คู่มือ

ข้อมูลเบื้องต้นของการหาปริมาณน้ำ

คู่มือ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการไทเทรตแบบ Karl Fischer

คู่มือ Karl Fischer ส่วนที่ 1 อธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการไทเทรตแบบ Karl Fischer
คู่มือ Karl Fischer ส่วนที่ 1 อธิบายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการไทเทรตแบบ Karl Fischer

คู่มือการไทเทรตแบบ Karl Fischer ส่วนที่ 1 นี้อธิบายปฏิกิริยาทางเคมีและเทคนิคการตรวจวัดที่สำคัญ 2 วิธี ได้แก่ วิธีวอลูมเมตริกและคูลอมเมตริก รวมถึงนำเสนอภาพรวมโดยสรุปเกี่ยวกับพัฒนาการของวิธีการแบบ Karl Fischer ในอดีต

วิธีการแบบ Karl Fischer สำหรับการหาปริมาณน้ำคือหนึ่งในวิธีการไทเทรตที่ใช้กันบ่อยที่สุด วิธีการนี้เผยแพร่โดย Karl Fischer นักปิโตรเคมีชาวเยอรมันในปี 1935 และกลายเป็นที่รู้จักและยอมรับว่าใช้กับการใช้งานและตัวอย่างได้หลากหลาย

ในทุกวันนี้ การหาปริมาณน้ำโดยใช้วิธีการ Karl Fischer ใช้เทคนิคที่แตกต่างกันสองวิธี ได้แก่

  • วิธีการไทเทรตแบบ Karl Fischer ด้วยวิธีวอลูมเมตริก ซึ่งดำเนินการโดยเติมน้ำยาที่มีส่วนผสมของไอโอดีนด้วยหลอดลูกสูบมอเตอร์
  • วิธีการไทเทรต Karl Fischer ด้วยวิธีคูลอมเมตริก ซึ่งดำเนินการโดยสร้างไอโอดีนด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันทางไฟฟ้าเคมีในเซลล์

การเลือกใช้เทคนิคการไทเทรตให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่คาดการณ์ในตัวอย่างดังนี้

การไทเทรตวอลูมเมตริกแบบ Karl Fischer

เติมไอโอดีนโดยใช้บิวเรตในระหว่างการไทเทรต เหมาะสำหรับตัวอย่างที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ ตั้งแต่ 100 ppm - 100%

การวิเคราะห์แบบ Karl Fischer ด้วยวิธีคูลอมเมตริก

สร้างไอโอดีนจากปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้าในระหว่างการไทเทรต เหมาะสำหรับตัวอย่างที่มีน้ำอยู่ในปริมาณเล็กน้อย ตั้งแต่ 1 ppm - 5%


ดาวน์โหลดคู่มือการไทเทรตและเรียนรู้ข้อมูลอันแสนครบครันของ METTLER TOLEDO ในการหาความชื้นและปริมาณน้ำตั้งแต่ 1 ppm ถึง 100%

คู่มือการไตเตรทด้วยวิธี Karl Fischer ส่วนที่ 1 - หลักการ
สารบัญ

1. การไทเทรตแบบ Karl Fischer
1.1. ภาพรวมพัฒนาการ
1.2. ปฏิกิริยาเคมีในการไทเทรตแบบ Karl Fischer
1.3. ผลที่ตามมาสำหรับการใช้งานจริง
2. เครื่องวิเคราะห์แบบ Karl Fischer ด้วยวิธีวอลูมเมตริกและคูลอมเมตริก
2.1 การวิเคราะห์แบบ KF ด้วยวิธีวอลูมเมตริก 12
2.1.1 สารทำปฏิกิริยา KF แบบสารประกอบเดียว
2.1.2 สารทำปฏิกิริยา KF แบบสองสารประกอบ
2.1.3 สารทำปฏิกิริยาที่มีไพริดีน
2.1.4 สารทำปฏิกิริยาพิเศษสำหรับอัลดีไฮด์และคีโตน
2.1.5 สารทำปฏิกิริยา Karl Fischer ที่มีเอทานอล
2.2 การวิเคราะห์แบบ Karl Fischer ด้วยวิธีคูลอมเมตริก
2.2.1 การวัดค่าคูลอมแบบ KF
2.2.2 ปริมาณสัมพันธ์ของปฏิกิริยา KF ด้วยวิธีคูลอมเมตริก
2.2.3 การสร้างไอโอดีน
2.2.4 ตัวกำเนิดขั้วไฟฟ้าแบบไม่มีไดอะแฟรม
2.2.5 ข้อจำกัดของการใช้ตัวกำเนิดขั้วไฟฟ้าแบบไม่มีไดอะแฟรม
3. ข้อมูลเพิ่มเติม

 

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง