณภาพในระดับที่ยอมรับได้ การรวมตะกอนมักถูกนำมาใช้ในกระบวนการแยกน้ำเพื่อรวมเส้นใย สารเติมเต็ม และสารเติมแต่งอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้วัสดุที่เป็นของแข็งแยกตัวออกมาอย่างรวดเร็ว และสามารถผลิตได้ในปริมาณมาก 

การทำเหมืองแร่โลหะมีค่า
สายผลิตภัณฑ์มักมีโลหะหลากหลายประเภทที่ต้องคัดแยกออกเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์บริสุทธิ์ การตกตะกอนแบบเจาะจงของโลหะแต่ละชนิดมักมาพร้อมกับการรวมตะกอนและการตกตะกอน เพื่อให้แน่ใจว่าโลหะจะแยกออกจากของเหลวที่เหลืออยู่ได้อย่างรวดเร็ว

การวิเคราะห์ขนาดอนุภาคเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการ

ข้อควรพิจารณาที่สำคัญเพื่อสร้างกระบวนการรวมตะกอนที่มีประสิทธิภาพ

พารามิเตอร์กระบวนการและประสิทธิภาพของกระบวนการขั้นปลาย

การรวมตะกอนเป็นหน่วยการปฏิบัติงานที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาและการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล ข้อควรพิจารณาที่สำคัญและพารามิเตอร์กระบวนการมีดังนี้ 

  1. ประเภทและความเข้มข้นของสารเร่งการรวมตะกอนหรือสารเร่งการตกตะกอน
  2. ความแรงของการผสม ความเค้นของแรงเฉือน และเวลาในการผสม
  3. อัตราการจ่ายสาร ตำแหน่งที่ตั้ง และอุณหภูมิ 
  4. ความเข้มข้นของของแข็ง
  5. ขนาดและจำนวนของอนุภาค
  6. การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกระบวนการขั้นปลาย ได้แก่
    • ความสมบูรณ์ของการรวมตะกอน (จลนพลศาสตร์)
    • เวลาและการดำเนินการในกระบวนการเพื่อกำจัดของแข็ง
    • ความบริสุทธิ์ของสารในสภาพของเหลว (รวมถึงการวัดสารเร่งการรวมตะกอนที่ตกค้าง)
    • ความสามารถและประสิทธิภาพของการกรอง
    • เศษหรือผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ลอดผ่านเยื่อตัวกรอง

ของเหลวในการรวมตะกอน

สารเร่งการรวมตะกอน สารบัฟเฟอร์ และสารลดแรงตึงผิว

การเติมสารเร่งการรวมตะกอน
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการรวมตะกอนคือ ประเภทและปริมาณของสารเคมีที่เติมเพื่อให้เกิดการตกตะกอนและการรวมตะกอนของอนุภาค ส่วนปัจจัยรอง ได้แก่ พารามิเตอร์ทางกายภาพที่มีอยู่เดิม (เช่น การผสม อุณหภูมิ ฯลฯ) การกำหนดลักษณะของความเสถียรในการรวมตะกอนของเหลว จลนพลศาสตร์การผสม ความเป็นเนื้อเดียวกัน และความเข้มข้นในขั้นสุดท้าย มีความสำคัญในการกำหนดลักษณะของกระบวนการ และมีความสำคัญต่อเป้าหมายด้านวิศวกรรมอนุภาคที่ชัดเจนมากขึ้น (เช่น การกระจายขนาดอนุภาคและจำนวน) สารเร่งการรวมตะกอนหรือสารเพิ่มปริมาณที่เติมเข้าไปควรมีลักษณะเฉพาะที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การรวมตะกอน รวมถึงจลนพลศาสตร์ของกระบวนการและผลต่อเนื่องด้านการกำกับดูแล 

ATR-FTIR ในแหล่งกำเนิดและสเปกโทรสโคปี รามาน เป็นวิธีการแบบหลายปัจจัยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถติดตามและวัดปริมาณสารเร่งการรวมตะกอนหรือสารเพิ่มประมาณหลายรายการได้พร้อมกันแบบเรียลไทม์ การรวมข้อมูลสเปกโทรสโคปีนี้เข้ากับข้อมูลการกระจายและจลนพลศาสตร์ของอนุภาคนั้น สามารถช่วยกำหนดปริมาณสารเร่งการรวมตะกอนที่เหมาะสมที่สุดตามความจำเป็น โดยมักจะเป็นปริมาณที่น้อยมาก จึงช่วยลดภาระในการกำจัดสารที่กระบวนการขั้นปลาย นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดลักษณะและควบคุมสารบัฟเฟอร์และสารลดแรงตึงผิวอย่างแม่นยำได้แบบเรียลไทม์

การกำจัดสารเร่งการรวมตะกอน
การตัดสินใจใช้การรวมตะกอนในกระบวนการต้องแลกมาด้วยข้อเสียที่สำคัญที่กระบวนการขั้นปลาย ซึ่งจะต้องกำจัดสารเร่งการรวมตะกอนที่เติมเข้ามา สารลดแรงตึงผิว หรือสารมัธยันตร์ในกระบวนการออกให้หมด ข้อกำหนดดังกล่าวมักส่งผลให้ต้องใช้เวลาในกระบวนการเพิ่มขึ้น รวมถึงต้องมีวิธีการเชิงวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อหาปริมาณหรือตรวจสอบยืนยันการกำจัดสารเพิ่มปริมาณที่เติมเข้าไป ดังนั้น การลดปริมาณของสารเร่งการรวมตะกอน สารเร่งการตกตะกอน สารลดแรงตึงผิว หรือส่วนประกอบอื่นๆ ที่เติมเข้าไปให้มีปริมาณน้อยที่สุดย่อมส่งผลดี

เมื่อนำวิธีการแบบอินไลน์ เช่น สเปกโทรสโคปี ATR-FTIR หรือสเปกโทรสโคปี รามาน มาใช้ทั้งก่อนและหลังโครมาโตกราฟี ก็จะสามารถกำหนดการวัดค่าการถ่ายโอนมวลเชิงปริมาณของผลิตภัณฑ์ สารเร่งการรวมตะกอน และสารเพิ่มปริมาณได้ด้วย ซึ่งอาจนำวิธีนี้มาใช้เสริมร่วมกับวิธีการวิเคราะห์แบบออฟไลน์ได้

จลนพลศาสตร์การแตกตัวของตะกอน
เครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาคในแหล่งกำเนิดแสดงให้เห็นว่าตะกอนรวมกันจนสมบูรณ์ และเกิดกระบวนการแตกตัวของตะกอนขึ้นมาแทน
วิธีเลือกสารเร่งการรวมตะกอนที่เหมาะสมที่สุด
การสนับสนุนด้านการใช้งานในการรวมตะกอน
เครื่องมือการรวมตะกอนในห้องปฏิบัติการ

เครื่องมือการรวมตะกอนสำหรับการวัดขนาดอนุภาค

เครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาค - PVM®

EasyViewer™

บันทึกภาพอนุภาคความละเอียดสูงในแหล่งกำเนิดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการในระบบที่ซับซ้อนได้อย่างลึกซึ้ง อ่านเพิ่มเติม

เครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาค FBRM สำหรับการรวมตะกอน

เครื่องวิเคราะห์ขนาดอนุภาค - FBRM®

ParticleTrack™

เสียบเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ในห้องปฏิบัติการโดยตรงเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของขนาดและจำนวนอนุภาคแบบเรียลไทม์ที่ความเข้มข้นกระบวนการสูงสุด อ่านเพิ่มเติม

เครื่องปฏิกรณ์ของเครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการสำหรับการรวมตะกอน

เครื่องปฏิกรณ์สังเคราะห์ทางเคมี

EasyMax™

เพิ่มความสามารถในการผลิตในห้องปฏิบัติการของคุณด้วยเครื่องปฏิกรณ์สังเคราะห์ทางเคมีที่มีเครื่องมืออัตโนมัติในตัว อ่านเพิ่มเติม

ซอฟต์แวร์การสร้างแบบจำลองและการจำลองสำหรับการรวมตะกอน

การสร้างแบบจำลองปฏิกิริยาเคมี

Scale-Up Suite™

ประมาณค่าพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์และการสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนาสภาวะปฏิกิริยาที่เหมาะสมที่สุด อ่านเพิ่มเติม

ซอฟต์แวร์การรวมตะกอน

การควบคุมเครื่องปฏิกรณ์และ PAT

iC Suite™

แนวทางที่เป็นเอกภาพช่วยสนับสนุนการใช้งานจากห้องปฏิบัติการสู่โรงงานสำหรับสเปกโทรสโคปี การกำหนดลักษณะของระบบอนุภาค การควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำ และการวัดปริมาณความร้อน อ่านเพิ่มเติม

เอกสารและข้อมูลอ้างอิง

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรวมตะกอน

การรวมตะกอนหมายถึงอะไร?

การรวมตะกอนเป็นกระบวนการที่อนุภาคขนาดเล็กในของเหลวมารวมกันจนก่อตัวเป็นมวลขนาดใหญ่ขึ้นที่ยึดเกาะกัน เรียกว่าตะกอน กระบวนการนี้อาจเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติหรือผ่านการเติมสารเคมีบางชนิดที่เรียกว่าสารเร่งการรวมตะกอน ในการรวมตะกอนตามธรรมชาติ อนุภาคขนาดเล็กในของเหลวอาจรวมกันเนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น แรงโน้มถ่วง การเคลื่อนที่แบบบราวน์ (Brownian Motion) หรือแรงจากไฟฟ้าสถิต เมื่ออนุภาคเหล่านี้ชนและเกาะติดกัน ก็จะเริ่มก่อตัวเป็นมวลขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งสามารถตกตะกอนแยกจากของเหลวได้ในที่สุด

นอกจากนี้ยังสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการรวมตะกอนได้ด้วยการเติมสารเร่งการรวมตะกอน ซึ่งเป็นสารที่เร่งการก่อตัวของตะกอน สารเคมีเหล่านี้ทำงานโดยปรับประจุไฟฟ้าบนพื้นผิวของอนุภาคให้เป็นกลาง อนุภาคจึงเกาะติดกันและก่อตัวเป็นก้อนใหญ่ขึ้น สารเร่งการรวมตะกอนมักถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย การทำเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นต้องแยกของแข็งออกจากของเหลว เมื่อก่อตัวเป็นตะกอนแล้ว จะสามารถแยกตะกอนดังกล่าวออกจากของเหลวได้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตกตะกอน การกรอง หรือการหมุนเหวี่ยง ของเหลวที่ได้มักจะมีความใสและจัดการได้ง่ายกว่าก่อนการรวมตะกอน

การรวมตะกอนในการบำบัดน้ำคืออะไร?

กระบวนการตกตะกอนและการรวมตะกอนมักใช้ในการบำบัดน้ำเสียเพื่อขจัดความขุ่นและแบคทีเรีย การรวมตะกอนกระตุ้นให้อนุภาคแขวนลอยจับตัวกันและก่อตัวเป็นอนุภาคก้อนขนาดใหญ่ที่เรียกกันว่า “ตะกอน” ตะกอนเหล่าจะลอยขึ้นสู่ชั้นผิวหรือตกตะกอนที่ด้านล่าง จึงเป็นวิธีเร่งการแยกตัวที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

การตกตะกอนและการรวมตะกอนแตกต่างกันอย่างไร?

การตกตะกอนและการรวมตะกอนเป็นกระบวนการที่แตกต่างกันสองกระบวนการ ซึ่งใช้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกันเพื่อเอาชนะแรงที่ทำให้อนุภาคแขวนลอยมีความเสถียร ประจุของอนุภาคจะถูกทำให้เป็นกลางโดยการตกตะกอน แต่จะจับตัวกันและขยายขนาดได้ด้วยการรวมตะกอน ซึ่งทำให้กำจัดออกจากของเหลวได้ง่ายขึ้น อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปรียบเทียบการรวมตะกอนกับการตกตะกอน

สารแขวนลอยที่รวมตะกอนคืออะไร?

สารแขวนลอยที่รวมตะกอนหมายถึงส่วนผสมหรือการกระจายตัวของอนุภาคของแข็งในของเหลวที่อนุภาคมารวมกันและก่อตัวเป็นกลุ่มหรือก้อนขนาดใหญ่ขึ้นที่เรียกว่าตะกอน ตะกอนเหล่านี้รวมกันด้วยแรงทางกายภาพเพียงเล็กน้อย เช่น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล หรือแรงเชื่อมระหว่างอนุภาค แทนที่จะกระจายอย่างสม่ำเสมอในของเหลว การก่อตัวของตะกอนในสารแขวนลอยนำไปสู่การตกตะกอนหรือการแยกตัวของอนุภาคของแข็ง ทำให้กำจัดหรือกรองออกจากสารในสภาพของเหลวได้ง่ายขึ้น การรวมตะกอนมักถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการบำบัดน้ำเสีย การทำเหมืองแร่ และกระบวนการทางเคมี เพื่ออำนวยความสะดวกในการแยกและการขจัดของแข็งแขวนลอยออกจากของเหลว