คอลเลคชั่น

ห้องปฏิบัติการแบบลีน: เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการง่ายขึ้น

คอลเลคชั่น

แนวทางการทำให้ห้องแล็บของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คอลเลกชันอันครอบคลุมด้านความรู้
ข้อมูล และคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการ
ปรับใช้
ห้องปฏิบัติการแบบลีนให้ประสบความสำเร็จ

“ห้องปฏิบัติการแบบลีน” คืออะไร

ห้องปฏิบัติการแบบลีนเป็นแนวทางการจัดการและการจัดระเบียบที่มีที่มาจากหลักการด้านการผลิตแบบลีน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วก็คือการขับเคลื่อนด้วยการปรับกระบวนการให้เหมาะสมที่สุด ห้องปฏิบัติการแบบลีนคือห้องปฏิบัติการประเภทที่มุ่งเน้นไปที่การส่งมอบผลลัพธ์ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งหมายถึงทางด้านต้นทุนและ/หรือความรวดเร็ว ด้วยการใช้งานทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด วัตถุประสงค์ก็คือเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจขององค์กร วัดผลความสำเร็จโดยการสร้างความสมดุลในแง่มุมทั้งสามของ "Magic Triangle" (คุณภาพ ทรัพยากร และเวลา)

ข้อดีของแนวทางห้องปฏิบัติการแบบลีนคืออะไร

ข้อดีที่จะเกิดขึ้นจากการปรับใช้และคงไว้ซึ่งแนวทางห้องปฏิบัติการแบบลีนที่มีประสิทธิภาพคือ:

  • สร้างความชัดเจน กำหนดโครงสร้าง และควบคุมกระบวนการของห้องปฏิบัติการได้ดียิ่งขึ้น
  • ประสิทธิภาพการทำงานของห้องปฏิบัติการที่สม่ำเสมอและคาดการณ์ได้มากขึ้น
  • ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับกำลังการผลิตในห้องปฏิบัติการและความต้องการทรัพยากร
  • เพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพได้อย่างมาก
  • เวลารอคอยที่ลดลง
  • ต้นทุนที่ลดลง
  • ลดระดับของ Work In Process (WIP) ลง
  • เพิ่มความถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น (RFT)
  • การมอบอำนาจที่มากขึ้นให้กับบุคลากรในห้องปฏิบัติการ
  • วัฒนธรรมของการจัดการประสิทธิภาพเชิงป้องกันและการปรับปรุงต่อเนื่อง
  • บริการลูกค้าที่ดีกว่า

คู่มือห้องปฏิบัติการแบบลีน

ดาวน์โหลดคู่มือห้องปฏิบัติการแบบลีนของเราตอนนี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่าเก้าขั้นตอนสู่ห้องปฏิบัติการแบบลีนจะช่วยปรับปรุงและรักษาประสิทธิภาพและผลผลิตในห้องปฏิบัติการของคุณได้อย่างไร

ช่องทางในการปรับปรุง 9 ด้าน:
  1. การปรับสถานที่ทำงานให้เหมาะสมและการดูแลความสะอาด (5S)
  2. แผนผังสายธารคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์น้ำและสารละลาย
  3. ภาระงาน
  4. การทำงานในห้องปฏิบัติการ
  5. การจัดการประสิทธิภาพการทำงาน
  6. อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
  7. ทักษะของบุคลากรในห้องปฏิบัติการ
  8. วัสดุทางเคมี/เสริมสำหรับห้องปฏิบัติการ (KANBAN)
  9. กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (CIP)

ดาวน์โหลดคู่มือห้องปฏิบัติการแบบลีน

“ห้องปฏิบัติการแบบลีน” คืออะไร

คำว่า 'ลีน' และ 'การผลิตแบบลีน' เริ่มมีการนำมาใช้ในทศวรรษ 1990 ในแนวคิดด้านการจัดการที่ประสบความสำเร็จอย่างมากที่มีที่มาจาก Toyota Production System (TPS) ความสำเร็จในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมนี้ได้ผลักดันให้เกิดการนำความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้หลักการแบบลีนนี้เข้ามาใช้โดยภาคอุตสาหกรรมมากมาย โดยมีเป้าหมายที่การขจัดข้อผิดพลาด ลดความล่าช้า ลดต้นทุน และปรับปรุงคุณภาพโดยรวมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ

ห้องปฏิบัติการแบบลีนเป็นแนวทางการจัดการและการจัดระเบียบที่มีที่มาจากหลักการด้านการผลิตแบบลีน ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วก็คือการขับเคลื่อนด้วยการปรับกระบวนการให้เหมาะสมที่สุด ห้องปฏิบัติการแบบลีนคือห้องปฏิบัติการประเภทที่มุ่งเน้นไปที่การส่งมอบผลลัพธ์ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด ซึ่งหมายถึงทางด้านต้นทุนและ/หรือความรวดเร็ว ด้วยการใช้งานทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด วัตถุประสงค์ก็คือเพื่อช่วยในปรับปรุงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจขององค์กร วัดผลความสำเร็จโดย 'Magic Triangle‘ ซึ่งต้องสร้างความสมดุลให้กับแง่มุมทั้งสาม (คุณภาพ รัพยากร และวลา)

บรรลุข้อดีทางธุรกิจได้โดยการสร้างวัฒนธรรมในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ลูกค้าไปจนถึงนักวิเคราะห์ การกระตุ้นให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ และริเริ่ม และการส่งเสริมการเปลี่ยนกรอบความคิดและรูปแบบพฤติกรรมทั่วทั้งห้องปฏิบัติการเพื่อรักษาผลอันดีที่เกิดขึ้นเอาไว้

ห้องปฏิบัติการแบบลีน: เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการง่ายขึ้น
Magic Triangle สำหรับห้องปฏิบัติการแบบลีน
โมเดลบ้านสำหรับห้องปฏิบัติการแบบลีน
โมเดลบ้านสำหรับห้องปฏิบัติการแบบลีน

ห้องปฏิบัติการแบบลีนหมายถึงแนวทางในการใช้ความคิด ไม่ใช่รายการของสิ่งที่ต้องทำ!

มี อภิธานศัพท์ของห้องปฏิบัติการแบบลีนที่สามารถช่วยในการอธิบายถึงความหมายของคำทั่วไป และสถานการณ์ที่มีการใช้คำนั้นๆ

ฉันควรจะเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องห้องปฏิบัติการแบบลีนจากตรงไหน

จุดเริ่มต้นที่ดีคือการประเมินถึงสถานะปัจจุบันของคุณ รายการตรวจสอบได้รับการจัดทำไว้เพื่อให้คุณสามารถประเมินสิ่งนี้ได้ ตามช่องทางในการปรับปรุง 9 ด้านที่ถือว่ามีความสำคัญต่อหลักคิดของห้องปฏิบัติการแบบลีน:

ช่องทางในการปรับปรุง 9 ด้าน

  1. การปรับสถานที่ทำงานให้เหมาะสมและการดูแลความสะอาดด้วย 5S
  2. แผนผังสายธารคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์น้ำและสารละลาย
  3. ภาระงาน
  4. การทำงานในห้องปฏิบัติการ
  5. การจัดการประสิทธิภาพการทำงาน
  6. อุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ
  7. ทักษะของบุคลากรในห้องปฏิบัติการ
  8. วัสดุทางเคมี/เสริมสำหรับห้องปฏิบัติการ (KANBAN)
  9. กระบวนการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (CIP)

 

รายการตรวจสอบห้องปฏิบัติการแบบลีนจะให้คำแนะนำกับคุณเกี่ยวกับช่องทางในการปรับปรุง 9 อย่างทีละขั้นตอน ซึ่งจะให้แนวคิดที่ชัดเจนกับคุณเกี่ยวกับช่องทางที่ให้ศักยภาพที่สำคัญที่สุดสำหรับการปรับปรุงสถานการณ์บางอย่างของคุณให้ดียิ่งขึ้น:

ห้องปฏิบัติการแบบลีน: เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการง่ายขึ้น
จะเริ่มต้นเรียนรู้เรื่องห้องปฏิบัติการแบบลีนจากตรงไหน

การปรับสถานที่ทำงานให้เหมาะสมและการดูแลความสะอาดด้วยห้องปฏิบัติการแบบ 5S

จุดเริ่มต้นโดยทั่วไปในการปรับใช้แนวทางแบบลีนคือการปรับสถานที่ทำงานให้เหมาะสมที่สุด ซึ่งได้รับการระบุเป็นการดูแลความสะอาด (ห้องปฏิบัติการแบบ 5S) ในช่องทางในการปรับปรุง 9 ด้าน

ห้องปฏิบัติการแบบ 5S เป็นวิธีการจัดระเบียบสถานที่ทำงาน ตามคำศัพท์ญี่ปุ่นซึ่งหมายถึง:

 

คำศัพท์ 5S

คำศัพท์ญี่ปุ่น

สรุป

ตัวอย่าง

1

แยกประเภท

Seiri

หากไม่แน่ใจ ให้ตัดออกไป!

ห้องปฏิบัติงานสามารถเข้าใช้งานได้ และไม่มีวัตถุที่ไม่จำเป็นใช่หรือไม่

2

กำหนดลำดับ

Seiton

มีที่จัดวางสำหรับของทุกอย่าง และสิ่งของทั้งหมดอยู่เข้าที่!

เครื่องมือและอุปกรณ์เรียบร้อยและค้นหาได้ง่ายใช่หรือไม่

3

แวววับ

Seiso

ทำความสะอาดและตรวจสอบ!

ทุกอย่างสะอาดและอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่

4

สร้างมาตรฐาน

Seiketsu

สร้างกฎและปฏิบัติตาม!

ตู้และลิ้นชักมีการติดป้ายอย่างทั่วถึงหรือไม่

5

รักษาไว้

Shitsuke

ทำให้เป็นกิจวัตร และตรวจสอบเพื่อบังคับให้ปฏิบัติตาม!

ทำการตรวจสอบห้องปฏิบัติการในด้าน 5S อย่างสม่ำเสมอ และดำเนินการตามผลลัพธ์นั้น

ห้องปฏิบัติการแบบลีน: เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการง่ายขึ้น
Kaizen Circle ห้องปฏิบัติการแบบลีน 5S

เป้าหมายคือการทำงาน 5S แต่ละอย่างในสถานที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการของคุณ ขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป จัดเรียงและสร้างความเรียบร้อยให้กับสิ่งของ และทำให้ทุกอย่างเข้าถึงได้และถูกหลักสรีระการทำงาน ติดป้ายสิ่งของและสถานที่ต่างๆ ดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ และมุ่งที่จะขจัดเศษขยะออกไป การเดินสำรวจพื้นที่ปฏิบัติงานจริงสามารถระบุถึงสิ่งที่จำเป็นต้องปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้ และเมื่อมีการปรับให้เหมาะสมแล้ว ควรมีการรักษาสถานการณ์ดังกล่าวไว้โดยการปรับใช้การตรวจติดตามห้องปฏิบัติการแบบ 5S เป็นประจำ

Download the 5S Audit Checklist

แผนผังสายธารคุณค่าสำหรับการวิเคราะห์น้ำและสารละลาย

แผนผังสายธารคุณค่าเป็นเทคนิคที่สำคัญ โดยมีเป้าหมายคือการเน้นความสำคัญที่การปรับปรุงที่สามารถจัดให้มีการดำเนินการในกระบวนงานหรือกระบวนการหนึ่งๆ ได้ เป้าหมายของแผนผังสายธารคุณค่าคือการระบุ วิเคราะห์ และจัดประเภทของแต่ละขั้นตอนในกระบวนการเฉพาะ แต่ละเป้าหมายจะได้รับการจัดประเภทเป็นหมวดหมู่หนึ่งๆ จากสามหมวดหมู่ ตามคุณค่าที่เพิ่มลงในกระบวนการดังกล่าว:

  • การเพิ่มคุณค่า
  • การไม่เพิ่มคุณค่า แต่มีความจำเป็น
  • การไม่เพิ่มคุณค่า และไม่มีความจำเป็น

 

จากนั้น เป้าหมายคือการเพิ่มจำนวนของขั้นตอนการเพิ่มคุณค่า และลดหรือขจัดขั้นตอนที่ไม่เป็นการเพิ่มคุณค่า ควรขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (เสียเปล่า) ให้หมดไป หากทำได้

ส่วนที่ 2 ของการสัมมนาออนไลน์สำหรับห้องปฏิบัติการแบบลีนจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนผังสายธารคุณค่า รวมไปถึงตัวอย่างที่ปฏิบัติได้จริงเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคนิคนี้กับกระบวนการของห้องปฏิบัติการเชิงวิเคราะห์เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิต

ห้องปฏิบัติการแบบลีน: เพิ่มประสิทธิภาพ และทำให้กระบวนการง่ายขึ้น
แผนผังสายธารคุณค่า

การขจัดความสูญเปล่า (Muda)

หลักการแบบลีนยังสามารถจำกัดความเป็นวิธีการที่เป็นระบบสำหรับการขจัดความสูญเปล่า (Muda) ในระบบการผลิตได้อีกด้วย ซึ่งประกอบไปด้วยความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากภาระงานที่หนักเกินไป (Muri) และความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากภาระงานที่ไม่เท่าเทียมกัน (Mura)

ในสภาพแวดล้อมเชิงพาณิชย์ โดยทั่วไปแล้วจะพูดถึง Muda อยู่ 7 ข้อ หรือในบางครั้งอาจมีการเพิ่มข้อที่ 8 เข้ามาอีก และมีการใช้คำย่อว่า "DOWNTIME" เข้ามาช่วยในการจำความสูญเปล่า (Muda) ทั้ง 8 ข้อตามที่อธิบายไว้ด้านล่างนี้

DDefects (ข้อบกพร่อง)
O
Over-production (การผลิตมากเกินไป)
W
Waiting time (เวลารอ)
N
Non-utilised employee talent (skills)* (ความสามารถพิเศษ (ความเชี่ยวชาญ) ของพนักงานที่ยังไม่ได้นำมาออกมาใช้)
T
การขนส่ง
I
สินค้าคงคลัง
MMotion (การเคลื่อนที่)
EExcessive processing (complex processes) (การดำเนินการที่มากเกินไป (กระบวนการที่ซับซ้อน))

* คำนี้ไม่รวมอยู่ในรายการ Muda ทั้ง 7 ข้อ

คู่มือความสูญเปล่าทั่วไป 8 ข้อในห้องปฏิบัติการ จะอธิบายถึงวิธีการตระหนักถึงและขจัดความสูญเปล่าทั้ง 8 ข้อในสภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับห้องปฏิบัติการแบบลีน

1. วัตถุประสงค์หลักของห้องปฏิบัติการแบบลีนคือการปรับกระบวนการให้เหมาะสมที่สุด

  • เป้าหมายคือการขจัดขั้นตอนที่เสียเวลาในกระบวนงานออกไป
  • วัตถุประสงค์หลักของห้องปฏิบัติการแบบลีนไม่ใช่การลดพนักงาน หรือดำเนินการในห้องปฏิบัติการโดยใช้พนักงานน้อยลง

2. แนวทางแบบลีนสามารถทำการปรับใช้ได้กับทุกองค์กร ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่

  • หลักการแบบลีนสามารถสร้างการปรับปรุงในห้องปฏิบัติการให้ดียิ่งขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการที่ง่ายยิ่งขึ้น เวลาทำงานที่ลดลง และความสามารถในการผลิตของห้องปฏิบัติการที่เพิ่มขึ้น  ใช้ได้กับทุกคน!

3. วิธีการและเครื่องมือแบบลีนสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งกับห้องปฏิบัติการใหม่ๆ และที่มีอยู่

  • ห้องปฏิบัติการแบบลีนจะมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก เมื่อนำไปปรับใช้กับขั้นตอนการออกแบบและสร้างห้องปฏิบัติการใหม่
  • อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้มีความสำคัญเท่ากันเมื่อนำไปปรับใช้สำหรับการปรับปรุงกระบวนงานและกระบวนการที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นในห้องปฏิบัติการที่สร้างไว้อยู่แล้ว

รับชมส่วนที่ 1 ของการสัมมนาออนไลน์สำหรับห้องปฏิบัติการแบบลีนเพื่อศึกษาเนื้อหาเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของห้องปฏิบัติการแบบลีน และตัวอย่างแนวทางที่ Mettler Toledo ปรับใช้เครื่องมือและวิธีการแบบลีนในกระบวนการผลิต

 

ข้อมูลโดยละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อห้องปฏิบัติการแบบลีนและห้องปฏิบัติการแบบ 5S:

 

เอกสาร
การสัมมนาออนไลน์
สินค้าที่เกี่ยวข้อง