การทดสอบการปล่อยมลพิษ – การวัดฝุ่นละอองแบบกราวิเมตริก

การชั่งน้ำหนักตัวกรองเพื่อวัด PM ในการปล่อยไอเสียและไอระเหยจากเครื่องยนต์ด้วยวิธีแบบกราวิเมตริก

สอบภามราคา
Emissions Testing

Emissions Testing

Weight of particulate matter collected on filters for Emissions Testing can be extremely low, therefore the weighing procedure has to be performed very accurately. See why METTLER TOLEDO Excellence Micro-balance, equipped with especially developed accessories for filter weighing, is the best choice for Emissions Testing application.

ข้ามไปที่หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งต่อไปนี้เพื่อสำรวจและเรียนรู้เพิ่มเติม

  1. ขั้นตอนการใช้งานและความท้าทาย
  2. โซลูชันของ METTLER TOLEDO
  3. คำถามที่พบบ่อย

 

ขั้นตอนการทดสอบการปล่อยมลพิษ

ไม่ว่าจะตรวจวัดฝุ่นละอองในก๊าซไอเสีย การปล่อยไอระเหย บรรยากาศ หรืออากาศโดยรอบ การทดสอบการปล่อยมลพิษจากการชั่งน้ำหนักตัวกรองด้วยวิธีแบบกราวิเมตริกต้องทำตามขั้นตอนปฏิบัติเดียวกัน

1. ก่อนอื่น ให้ชั่งน้ำหนักตัวกรองเปล่าบนเครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการ
2. บรรจุตัวกรองลงในตลับตัวกรองที่ติดฉลาก ปรับสภาพเบื้องต้น และขนย้ายไปที่ Test Site
3. ที่ Test Site จะมีการดูดอากาศหรือก๊าซผ่านตัวกรองที่อัตราการไหลที่ทราบตามระยะเวลาที่กำหนด โดยจะมีการเก็บฝุ่นละออง (PM) ไว้บนตัวกรอง
4. ในห้องปฏิบัติการ จะมีการปรับสภาพและชั่งน้ำหนักตัวกรองที่มีการกรองแล้วอีกครั้ง
5. การระบุมวลของ PM สามารถทำได้โดยหักลบน้ำหนักของตัวกรองเปล่าออก (การชั่งน้ำหนักเพื่อหาส่วนต่าง) ซึ่งจะคำนวณความเข้มข้นของ PM โดยใช้อัตราการไหลของตัวอย่างก๊าซ/อากาศ

ในขณะที่สามารถดำเนินการทดสอบโดยใช้ตัวกรองได้เพียงชิ้นเดียว วิธีปฏิบัติทั่วไปคือการทำการทดสอบซ้ำหลายๆ ครั้งและเก็บตัวกรองเปล่าไว้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้ไม่ต้องทำการนับวัดพื้นหลัง โดยอาจใช้ตัวกรองชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นรวมกันในชุดตัวกรองแบบหลายชั้น

ขั้นตอนการดำเนินงานทั่วไป: กระบวนการชั่งน้ำหนักตัวกรอง

  • ชั่งน้ำหนักตัวกรองเปล่าบนเครื่องชั่งสำหรับห้องปฏิบัติการ
  • บรรจุตัวกรองลงในตลับตัวกรองที่ติดฉลาก
  • ปรับสภาพตัวกรองเบื้องต้นก่อนทดสอบการปล่อยมลพิษ
  • ขนย้ายตลับไปยัง Test Site
  • สามารถเก็บ PM โดยใช้ตัวกรองแบบชั้นเดียวหรือหลายชั้น
  • อาจดำเนินการทดสอบหลายครั้ง
  • ในห้องปฏิบัติการ จะมีการปรับสภาพและชั่งน้ำหนักตัวกรองที่มีการกรองแล้วอีกครั้ง
  • วัดมวลของฝุ่นละอองจากส่วนต่างของน้ำหนัก
  • คำนวณความเข้มข้นของ PM โดยใช้ปริมาตรของตัวอย่างก๊าซ/อากาศ


ความรู้ความชำนาญในการทดสอบการปล่อยมลพิษ

องค์การอนามัยโลก (WHO) พิจารณาอากาศสะอาดว่า “เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์” และกำหนดแนวทางการปฏิบัติสำหรับมลพิษที่เลือกซึ่งมีผลบังคับใช้ทั่วทั้งภูมิภาคของ WHO

มาตรฐานการปล่อยมลพิษกำหนดการจำกัดปริมาณที่อนุญาตสำหรับมลพิษทางอากาศเฉพาะ ซึ่งอาจปล่อยออกมาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งตลอดช่วงเวลาที่เฉพาะเจาะจง

ในสหรัฐอเมริกา CFR 40 ส่วนที่ 50 เป็นส่วนหนึ่งของประมวลข้อบังคับแห่งรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา โดยมีเนื้อหาว่าด้วยมาตรฐานคุณภาพอากาศแห่งชาติ สำนักงานบริหารความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OSHA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรมแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ออกระเบียบข้อบังคับ (มาตรฐาน – 29 CFR) เกี่ยวกับคุณภาพอากาศ และสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (NIOSH) ก็ตระหนักถึงการส่งเสริมความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงาน

สหภาพยุโรปกำหนดบทบัญญัติตามกฎหมายในรูปแบบของ DIRECTIVE 2008/50/EC เกี่ยวกับคุณภาพอากาศโดยรอบและอากาศในยุโรปที่สะอาดขึ้น ส่วน DIRECTIVE 2008/1/EC เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมมลพิษแบบบูรณาการ และ DIRECTIVE 89/654/EEC ระบุข้อกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับสุขอนามัยและความปลอดภัยสำหรับสถานที่ปฏิบัติงาน

ภาคยานยนต์เป็นแหล่งที่มาหลักในการเกิดมลพิษต่างๆ รวมถึงคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไฮโดรคาร์บอน (HC) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ฝุ่นละออง (PM) และก๊าซเรือนกระจก (GHG)  ทั้งในสหภาพยุโรปและในสหรัฐอเมริกามีบทบัญญัติตามกฎหมายเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษจากยานยนต์ และบังคับให้ผู้ผลิตยานยนต์ดำเนินการทดสอบการปล่อยมลพิษ

การทดสอบการปล่อยมลพิษและความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีวิธีการและแนวทางปฏิบัติหลายวิธี ซึ่งหนึ่งในนั้นคือวิธีการชั่งน้ำหนักตัวกรองด้วยวิธีแบบกราวิเมตริก แนวทางปฏิบัติและระเบียบข้อบังคับกำหนดขั้นตอนปฏิบัติเอาไว้เพื่อรับรองว่าการกรองสารมลพิษที่ปล่อยออกมามีความถูกต้องและสามารถทำซ้ำได้ รวมถึงระบุว่าควรใช้ตัวกรองและระบบการชั่งน้ำหนักใดสำหรับการตรวจวัดที่แสดงในตารางด้านล่าง


ตัวอย่างข้อกำหนดของแนวทางปฏิบัติสำหรับอุปกรณ์ชั่งน้ำหนักและเครื่องชั่งที่แนะนำมีดังต่อไปนี้



แนวทางปฏิบัติ


ค่าอ่านละเอียด
ที่กำหนด


ความสามารถในการทำซ้ำที่กำหนด
เครื่องชั่ง
ความละเอียดสูงพิเศษความละเอียดสูง
CFR 40
ส่วนที่ 1065
ขั้นตอนปฏิบัติในการทดสอบเครื่องยนต์0.1 ไมโครกรัม2.5 ไมโครกรัม/
0.25 ไมโครกรัม
 
DIRECTIVE 2004/26/ECการปล่อยมลพิษที่เป็นก๊าซและอนุภาคจากเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในที่จะมีการติดตั้งในเครื่องจักรที่ไม่เคลื่อนที่บนถนน1 ไมโครกรัม2 ไมโครกรัม 
DIRECTIVE 2005/78/ECการปล่อยมลพิษที่เป็นก๊าซและอนุภาคจากเครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยการอัดตัวเพื่อใช้ในยานยนต์ และการปล่อยมลพิษที่เป็นก๊าซจากการจุดระเบิดด้วยประกายไฟ เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับใช้ในยานยนต์เป็นเชื้อเพลิง1 ไมโครกรัม (ตัวกรองขนาด 70 มม.) / 0.1 ไมโครกรัม (ตัวกรองขนาด 47 มม.)2 ไมโครกรัม


เนื่องจากระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดมากขึ้นประกอบกับความทันสมัยของเทคโนโลยีเครื่องยนต์เผาไหม้ จึงมีการคาดการณ์ว่าปริมาณ PM ที่เก็บได้บนตัวกรองจะค่อยๆ ลดลง จากแนวทางปฏิบัติทั่วไปที่มีการระบุให้ใช้เครื่องชั่งที่มีค่าอ่านละเอียดเท่ากับ 1 ไมโครกรัมหรือ 0.1 ไมโครกรัม เครื่องชั่งความละเอียดสูงพิเศษที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงจึงเป็นโซลูชันเดียวที่ตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

Emissions Testing Challanges
 Do You Need Support?

Emissions Testing Best Solutions

Emissions Testing

Weight of particulate matter collected on filters for Emissions Testing can be extremely low, therefore the weighing procedure has to be performed very accurately. See why METTLER TOLEDO Excellence Micro-balance, equipped with especially developed accessories for filter weighing, is the best choice for Emissions Testing application.

 

NVR Testing - Micro weighing Guide

Software solution for Emissions Testing
การชั่งน้ำหนักตัวกรองแบบอัตโนมัติ

What to Do If You Need to Weigh Large Filters?

เอกสารเผยแพร่

เอกสารเผยแพร่

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

 

คำถามที่พบบ่อย

วิธีใดคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและเชื่อถือได้เมื่อชั่งน้ำหนักตัวกรอง?

ก่อนอื่น สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ ตามหลักการแล้ว ควรตั้งเครื่องชั่งของคุณบนโต๊ะชั่งน้ำหนักเฉพาะในห้องที่มีอุณหภูมิคงที่และมีการควบคุมความชื้น ชุดเครื่องมือชั่งน้ำหนักตัวกรองสำหรับเครื่องชั่งความละเอียดสูงและเครื่องชั่งความละเอียดสูงพิเศษของ METTLER TOLEDO มีจานชั่งน้ำหนักพิเศษซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถวางตัวกรองบนเครื่องชั่งได้อย่างถูกต้อง การจัดการตัวกรองอย่างถูกต้องด้วยคีมหนีบแบบไม่สมมาตรจะช่วยให้กระบวนการชั่งน้ำหนักตัวกรองของคุณรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ฉันใช้ตัวกรอง PTFE แต่เครื่องชั่งของฉันทำให้น้ำหนักนิ่งได้ยาก และตัวเลขเปลี่ยนไปมา คุณช่วยอธิบายกรณีดังกล่าวได้หรือไม่?

ตัวกรอง PTFE มีความเสี่ยงในการได้รับไฟฟ้าสถิตเป็นพิเศษ ตัวเลขที่ไม่นิ่งบนเครื่องชั่งของคุณแสดงว่าเซลล์ชั่งน้ำหนักได้รับผลกระทบจากไฟฟ้าสถิต ผลกระทบจากไฟฟ้าสถิตสามารถส่งผลต่อผลการชั่งน้ำหนักอย่างเห็นได้ชัด ให้ใช้ชุด AntiStatic Kit ก่อนชั่งน้ำหนักตัวกรองแต่ละชิ้นเพื่อกำจัดไฟฟ้าสถิตที่อาจเกิดขึ้น

ฉันต้องชั่งน้ำหนักตัวกรองต่างประเภทและต่างขนาดกัน

METTLER TOLEDO นำเสนอโซลูชันการชั่งน้ำหนักตัวกรองสำหรับทั้งเครื่องชั่งความละเอียดสูงและเครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์ ชุดเครื่องมือชั่งน้ำหนักตัวกรองสำหรับเครื่องชั่งความละเอียดสูงมี 2 แบบ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถชั่งน้ำหนักตัวกรองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 20 มิลลิเมตรถึง 70 มิลลิเมตรได้ และสามารถเปลี่ยนชุดเครื่องมือไปมาได้ง่าย สำหรับตัวกรองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 150 มิลลิเมตรบนเครื่องชั่งเชิงวิเคราะห์ จะมีโซลูชันที่ใส่ตัวกรอง 2 แบบให้เลือกใช้งาน

ระเบียบข้อบังคับที่เราปฏิบัติตามกำหนดว่าต้องวางตัวกรองที่ตำแหน่งตรงกลางขณะที่ชั่งน้ำหนัก ฉันจะมั่นใจถึงขั้นตอนนี้ได้อย่างไร?

ชุดเครื่องมือชั่งน้ำหนักตัวกรองที่มีความละเอียดสูงของ METTLER TOLEDO มีจานวางตัวกรองให้มาด้วย 2 ชิ้น จานแต่ละใบจะมีเส้นรอบวงเฉพาะซึ่งจะทำให้ตัวกรองอยู่ตรงกลางโดยอัตโนมัติ การวางตัวกรองตรงกลางเป็นการกำจัดข้อผิดพลาดในการหนีศูนย์ เพื่อรับประกันถึงผลลัพธ์ที่สามารถทำซ้ำและเชื่อถือได้

ฉันจะมั่นใจได้อย่างไรว่าได้ปฏิบัติตาม SOP ในการชั่งน้ำหนักตัวกรองของฉัน?

ควรมี SOP ที่ชัดเจนสำหรับการชั่งน้ำหนักตัวกรองในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการที่ดำเนินการด้วยตนเอง ย่อมสามารถเกิดความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานได้ และในกระบวนที่ต้องมีหลายขั้นตอน อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ซอฟต์แวร์ LabX ช่วยให้คุณสามารถสร้างขั้นตอนการทำงานตาม SOP ในการชั่งน้ำหนักตัวกรองเฉพาะของคุณเองได้ โดยมีคำแนะนำแบบทีละขั้นตอนสำหรับ SOP บนหน้าจอแสดงผลของเครื่องชั่ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนต้องมีการยืนยันจากผู้ใช้ คุณจึงมั่นใจได้ว่ามีการปฏิบัติตาม SOP

ฉันต้องใช้เครื่องชั่งใดเพื่อให้ได้ผลการชั่งน้ำหนักตัวกรองที่แม่นยำ?

การตรวจวัดแต่ละครั้งบนเครื่องชั่งใดๆ ย่อมมีความไม่แน่นอน การเข้าใจถึงความไม่แน่นอนนี้เป็นกุญแจสำคัญในการรับประกันความแม่นยำของผลการชั่งน้ำหนัก สิ่งที่กำหนดความแม่นยำของเครื่องมือชั่งน้ำหนักไม่ใช่ค่าอ่านละเอียด แต่เป็นความสามารถในการทำซ้ำ เมื่อมีน้ำหนักตัวอย่างที่น้อยมากเข้ามาเกี่ยวข้องในการชั่งน้ำหนักตัวกรอง พิกัดการชั่งน้ำหนักตัวอย่างสุทธิขั้นต่ำของเครื่องชั่งก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งด้วยเช่นกัน

คุณจำเป็นต้องทราบจำนวนที่น้อยที่สุดที่คุณต้องการชั่งน้ำหนักและระดับความแม่นยำที่คุณต้องการชั่งน้ำหนักนั้น (กล่าวคือ ที่ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ในระดับใด) เพื่อหาเครื่องชั่งที่เหมาะกับความต้องการของคุณ

มาตรฐานการชั่งน้ำหนักทั่วโลก (Global Weighing Standard GWP®) จาก METTLER TOLEDO จะช่วยคุณเลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในการใช้งานของคุณ ขอคำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องชั่งจากตัวแทนในพื้นที่ของคุณได้ฟรี หาคำตอบว่าเครื่องชั่งเดิมของคุณเป็นไปตามข้อกำหนดด้านคุณภาพหรือไม่

GWP Recommendation

ฉันจะปรับปรุงความสามารถในการผลิตได้อย่างไรเมื่อชั่งน้ำหนักตัวกรอง?

ชุดเครื่องมือชั่งน้ำหนักตัวกรองของ METTLER TOLEDO มีฝาแก้วเพื่อให้มองเห็นได้ง่ายว่าคุณกำลังทำอะไรในขณะที่วางและนำตัวกรองออกมา โดยสามารถตั้งค่าให้ประตูตู้ครอบเปิดไปทางซ้ายหรือขวาได้ตามที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต้องการ เพื่อให้จัดการตัวกรองได้อย่างถูกหลักสรีระการทำงาน เพื่อเร่งกระบวนการให้เร็วยิ่งขึ้น สามารถใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับอินฟราเรด SmartSens เพื่อเปิดประตูด้วยการโบกมือข้างเดียว สำหรับการชั่งน้ำหนักตัวกรองที่มีจำนวนงานสูง เราขอแนะนำโซลูชันอัตโนมัติที่มีหุ่นยนต์สำหรับชั่งน้ำหนักตัวกรอง PFS-ONE

ผลลัพธ์ของฉันมีจุดทศนิยมตั้งแต่ 5 ตำแหน่งขึ้นไป ฉันจะสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในขณะที่เขียนผลลัพธ์ได้อย่างไร?

การคัดลอกข้อมูลและผลลัพธ์ด้วยตนเองย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด การเชื่อมต่อเครื่องชั่งของคุณเข้ากับซอฟต์แวร์ LabX ทำให้ไม่ต้องคัดลอกข้อมูลด้วยตนเอง จึงขจัดความเสี่ยงในการเกิดข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องได้ทั้งหมด LabX ยังดำเนินการคำนวณของคุณทั้งหมด รวมถึงแก้ไขแรงลอยตัว ซึ่งเป็นการขจัดต้นเหตุข้อผิดพลาดอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย โดยมีการบันทึกข้อมูลทั้งหมดลงในฐานข้อมูลส่วนกลางอย่างปลอดภัย คุณจึงได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากข้อมูลที่สมบูรณ์ครบถ้วนและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับ

ฉันจะสามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้ตัวกรองของฉันปะปนกันได้อย่างไร? ฉันจำเป็นต้องรับรองถึงความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับด้วย

สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือการติดฉลากตลับตัวกรองและตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการบันทึกรายการผลลัพธ์ของตัวกรองแต่ละชิ้นอย่างถูกต้อง การจัดการตัวกรองจำนวนมากเป็นเรื่องท้าทาย แต่คุณสามารถทำให้กระบวนการง่ายขึ้นเป็นอย่างมากโดยการเชื่อมต่อเครื่องชั่งของคุณเข้ากับ LabX, เครื่องอ่านบาร์โค้ด และเครื่องพิมพ์ LabX จะพิมพ์ฉลากบาร์โค้ดออกมาโดยอัตโนมัติ การใช้บาร์โค้ดทำให้สามารถระบุตัวอย่างแยกจากกันได้ LabX ใช้บาร์โค้ดเพื่อบันทึกรายการผลน้ำหนักของตัวอย่างที่ถูกต้องโดยอัตโนมัติ โดยข้อมูลทั้งหมดจะได้รับการบันทึกลงในฐานข้อมูลส่วนกลางอย่างปลอดภัย ซึ่งมีความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างสมบูรณ์แบบ หุ่นยนต์สำหรับชั่งน้ำหนักตัวกรอง PFS-ONE สามารถดำเนินการกับตัวกรองได้สูงถึง 1,000 ชิ้นต่อวันในกระบวนการแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ โดยมีการจัดการข้อมูลโดยอัตโนมัติ

คำถามที่พบบ่อย – คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทดสอบการปล่อยมลพิษ