คู่มือ

คู่มือการวิเคราะห์ความชื้น

คู่มือ

พื้นฐานและการประยุกต์ใช้งานการชั่งน้ำหนักในห้องปฏิบัติการ

คู่มือการวิเคราะห์ความชื้น
คู่มือการวิเคราะห์ความชื้น

คู่มือการวิเคราะห์ความชื้นนี้จะช่วยคุณในการวัดปริมาณความชื้นให้ได้อย่างน่าเชื่อถือโดยใช้เครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจน โดยคู่มือจะครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดความชื้น
  • หลักการตรวจวัด
  • การติดตั้ง
  • การทดสอบเป็นประจำ (การสอบเทียบ)
  • การจัดการและการเตรียมตัวอย่าง
  • การพัฒนาวิธีการเพื่อให้เทียบเท่าผลลัพธ์จากเตาอบเพื่อการทำให้แห้ง
  • ตัวอย่างพิเศษ (เช่น ของเหลว สารระเหยง่าย พลาสติก)
  • การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการ
  • การเปรียบเทียบเทคโนโลยีการวัดความชื้น
  • อภิธานศัพท์ทางเทคนิค

ดาวน์โหลดคู่มือการวิเคราะห์ความชื้นได้ฟรี แล้วศึกษาความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้งานเพื่อวิเคราะห์ความชื้น รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการติดตั้งที่ถูกต้อง การปฏิบัติงานที่ราบรื่น การตรวจวัดที่รวดเร็ว และการทำผลลัพธ์การวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้

 

สอบภามราคา

บทสรุป

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวัดความชื้น

การวัดปริมาณความชื้นจะต้องวัดได้ผลอย่างน่าเชื่อถือและรวดเร็วพอ เพื่อทำให้สามารถแทรกแซงกระบวนการผลิตทำได้อย่างรวดเร็วและไม่ทำให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงักลง หนึ่งในวิธีการวัดความชื้นที่รวดเร็วและถูกต้องก็คือการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อนโดยใช้เครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจน วัดค่าน้ำหนักและให้ความร้อนแก่ตัวอย่างด้วยเครื่องกระจายความร้อนอินฟราเรด (หลอดฮาโลเจน) บันทึกการสูญเสียน้ำหนักอย่างต่อเนื่องและการทำให้แห้งจะสิ้นสุดลงเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ปริมาณความชื้นจะได้รับการคำนวณโดยอัตโนมัติจากความแตกต่างของน้ำหนัก

หลักการตรวจวัด

เครื่องวัดความชื้นชนิดใช้หลอดไฟฮาโลเจนทำงานบนพื้นฐานของหลักการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน นั่นคือบันทึกน้ำหนักเริ่มต้นของตัวอย่าง จากนั้นใช้รังสีฮาโลเจนทำให้ตัวอย่างแห้ง โดยเครื่องชั่งแบบบูรณาการจะบันทึกน้ำหนักของตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง แปลผลน้ำหนักรวมที่สูญเสียไปว่าเป็นปริมาณความชื้น การทำให้แห้งด้วยเครื่องกระจายความร้อนหลอดไฟฮาโลเจนเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อจากวิธีการทำให้แห้งด้วยรังสีอินฟราเรด หน่วยให้ความร้อนประกอบด้วยท่อแก้วบรรจุก๊าซฮาโลเจน เนื่องจากมวลของเครื่องกระจายความร้อนหลอดไฟฮาโลเจนนั้นเบากว่าเครื่องกระจายความร้อนอินฟราเรดที่มีใช้อยู่มาก ดังนั้นจึงทำให้สามารถไปถึงความร้อนออกสูงสุดได้อย่างรวดเร็วและให้ความสามารถในการควบคุมที่โดดเด่น เมื่อมีการกระจายรังสีความร้อนอย่างสม่ำเสมอทั่วถึงพื้นผิวตัวอย่างทั้งหมดร่วมด้วย จึงช่วยให้ได้รับผลลัพธ์ที่วัดค่าซ้ำได้โดยไม่คลาดเคลื่อน

ตัวอย่างในเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจนจะดูดซับรังสีอินฟราเรด (รังสีความร้อน) จากหลอดฮาโลเจน และเป็นผลให้ร้อนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต่างจากเตาอบแบบดั้งเดิมที่ตัวอย่างจะถูกให้ความร้อนโดยใช้การพาความร้อนและถูกทำให้แห้งโดยใช้ระยะเวลานาน

 

การติดตั้ง

เนื่องจากการวัดความชื้นโดยใช้เครื่องวัดความชื้นจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนการชั่งน้ำหนักที่มีความเที่ยงตรงสูง ความถูกต้อง และการทำซ้ำได้จึงมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับที่ตั้งเครื่องมือ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องวัดความชื้นของคุณทำงานภายใต้สภาวะที่ดีที่สุด โปรดปฏิบัติตามแนวทางที่กล่าวถึงในเอกสารข้างต้น

การปฏิบัติงานประจำวัน

เพื่อให้แน่ใจในผลการวัดที่เที่ยงตรง ควรจะปฏิบัติตามข้อมูลต่อไปนี้เกี่ยวกับการดูแล ระยะห่างในการสอบเทียบ และการบำรุงรักษา:

  • การสอบเทียบเป็นประจำ (การทดสอบ) และการปรับโมดูลการให้ความร้อนในกรณีที่จำเป็น ช่วยให้คุณมั่นใจว่าการผลิตความร้อนจะมีความสม่ำเสมอและทำซ้ำได้ตลอดช่วงอายุใช้งานของเครื่องมือของคุณ เราแนะนำให้คุณกำหนดรอบเวลาในการทดสอบหน่วยชั่งน้ำหนักและโมดูลการให้ความร้อน (ขึ้นอยู่กับความเสี่ยง)
  • METTLER TOLEDO ขอเสนอ SmartCal™ เพื่อความมั่นใจในผลการวัดความชื้นที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ สารที่มีลักษณะเฉพาะและไวต่ออุณหภูมินี้มีปริมาณความชื้นที่แน่นอน และใช้ทดสอบแบบครั้งเดียวเพื่อตรวจสอบสภาพการทำงานโดยรวมของเครื่องมือได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การทดสอบ SmartCal อ้างอิงการวัดที่ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอของเครื่องวิเคราะห์ความชื้น ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่คู่มือผู้ใช้ SmartCal: คู่มือผู้ใช้สารทดสอบเครื่องวัดความชื้น SmartCal
  • การบำรุงรักษาประจำปีที่ดำเนินการโดยทีมบริการของ METTLER TOLEDO จะรับประกันคุณภาพ ความแม่นยำในการวัด และการเก็บรักษาค่าของเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจนของคุณ

การจัดการและการเตรียมตัวอย่าง

การเตรียมตัวอย่างที่ถูกต้องหลังเก็บตัวอย่างคือกุญแจสำคัญสำหรับผลที่ทำซ้ำได้และน่าเชื่อถือ

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เกลี่ยความละเอียดให้เสมอกัน (ขนาดอนุภาค)
  • หากจำเป็น ให้เพิ่มพื้นที่ผิวตัวอย่างโดยการแบ่งตัวอย่าง
  • ซึ่งจะช่วยให้มีการปลดปล่อยความชื้นดีขึ้นและเร็วขึ้นในระหว่างการทำให้แห้ง (การแพร่กระจายความชื้นได้เร็วขึ้นไปยังพื้นผิว)
  • ไม่ควรให้ความร้อนกับตัวอย่างในขั้นตอนนี้ เนื่องจากอาจทำให้สูญเสียความชื้นระหว่างการเตรียมได้
  • สามารถดำเนินการบดด้วยเครื่องกลได้ เช่น ใช้ครกบด เครื่องบด (หล่อเย็นด้วยน้ำ) หรือเพียงการตัด

การพัฒนาวิธีการเพื่อให้เทียบเท่าผลลัพธ์จากเตาอบเพื่อการทำให้แห้ง

ตามปกติแล้วมักจะมีข้อกำหนดและมาตรฐานทางกฎหมายที่ใช้ในการค้าหรือคำแนะนำภายในองค์กรสำหรับสารซึ่งกำหนดวิธีการตรวจหาปริมาณความชื้น วิธีการใช้เตาอบ (การสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง) หรือการไทเทรตแบบ Karl Fischer มักจะถูกนำมาใช้เป็นขั้นตอนอ้างอิง ในกรณีเช่นนี้ จุดมุ่งหมายคือเพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากเครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจนที่เหมือนกับขั้นตอนอ้างอิง (หรือสำหรับการเบี่ยงเบนจากค่าอ้างอิงที่จะตรวจหาและสามารถทำซ้ำได้) เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ ต้องปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ตั้งค่าต่างๆ เช่น อุณหภูมิการทำให้แห้ง โปรแกรมการทำให้แห้ง และน้ำหนักตัวอย่างรวมทั้งการจัดการของตัวอย่าง สิ่งนี้คือการพัฒนาวิธีการซึ่งมีพารามิเตอร์ดังกล่าวข้างต้นทำหน้าที่อธิบายวิธีการ

ตัวอย่างพิเศษ

ตัวอย่างบางชุดต้องใช้กระบวนการพิเศษเพื่อให้สามารถวัดค่าความชื้นได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ส่วนนี้ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถใช้กับตัวอย่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวัดค่าความชื้น

ตัวอย่างของเหลวและตัวอย่างซึ่งมีปริมาณความชื้นอยู่มาก:

  • ใช้ตัวกรองใยแก้ว
  • หักน้ำหนักแผ่นกรองพร้อมถาดวางตัวอย่างและจากนั้นให้วางตัวอย่างลงบนถาด
  • การทำให้แห้งแบบเร่งด่วนเหมาะกับตัวอย่างซึ่งมีปริมาณความชื้นมาก (> 30%)
  • ในกระบวนการนี้ ระบบจะทำอุณหภูมิให้สูงกว่าอุณหภูมิเป้าหมาย 40% เป็นระยะเวลา 3 นาทีเพื่อเร่งกระบวนการวัดค่า
  • การทำให้แห้งตามขั้นตอนเป็นวิธีทางเลือกในการอบแห้งแบบรวดเร็ว ในขั้นนี้ ช่วงเวลารักษาอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น และจะเลือกอุณหภูมิได้อย่างอิสระ

ภาพรวมของเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับการวัดความชื้น

ได้มีการพัฒนากระบวนการวัดหลากหลายวิธีเพื่อกำหนดปริมาณความชื้น ตารางข้างล่างแสดงเทคโนโลยีการวัดตามปกติที่เลือกมากจำนวนหนึ่งและบรรยายถึงข้อดีและเสียของกระบวนการต่างๆ เหล่านี้

เตาอบแห้ง

เตาอบแห้ง

หลักการ:
การวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน

วิธีการวัด

การให้ความร้อนตัวอย่างโดยการพาความร้อน ตัวอย่างจะถูกทำให้แห้งในเตาอบเป็นระยะเวลาตามที่กำหนด ณ อุณหภูมิคงที่ จะมีการวัดค่ามวลก่อนและหลังการทำให้แห้ง อัตราร้อยละของปริมาณความชื้นจะหาได้จากผลต่างของน้ำหนักก่อนและหลังการทำให้แห้ง

ข้อดี

● เป็นขั้นตอนที่มีการใช้อ้างอิงบ่อย (ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์กระบวนการนี้จึงมักเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย)
• สามารถวัดค่าตัวอย่างหลายรายการได้พร้อมกัน
● ใช้กับตัวอย่างปริมาตรมากได้

ข้อเสีย

● ใช้เวลาวัดค่านานมาก (หลายชั่วโมง)
● สารอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำอาจระเหย
● เสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดเนื่องจากต้องใช้การจัดการแบบแมนวลและการคำนวณในระดับสูง
• ไม่เหมาะสำหรับใช้ในสายการผลิตเนื่องจากต้องอาศัยเครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์และเครื่องดูดความชื้น

เครื่องวัดความชื้นด้วยฮาโลเจน

หลักการ:
การวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน

วิธีการวัด

การให้ความร้อนตัวอย่างโดยการดูดซับรังสี IR จากเครื่องกระจายรังสีฮาโลเจน การวัดมวลอย่างต่อเนื่องระหว่างกระบวนการทำให้แห้ง อัตราร้อยละของปริมาณความชื้นจะหาได้จากผลต่างของน้ำหนักก่อนและหลังการทำให้แห้ง

ข้อดี

● การวัดค่าอย่างรวดเร็ว (โดยทั่วไป 5-15 นาที)
● ใช้งานง่าย ไม่ต้องคำนวณแบบแมนนวล
● เครื่องมือขนาดกะทัดรัด ไม่ต้องใช้เครื่องชั่งหรือเครื่องดูดความชื้น
● เหมาะสำหรับใช้ในสายการผลิต

ข้อเสีย

● สารอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำอาจระเหย

ไทเทรตแบบ Karl Fischer

หลักการ:
ปฏิกิริยาออกซิไดซ์ทางเคมี

วิธีการวัด

เซ็นเซอร์โพลาไรซ์จะตรวจสอบปฏิกิริยาทางเคมีของน้ำกับสารทำปฏิกิริยาแบบ Karl Fischer (มีไอโอดีนและซัลเฟอร์ไดออกไซด์) เพื่อวัดปริมาณน้ำ ซึ่งกระทำได้ทั้งแบบเชิงปริมาตรโดยเติมสารทำปฏิกิริยาที่ทำการวัดค่า หรือแบบเชิงประจุซึ่งจะกระตุ้นปฏิกิริยาที่แหล่งกำเนิดและแปรผันตามสัดส่วนกับกระแสไฟฟ้าที่ใช้

ข้อดี

● วัดเฉพาะน้ำ ไม่ได้วัด “ความชื้น” หรือตัวทำละลายอื่น
● รวดเร็ว โดยทั่วไปใช้เวลา 0.5 ถึง 3 นาทีต่อตัวอย่าง
● วัดค่าน้ำตั้งแต่ 2ppm ถึง 100%
● เครื่องมือขนาดกะทัดรัด การคำนวณแบบอัตโนมัติ และเชื่อมต่อกับเครื่องชั่งของ METTLER TOLEDO เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การคำนวณที่สมบูรณ์

ข้อเสีย

● จำเป็นต้องใช้สารเคมีเฉพาะและความรู้ทางเคมี
● การเตรียมตัวอย่างสำคัญต่อการแยกน้ำแบบสมบูรณ์ (เครื่องกวนให้เป็นเนื้อเดียว, ใช้เวลาในการแยกนาน)

คำศัพท์ทางเทคนิค

ความชื้น (ค่าปริมาณความชื้น): ในกระบวนการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน นั้นความชื้นของวัสดุจะรวมเอาสสารทั้งหมดซึ่งสามารถระเหยได้ระหว่างการอุ่นและดังนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของมวลของวัสดุที่หายไป นอกเหนือจากน้ำแล้วมวลที่หายไปอาจรวมเอาแอลกอฮอล์หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากการสลายตัว เมื่อใช้วิธีการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน (การทำให้แห้งด้วยอินฟราเรด ฮาโลเจน ไมโครเวฟ หรือเตาอบ) จะไม่มีการแยกให้เห็นความแตกต่างระหว่างน้ำและส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งระเหยได้ง่ายมาก

ขั้นตอนของเตาอบแห้ง: วิธีการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน สำหรับการวัดปริมาณความชื้นของตัวอย่าง ตัวอย่างจะถูกทำให้แห้งในเตาอบเป็นระยะเวลาตามที่กำหนด ณ อุณหภูมิคงที่ อัตราร้อยละของปริมาณความชื้นจะหาได้จากผลต่างของน้ำหนักก่อนและหลังการทำให้แห้ง ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์กระบวนการนี้จึงมักเป็นส่วนหนึ่งของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (กฎระเบียบด้านอาหาร, USP และอื่นๆ)

 

 

คลังรายการ