จลนศาสตร์ในการวิเคราะห์ทางความร้อนสำหรับคาดการณ์พฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยาเคมี

วิธีทางจลนศาสตร์มักนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจว่าสภาวะที่ต่างกันส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอย่างไร

จลนศาสตร์ของกระบวนการที่กระตุ้นด้วยความร้อนมักมีการตรวจวัดเป็นประจำโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ทางความร้อน เช่น การวัดปริมาณความร้อนด้วยการกราดวิเคราะห์เชิงผลต่าง (DSC) และการวิเคราะห์ทางการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อน (TGA) จลนศาสตร์ในการวิเคราะห์ทางความร้อนมีความสำคัญมากในการพัฒนากระบวนการและการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทางเคมี โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของอุณหภูมิ เวลา ความเข้มข้น ตัวเร่งปฎิกิริยา และตัวยับยั้งปฎิกิริยา

ในช่วงหลายปีมานี้ จลนศาสตร์ในการวิเคราะห์ทางความร้อนได้ก้าวหน้าอย่างมากด้วยการพัฒนาเครื่องมือการคำนวณสำหรับการวิเคราะห์จลนศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งช่วยให้เราลดจำนวนการทดลองในเชิงปฏิบัติให้เหลือน้อยที่สุด

ในสัมมนานี้ เราจะพูดคุยถึงหลักพื้นฐานของจลนศาสตร์ในการวิเคราะห์ทางความร้อนและนำเสนอการใช้งานที่น่าสนใจบางส่วนสำหรับคาดการณ์พฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยาเคมี

วิธีการทางจลนศาสตร์มีความสำคัญมากในการพัฒนากระบวนการและการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทางเคมี โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของอุณหภูมิ เวลา ความเข้มข้น ตัวเร่งปฎิกิริยา ตัวยับยั้งปฎิกิริยา และพารามิเตอร์อื่นๆ ของการเกิดปฎิกิริยา

การคำนวณการเปลี่ยนสถานะ

วิธีการทางจลนศาสตร์สามารถใช้ได้จริงในการคำนวณการเปลี่ยนสถานะของวัตถุตั้งต้นไปเป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ปฏิกิริยาที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วโลกนี้อธิบายว่าปฏิกิริยาโดยรวมเกิดขึ้นเร็วเพียงใด

จำลองพฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยา

เราสามารถใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จำลองพฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยา วิธีนี้ช่วยให้เราลดจำนวนการทดลองในเชิงปฏิบัติให้เหลือน้อยที่สุด และให้ข้อมูลที่มีค่ากับเราเกี่ยวกับความปลอดภัย การขยายปริมาณ และความเสถียร

การคาดการณ์พฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยา

การใช้งานที่สำคัญที่สุดของวิธีการทางจลนศาสตร์ในการวิเคราะห์ทางความร้อนคือ เพื่อคาดการณ์พฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยาภายใต้สภาวะที่ทำการตรวจวัดได้ยากหรือมีเวลาการเกิดปฏิกิริยาสั้นมากหรือยาวมาก

โดยสรุปแล้ว สัมมนาออนไลน์นี้พูดคุยถึงวิธีการทางจลนศาสตร์ที่หลากหลายและเหตุผลที่วิธีเหล่านั้นน่าสนใจ โดยจะเริ่มจากภาพรวมของทฤษฎีทางจลนศาสตร์ ก่อนจะแสดงให้คุณเห็นว่าเราได้ข้อมูลการทดลองที่เหมาะสมจากการวัดปริมาณความร้อนด้วยการกราดวิเคราะห์เชิงผลต่างและการวิเคราะห์ทางการวัดการสูญเสียน้ำหนักเมื่อได้รับความร้อนมาได้อย่างไร ท้ายที่สุดนั้น เราจะนำเสนอการใช้งานหลากหลายที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้ผลลัพธ์เพื่อคาดการณ์พฤติกรรมการเกิดปฏิกิริยาได้อย่างไร บางตัวอย่างยังแสดงให้เห็นว่าจะตรวจสอบการคาดการณ์ได้อย่างไรอีกด้วย